การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)

การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)

micropile-spun-micro-spunmicropile-SSE-สปันไมโครไพล์

สืบเนื่องจากเมื่อ 1-2 วันก่อนหน้านี้มีรุ่นน้องวิศวกรของผมท่านหนึ่งได้ปรึกษาผมเกี่ยวกับเรื่องสมการในการคำนวณหาค่ากำลังการรับ นน บรรทุกในเสาเข็มตอกโดยวิธี LOAD BEARING CAPACITY เราก็มีการพูดคุยกันในหลายประเด็นๆ เลยนะครับ แต่ ประเด็นที่ผมเห็นว่ามีความน่าสนใจและน่าจะนำมาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ ในวันนี้ก็คือ ค่าโมดูลัสยืดหยุ่น ที่ใช้ในการแทนค่าเข้าไปในสมการๆ นี้นั่นเองนะครับ

เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่าในการแทน ค่าโมดูลัสยืดหยุ่น หรือ MODULUS OF ELASTICITY หรือ ELASTIC MODULUS เข้าไปในสมการนี้เราจะต้องใช้ ค่าโมดูลัสยืดหยุ่น ของวัสดุใดกันแน่ ?

 

ผมเชื่อว่าหากผมถามแบบนี้คงจะมีเพื่อนเราหลายๆ คนคงจะตอบผมมาในทันทีว่า คือ ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีต เพราะ เสาเข็มนั้นทำโดยวิธีคอนกรีตอัดแรง ซึ่งก็จะมีค่าประมาณ

E = Ec = 15100√fc’

ซึ่งจริงๆ แล้วคำตอบนี้ก็ไม่ได้ผิดเสียทีเดียว แต่ ก็ยังไม่ถือว่าถูกต้องเสียทีเดียวอีกเช่นกันนะครับ เพื่อนๆ งงมั้ยครับเนี่ย ?

จริงๆ แล้วค่าโมดูลัสยืดหยุ่นที่ต้องใช้แทนเข้าไปในสมการๆ นี้ คือ ค่าโมดูลัสยืดหยุ่น น้อยที่สุด ระหว่าง วัสดุคอนกรีต ที่ถูกนำมาใช้ทำเสาเข็ม และ วัสดุดิน ที่ทำหน้าที่รองรับเสาเข็มของเรานะครับ เมื่อนำทั้ง 2 ค่ามาเปรียบเทียบกันแล้วเราก็ต้องใช้ค่าน้อยเป็นเกณฑ์ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการการันตีความปลอดภัยในการออกแบบของเรา

แต่ เอ๊ะ ?!

ทำไมที่ผ่านมาเพื่อนๆ หลายๆ คนเวลาที่ทำการคำนวณก็แทนค่ากันด้วยค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตกันตลอดเลย ไม่เคยใช้ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินเลย ?!

ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะ

(1) ไม่ใช่ในทุกๆ โครงการก่อสร้างจะมีการทำการทดสอบดิน พวกเค้าเหล่านั้นจึงไม่มีข้อมูลของค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินในสถานที่ก่อสร้างมาใช้ในการคำนวณ จึงทำให้ต้องแทนค่าด้วยตัวที่เราทราบค่า นั่นก็คือค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีตแทนนะครับ

(2) เพื่อนๆ บางคนอาจจะไม่ทราบจริงๆ ว่าดินเองก็ถือได้ว่าเป็นวัสดุๆ หนึ่งที่มีค่าโมดูลัสยืดหยุ่นเหมือนเช่นวัสดุอื่นๆ เช่นกัน ดังนั้นสำหรับเพื่อนๆ ที่ทราบ ก็จะทำการ อ่านค่า หรือ คำนวณหาค่าๆ นี้ได้จากผลการการทดสอบดิน หรือ SOIL TEST RESULTS นะครับ

เอาเป็นว่าครั้งต่อๆ ไปที่เราจะได้พบกัน ผมจะขออนุญาตมาพูดถึงวิธีในการคำนวณหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันบ้างดีกว่านะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความฉบับต่อไปของผมได้ในโอกาสต่อๆ ไปได้นะครับ

 

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun