สมการในการคำนวณหาหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่า

สวัสดีครับ วันนี้ก็มาพบกันอีกแล้ว ในช่วง 4 โมง แบบนี้นะครับ วันนี้ Mr.เสาเข็ม ได้นำความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างมาฝากอีกเช่นเคยนะครับ วันนี้จะเป็นเรื่องของสมการในการคำนวณหาหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่า

spun micro pile micro spun

สมการในการคำนวณหาหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่า ซึ่งเป็นรูปแบบการคำนวณแรงลมตามมาตรฐานฉบับใหม่ของกรมโยธาธิการและผังเมืองนะครับ

โดยหากอ้างอิงตาม มยผ 1311-50 หรือ มาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคารนะครับ หากเรามาดูสมการในการคำนวณหาหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่าจะพบว่าหน้าตาของสมการนี้เป็นดังต่อไปนี้นะครับ

P = Iw q Ce Cg Cp

ในวันนี้ผมอยากที่จะขออนุญาตมาขยายความถึงค่า Cp ซึ่งเป็นค่าสุดท้ายในสมการข้างต้น ค่านี้ก็คือค่าสัมประสิทธิ์ของหน่วยแรงลม ซึ่งค่านี้จะขึ้นอยู่กับรูปทรงของอาคาร ทิศทางของลม และ ลักษณะของการแปรเปลี่ยนของความเร็วลมตามความสูงของอาคาร เป็นหลักนั่นเองนะครับ

ในการออกแบบ ผนังภายนอกของอาคาร และ ระบบโครงสร้างหลัก ของอาคารนั้นเราสามารถที่จะทำการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ของหน่วยแรงลมโดยแบ่งออกได้เป็น 3 หมวดหลักๆ ดังนี้

หมวด ก.
ค่าสัมประสิทธิ์ของหน่วยแรงลมภายนอกสำหรับอาคารเตี้ย

โดยเราจะต้องทำการคำนวณค่าอัตราส่วนความสูงต่อความกว้างของอาคารเสียก่อน หากว่าค่าอัตราส่วนนี้น้อยกว่า 1 และ อาคารนั้นมีความสูงอ้างอิง (REFERNECE HEIGHT) ที่น้อยกว่า 23 เมตร โดยเราสามารถที่จะคำนวณหาค่า สัมประสิทธิ์ของหน่วยแรงลม ที่ได้ถูกรวม ค่าประกอบเนื่องจากผลการกรรโชกของลม ไปแล้วนี้ได้จากในตารางที่ ข.1 ถึง ข.8 ในภาคผนวก ข.1 ใน มยผ 1311-50 ได้นะครับ

หมวด ข.
ค่าสัมประสิทธิ์ของหน่วยแรงลมภายนอกสำหรับอาคารสูง

หากว่าอาคารของเรานั้นเข้าตามกฎเกณฑ์ของอาคารในลักษณะนี้ เราสามารถที่จะคำนวณหาค่า สัมประสิทธิ์ของหน่วยแรงลม ที่ได้ถูกรวม ค่าประกอบเนื่องจากผลการกรรโชกของลม โดยดู รายละเอียด และ วิธีการ ได้จากในรูปที่ ข.9 ในภาคผนวกหัวข้อที่ ข.2 ในเอกสาร มยผ ได้นะครับ

หมวด ค.
ค่าสัมประสิทธิ์ของหน่วยแรงลมภายนอกสำหรับโครงสร้างพิเศษ

หากว่าอาคารของเรานั้นเข้าตามกฎเกณฑ์ของอาคารในลักษณะนี้ เราสามารถที่จะคำนวณหาค่า สัมประสิทธิ์ของหน่วยแรงลม ที่ได้ถูกรวม ค่าประกอบเนื่องจากผลการกรรโชกของลม โดยดู รายละเอียด และ วิธีการ ได้จากในรูปที่ ข.10 ถึง ข.18 ในภาคผนวกหัวข้อที่ ข.3 ในเอกสาร มยผ ได้นะครับ

ผมได้ใช้เวลาในการอธิบายเป็นระยะเวลาหลายวันพอสมควรถึงเรื่องกระบวนการในการคำนวณหาค่าหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่าโดยวิธีอย่างง่ายให้แก่เพื่อนๆ นะครับ โดยหากเป็นวิธีการโดยละเอียด หรือ วิธีอื่นๆ ก็อาจจะมีขั้นตอนในการคำนวณที่สลับซับซ้อน และ มีความยุ่งยากมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นขอให้พวกเราเหล่าวิศวกรนักออกแบบทั้งหลายพึงระลึกไว้เถิดนะครับว่า ในการออกแบบอาคารให้ต้องรับแรงทางด้านข้างไม่ว่าจะเป็นแรงลม หรือ แรงแผ่นดินไหวก็ดีนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะ นั่นหมายถึงเรากำลังทำการออกแบบแรง และ สภาวะต่างๆ ที่ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการใช้งานของอาคาร โดยเฉพาะใน อาคารสูง เช่น เรากำลังออกแบบแรงที่มีผลต่อเสถียรภาพของโครงสร้างโดยตรง เรากำลังออกแบบแรงที่จะมีผลต่อสภาวะการใช้งานของผู้คนอาคารโดยตรง เป็นต้น

ผมก็ขออวยพรให้ทุกๆ ท่านนั้นโชคดีในการออกแบบแรงกระทำเนื่องจากลมที่จะกระทำกับโครงสร้างอาคารของเรา ไม่ว่าอาคารของเรานั้นจะเป็น อาคารเตี้ย หรือ อาคารสูง ก็ตามแต่นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1498804920165628

BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449