ความรู้ทางด้าน การทดสอบ เสาเข็ม

ความรู้ทางด้าน การทดสอบ เสาเข็ม

ไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ micropile spunmicropile micro-pile เสาเข็มต่อเติม

ความรู้ในวันนี้เป็นความรู้เชิงประสบการณ์โดยส่วนตัวของผม เนื่องจากผมได้มีโอกาสร่ำเรียนมาและประกอบวิชาชีพเป็นวิศวกรโครงสร้างเป็นหลัก มิใช่เป็นวิศวกรธรณีเทคนิคแต่อย่างใดนะครับ ดังนั้นประสบการณ์ที่ผมจะนำมาถ่ายทอดในวันนี้เกิดจากกระบวนการๆ เรียนรู้และได้มีโอกาสทำการพูดคุยแลกเปลี่ยนและสอบถามจากวิศวกรธรณีเทคนิค ผ่านการทำงานภายใต้สถานการณ์จริงๆ บางค่าบางคำตอบที่ผมได้ให้ไปในวันนี้อาจจะไม่ได้มีมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งมารับรองแต่ในทางปฏิบัตินั้นผมได้ทดลองทำด้วยตัวเองมาแล้วจึงคิดว่าน่าจะนำประสบการณ์จริงตรงนี้ของผมมาเล่าให้ฟังได้เพียงแต่ผมจะต้องเรียนกับเพื่อนๆ ให้เข้าใจเสียก่อนว่าข้อมูลในวันนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวเป็นหลัก และ การอธิบายในวันนี้จะเป็นไปโดยสังเขปเพียงเท่านั้น เพราะ หากจะให้อธิบายขั้นตอนต่างๆ ในการทดสอบจริงๆ โดยละเอียดนั้นเป็นไปไม่ได้จริงๆ เพราะ พื้นที่ในการโพสต์ตรงนี้จะมีน้อยเกินไป จึงทำให้ไม่สามารถที่จะทำการอธิบายขั้นตอนการทดสอบโดยละเอียดได้จริงๆ ครับ

โดยกรณีศึกษาของคำถามนี้มีอยู่ว่า
(1) หากในไซต์งานของเรามีประเด็นเกี่ยวกับว่าเสาเข็มที่ใช้นั้นได้ผลการตอกเสาเข็มไม่ตรงกับการคำนวณเราจะมีวิธีการทดสอบเสาเข็มด้วยวิธีการใดบ้าง และ วิธีการทดสอบใดที่จะให้ผลที่น่าเชื่อถือมากกว่ากัน ?
(2) หากเสาเข็มในไซต์งานของเรามีความยาวของตัวเสาเข็มที่แตกต่างกัน และ เมื่อดูจากผลการทดสอบดินจะพบว่าชั้นดินที่ปลายเสาเข็มนั้นวางอยู่บนชั้นดินคนละชนิดกัน เราควรที่จะเชื่อถือ ผลจากการตอกเสาเข็ม หรือ ผลการทดสอบตัวเสาเข็ม และ เราจะมีวิธีในการคิดและตัดสินใจใช้ความยาวของเสาเข็มที่แตกต่างกันนี้อย่างไร ?

โดยในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาตอบคำถามข้อที่ (1) ก่อนนะครับ

วิธีในการทดสอบการรับกำลังของเสาเข็มจะสามารถทำได้จาก 2 วิธีหลักๆ คือ
1. วิธีทดสอบการรับ นน แบบสถิตศาสตร์ (STATIC LOAD TEST)
2. วิธีทดสอบการรับ นน แบบพลศาสตร์ (DYNAMIC LOAD TEST)

มาเริ่มต้นอธิบายที่วิธีการแรกเสียก่อนนะครับนั่นก็คือ วิธีทดสอบการรับ นน แบบสถิตศาสตร์ (STATIC LOAD TEST) วิธีการนี้ถือว่าเป็นที่น่าเชื่อถือได้ของวิศวกรเราเลยนะครับ ยิ่งหากผู้ทำการทดสอบนั้นทำการควบคุมกระบวนการในการทดสอบให้มีค่าความละเอียดในการทดสอบที่ดี ปราศจากข้อจำกัดใดๆ ในการทดสอบ เราจะยิ่งสามารถเชื่อถือผลจากการทดสอบโดยวิธีการนี้ได้ถึง 100% เลยก็ว่าได้ สาเหตุเพราะเนื่องด้วยวิธีการนี้เป็นวิธีการที่เราทำการจำลองพฤติกรรมการรับ นน จริงๆ ของตัวเสาเข็ม โดยเราต้องทำการทิ้ง นน จริงๆ เอาไว้เป็นระยะเวลานานเลยทีเดียว สำหรับเสาเข็มบางต้นอาจจำเป้นที่จะต้องใช้ระยะเวลานานเป็นเดือนๆ เพียงเพื่อทำการทดสอบเสาเข็ม พอทำการทดสอบเสร็จเราจะสามารถทำการบันทึกและตรวจสอบค่าการทรุดตัวและการคืนตัวของเสาเข็มได้ ดังนั้นอาจเรียกได้ว่าการทดสอบด้วยวิธีนี้เราจะได้คำตอบทุกๆ คำตอบของเสาเข็มที่เราต้องการที่จะทราบเลยนะครับ เช่น การรับกำลัง และ ค่าการทรุดตัวจริงๆ ของเสาเข็ม ณ พื้นที่หน้างาน เป็นต้น

วิธีการต่อมาคือ วิธีทดสอบการรับ นน แบบพลศาสตร์ (DYNAMIC LOAD TEST) สาเหตุที่วิธีการนี้ได้ชื่อว่า วิธีทดสอบการรับ นน แบบพลศาสตร์ เพราะ กระบวนการในการทดสอบนั้นจะอาศัยการกระแทกตัวหัวเสาเข็มด้วยตุ้ม นน แล้วก็ยกตุ้มนี้ออก เราจึงเรียกกระบวนการกระแทกเสาเข็มนี้ด้วยตุ้ม นน นี้ว่าเป็นกระบวนการทางพลศาสตร์ จากนั้นเราก็จะทำการตรวจวัดและบันทึกผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระแทกด้วยตุ้มนี้ของเสาเข็ม และ ในที่สุดเราก็จะสามารถอ่านค่าการรับ นน ที่ตัวเสาเข็มจะสามารถรับได้ ข้อดีของวิธีการ DYNAMIC LOAD TEST คือ สามารถจะทำการทดสอบได้เร็วกว่าวิธี STATIC LOAD TEST มาก ทำให้สามารถที่จะประหยัดเวลาในการทำงานได้มาก และ เนื่องจากวิธีการ STATIC LOAD TEST นั้นต้องมีการทิ้ง นน จริงๆ เอาไว้ ทำให้ต้องการพื้นที่ในการทดสอบค่อนข้างมาก (ดูรูปประกอบนะครับ) ซึ่งจะแตกต่างออกไปจากวิธี DYNAMIC LOAD TEST ที่เครื่องไม้เครื่องมือในการทดสอบนั้นมีขนาดที่เล็กกว่ากันค่อนข้างเยอะ ทำให้ข้อจำกัดในการทดสอบตัวเสาเข็มนั้นค่อนข้างที่จะมีความแตกต่างกันพอสมควร ซึ่งในท้ายที่สุดเนื่องจากวิธี DYNAMIC LOAD TEST นั้นเป็นกระบวนการทดสอบที่ทำได้รวดเร็วกว่า ใช้เวลาที่น้อยกว่า กระบวนการในการบันทึกข้อมูลต่างๆ ของเสาเข็มนั้นสามารถที่จะทำได้ง่ายกว่า ก็จะนำมาซึ่งผลของค่าใช้จ่ายในการทดสอบที่มีมูลค่าต่ำกว่าวิธี STATIC LOAD TEST นั่นเองนะครับ

คำถามต่อมาก็คือ หากทำการเปรียบเทียบวิธีการทดสอบทั้งสองนี้แล้ว เราจะเชื่อถือวิธีการใดมากกว่ากัน และ วิธีการทั้งสองจะให้ผลที่เชื่อถือได้มากน้อยแตกต่างกันเพียงใด ?

ผมต้องขอเรียนแบบนี้นะครับว่า เนื่องจากกระบวนการๆ ทดสอบโดยวิธี STATIC LOAD TEST นั้นค่อนข้างที่จะมีการทดสอบที่ละเอียดและใช้ระยะเวลาทดสอบที่ยาวนานกว่าวิธี DYNAMIC LOAD TEST มากๆ แน่นอนว่าผลจากการทำ STATIC LOAD TEST นั้นย่อมที่จะเชื่อถือได้มากกว่าวิธี DYNAMIC LOAD TEST เป็นธรรมดาอยู่แล้วนะครับ

ทีนี้หากจะถามว่าวิธีการทั้งสองนี้ให้ผลที่แตกต่างกันมากน้อยเพียงใด อันนี้ตอบยากมากๆ ครับ เพราะ อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าวิธีการทั้งสองมีกระบวนการในการทดสอบที่ค่อนข้างที่จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเงื่อนไขและสิ่งที่แวดล้อมตัวเสาเข็มของเราก็จะมีความแตกต่างกัน ถือเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วนะครับ ซึ่งในที่สุดแล้วหากเราจะทำการเปรียบเทียบผลจากการทดสอบโดยวิธีการทั้งสองนี้ ค่าความแตกต่างของสัดส่วนความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลทีได้จากการทดสอบนี้ก็จะไม่คงที่ซึ่งจะขึ้นกับข้อมูลและความแปรเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำการทดสอบเสาเข็มนั่นเองครับ

ดังนั้นเราจึงมักที่จะใช้ ค่าเฉลี่ยของสัดส่วนความน่าเชื่อถือได้ โดยคำนวณจากข้อมูลการทดสอบโดยวิธีทั้งสองในการที่เราจะทำการประเมินผลกำลังของเสาเข็มที่ถือเชื่อถือได้นะครับ โดยที่ตั้งต้นจากวิธี STATIC LOAD TEST ก่อนนะครับ ไม่ว่าเสาเข็มของเราจะเป็นเสาเข็มประเภทใดก็ตาม วิศวกรบางท่านอาจที่จะเชื่อถือผลจากการทดสอบโดยวิธีการนี้มากถึง 90% ถึง 100% เลยทีเดียว

ต่อมาเราจะมาพูดถึงการทดสอบเสาเข็มโดยวิธี DYNAMIC LOAD TETS บ้างนะครับ

หากว่าเป็นเสาเข็ม แบบเจาะ เรามักที่จะเชื่อถือได้ว่าค่า นน บรรทุกแบบ STATIC LOAD TEST จะเทียบค่าโดยประมาณได้เท่ากับ 60% ของค่า DYNAMIC LOAD TEST (เนื่องจากว่าที่ปลายล่างสุดของเสาเข็มเจาะมักที่จะมีความไม่สมบูรณ์ต่างๆ เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าเข็มตอกนั่นเอง) กล่าวคือ หากคำนวณค่าการรับ นน โดยวิธี DYNAMIC LOAD TEST นี้ออกมาได้เท่ากับ Nd แล้วเราก็จะสามารถคำนวณกลับไปเป็น นน ที่ได้จากการทดสอบโดยวิธี STATIC LOAD TEST มีค่าเท่ากับ Ns ได้ ดังนั้นจะสามารถคำนวณค่ากลับมาโดยวิธีการประมาณการได้เท่ากับ Ns = 0.60Nd นะครับ

ปล มีเทคนิคในการทดสอบเสาเข็มเจาะโดยวิธีการ DYNAMIC LOAD TEST อยู่นิดหนึ่งตรงที่ว่าเนื่องจากว่าที่ปลายของเสาเข็มเจาะมักที่จะมีความไม่สมบูรณ์ต่างๆ เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าเข็มตอก ดังนั้นเราจึงควรที่จะทำการทดสอบเสาเข็มเจาะนี้ด้วยจำนวนครั้งในการทดสอบมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป เพราะ ในการทดสอบครั้งแรก มีความเป็นไปได้สูงมากที่ปลายของเสาเข็มเจาะที่ไม่สมบูรณ์นี้จะถูกกดอัดตัวลงไปจนทำให้ชั้นดินบริเวณนั้นเกิดการแน่นตัวขึ้น ดังนั้นจะพบเห็นได้บ่อยครั้งว่าผลจากการทดสอบครั้งที่ 1 และ 2 จะให้ค่ากำลังที่ค่อนข้างแตกต่างกันมากพอสมควร ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่การทดสอบ จึงควรที่จะทำการทดสอบอย่างน้อย 2 ครั้งนั่นเอง

หากว่าเป็นเสาเข็ม แบบตอก เรามักที่จะเชื่อถือได้ว่าค่า นน บรรทุกแบบ STATIC LOAD TEST จะเทียบค่าโดยประมาณได้เท่ากับ 80% ของค่า DYNAMIC LOAD TEST กล่าวคือ หากคำนวณค่าการรับ นน โดยวิธี DYNAMIC LOAD TEST นี้ออกมาได้เท่ากับ Nd แล้วเราก็จะสามารถคำนวณกลับไปเป็น นน ที่ได้จากการทดสอบโดยวิธี STATIC LOAD TEST มีค่าเท่ากับ Ns ได้ ดังนั้นจะสามารถคำนวณค่ากลับมาโดยวิธีการประมาณการได้เท่ากับ Ns = 0.80Nd นะครับ

เอาเป็นว่าผมขออธิบายพอสังเขปเพียงเท่านี้ก่อนก็แล้วกันนะครับ วันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการตอบคำถามและให้คำอธิบายประเด็นนี้ต่อ และ ในวันถัดไปผมจะขอทำการยก ตย ด้วยก็น่าจะเป็นการดี เพื่อนๆ จะได้มองเห็นภาพขั้นตอนของการคำนวณนี้ออก หากเพื่อนๆ ท่านใดอ่านแล้วมีความสนใจ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านกันต่อได้ในวันพรุ่งนี้และวันต่อๆ ไปนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : www.facebook.com/bhumisiam

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com

#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์