หากต้องการที่จะทำการต่อเติมบ้านพักอาศัยโดยอาศัยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ของภูมิสยาม เราควรที่จะใช้เสาเข็มขนาดเท่าใดดี
ประการแรกนะครับ เพื่อนๆ ควรที่จะให้วิศวกรทำการคำนวณหา นน บรรทุกที่จะลงมายังเสาเข็มของเพื่อนๆ เสียก่อน ซึ่งโดยปกติแล้วหากเราจะทำการต่อเติมอาคารบ้านเรือนของเรา จะ 1 ชั้น 2 ชั้น หรือว่า 3 ชั้น ก็แล้วแต่ หากวิศวกรเลือกวางระยะห่างของตอม่อให้มีความปกติ หรือ พูดง่ายๆ ก็คือ ระยะห่างระหว่างเสาตอม่อนั้นไม่ได้มีระยะที่ห่างกันมากจนเกินไปนั่นเอง นน ที่จะถ่ายลงมายังตัวตอม่อก็จะมีอย่างน้อยตั้งแต่ประมาณ 15 TONS ไปจนถึง 30 TONS ต่อ 1 เสาตอม่อ นะครับ ดังนั้นหากเพื่อนๆ ไม่ให้วิศวกรทำการคำนวณและออกแบบตรงนี้ให้ก็จะทำให้เพื่อนๆ ไม่ทราบนะครับว่า นน ที่จะถูกถ่ายลงมายังตอม่อและเสาเข็มของเรานั้นเป็นเท่าใด แถมการก่อสร้างใดๆ ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กเพียงใด หากไม่ได้รับการออกแบบโดยวิศวกรแล้วก็ย่อมมีความเสี่ยงต่อการที่โครงสร้างนั้นๆ จะไม่ปลอดภัยได้นะครับ ดังนั้นทางที่ดีก็ขอแนะนำให้ปรึกษาวิศวกรจะเป็นการดีที่สุดนะครับ
ประการต่อมา เมื่อเพื่อนๆ ทราบแล้วนะครับว่า นน ที่ถูกถ่ายมายังตอม่อและเสาเข็มนั้นมีค่าเท่าใด เราจึงทำการกำหนดค่า SAFE LOAD ของเสาเข็มครับ ซึ่งแน่นอนว่าวิธีการในการที่เราจะทราบได้ว่าค่า SAFE LOAD จริงๆ ของเสาเข็มที่จะใช้ในการตอกลงไปในดิน ในแต่ละพื้นที่นั้นเป็นเท่าใด เราก็ควรที่จะทำ BORING LOG นั่นเองนะครับ เพราะ BORING LOG จะเป็นการนำ ตย ดินขึ้นมาทดสอบหาคุณสมบัติต่างๆ ดังนั้นการทำ BORING LOG จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการที่จะหาว่าเสาเข็มแต่ละขนาดนั้นควรที่จะช่วงความยาวใดที่เหมาะสมจึงจะสามารถรับ นน บรรทุกที่เกิดขึ้นได้นะครับ
โดยหากว่าเพื่อนๆ ไม่ทำ BORING LOG จริงๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะทำการก่อสร้างไม่ได้นะครับ เพียงแต่เพื่อนๆ ก็ควรที่จะเข้าใจและยอมรับความเสียงที่จะเกิดขึ้นให้ได้ และ ทางวิศวกรผู้ออกแบบเองก็ควรที่จะทำการพิจารณาถึงกรณีๆ นี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทำการกำหนดค่า SAFE LOAD และค่า SAFETY FACTOR ที่มีความเหมาะสมของเสาเข็มที่จะใช้ด้วยนะครับ
หากเพื่อนๆ จะถามว่าหากเราไม่ทำ BORING LOG เราจะมีทางเลือกอื่นอะไรบ้างที่จะเป็นทางเลือกในการเลือกใช้งานเสาเข็มอีกบ้าง ? ผมขอแนะนำแบบนี้นะครับ
อย่างแรก ควรตรวจสอบดูก่อนว่าค่า SAFE LOAD ที่จะใช้ในเสาเข็มนั้นต้องไม่มากจนเกินไป กล่าวคือไม่ควรเกิน 30 TONS หากค่าๆ นี้สูงกว่า 30 TONS แล้วขอแนะนำว่ายังไงก็ควรทำการทดสอบดินนะครับ หากข้อแรกผ่านเราค่อยขยับไปดูอย่างที่สองนะครับ
อย่างที่สอง คือ ให้เราเลือกจากตารางเสาเข็ม คอร ที่มีการใช้งานโดยทั่วๆ ไปและทำการเปรียบเทียบกันกับเสเข็มสปันไมโครไพล์ วิธีการนี้ก็พอที่จะใช้ได้อยู่ถึงแม้จะมีความเสี่ยงอยู่บ้างก็ตามนะครับ
จากรูป ตย ที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ จะเป็นตารางเสาเข็มตอกที่เป็น คอร ทั่วๆ ไปซึ่งตารางนี้ผมได้นำมาจากหนังสือการออกแบบโครงสร้าง คสล โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน ของท่านอาจารย์ สมศักดิ์ คำปลิว นะครับ ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่าวิศวกรโยธาร้อยละ 80 นั้นต้องรู้จักและเคยเปิดอ่านหนังสือเล่มนี้ของท่าน
หาก SAFE LOAD ที่ต้องการนั้นมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 ตัน ในตารางของหนังสือเล่มนี้ระบุว่าเราอาจที่จะสามารถเลือกใช้เสาเข็มชนิดสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 180 mm ที่มีความยาวเท่ากับ 21 m ได้ ดังนั้นเราก็อาจที่จะเลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 180 mm โดยที่ควรใช้ความยาวของเสาเข็มมากกว่าที่ตารางนั้นระบุสักเล็กน้อยก็พอได้นะครับ เช่น 22.5 m ถึง 24 m เป็นต้น
หาก SAFE LOAD ที่ต้องการนั้นมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ตัน ในตารางของหนังสือเล่มนี้ระบุว่าเราอาจที่จะสามารถเลือกใช้เสาเข็มชนิดสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 220 mm ที่มีความยาวเท่ากับ 21 m ได้ ดังนั้นเราก็อาจที่จะเลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 230 mm โดยที่ควรใช้ความยาวของเสาเข็มมากกว่าที่ตารางนั้นระบุสักเล็กน้อยก็พอได้เช่นกันนะครับ เช่น 22.5 m ถึง 24 m เป็นต้น
ปล สาเหตุที่ผมระบุว่าเราสามารถทำเช่นนี้ได้เป็นเพราะว่าในหนังสือเล่มนี้และตารางเสาเข็มที่มีการใช้งานทั่วๆ ไปนั้นจะมีการคำนวณค่าการรับกำลังของเสาเข็มตามที่ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครข้อที่ 67 ได้บัญญัติไว้เป็นเรียบร้อยแล้ว โดยที่กฎระเบียบข้อนี้ได้ทำการระบุเอาไว้ว่า หากไม่มีผลการทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ ห้ามมิให้เราใช้กำลังการรับ นน ของเสาเข็มนั้นมีค่าเกินกว่าที่จะคำนวณได้จากวิธีการทีได้ระบุเอาไว้ในข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครข้อนี้นั่นเองนะครับ
อย่างที่สาม และ อย่างสุดท้าย คือ เราควรที่จะทำการควบคุมงานการตอกเสาเข็มให้ออกมาตรงตามการคำนวณค่า BLOW COUNT ที่ทางวิศวกรของภูมิสยามเป็นผู้คำนวณให้จะเป็นการดีที่สุดนะครับ เพราะ วิศวกรเหล่านี้จะได้รับการแจ้งข้อมูลมานะครับว่า CONDITION ของหน้างานนั้นเป็นเช่นไร ดังนั้นเค้าจะทำการเลือก METHOD ในการคำนวณและค่า SAFETY OF FACTOR ที่มีความเหมาะสมให้กับทางเพื่อนๆ นั่นเองนะครับ
สุดท้ายนี้ผมอยากที่จะขอฝากเพื่อนๆ ไว้อีกสักครั้งหนึ่งนะครับว่า การทดสอบดินนั้นเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการที่จะทำการคำนวณและออกแบบตัวโครงสร้างเสเข็มนะครับ เพราะ หากเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการทำ BORING LOG กับค่าใช้จ่ายของตัวเสาเข็มใน 1 โครงการก่อสร้างแล้วจะพบว่าค่าใช้จ่ายในการทำ BORING LOG นั้นจะมีราคาที่ถูกกว่าเสาเข็มหลายเท่าตัวมากๆ เลยนะครับ ดังนั้นทางที่ดีที่สุด ทั้งเรื่องความปลอดภัย และ ความประหยัด ในการก่อสร้าง เราจึงควรที่จะไม่มองข้ามการทำการทดสอบนี้นะครับ แต่ หากจะไม่ทำการทดสอบดินจริงๆ ก็ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ผมได้ให้ไว้ข้างต้นโดยเคร่งครัดก็จะเป็นการดีที่สุดต่อการก่อสร้างของเพื่อนๆ นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1569711416408311
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com
#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์