ข้อต่อเหล็กข้ออ้อยทางกล COUPLER

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน 

วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องข้อต่อเหล็กข้ออ้อยทางกล หรือ ที่เรานิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า COUPLER นะครับ 

 

 

โดยปกติในการต่อเหล็กเส้นในงานโครงสร้างเราจะนิยมใช้วิธีต่อทาบเหล็กเสริม โดยที่ระยะทาบนี้จะอยู่ที่ 40D หรือ 50D และ เราจะใช้ลวดมัดหรือเชื่อมติดกัน ถ้าในโครงสร้างมีการเสริมเหล็กจำนวนมาก วิธีการทาบก็ทำให้เหล็กเสริมในโครงสร้างที่จุดต่อแน่นมากขึ้น ทำให้พื้นที่หน้าตัดคอนกรีต ลดน้อยลง การเทคอนกรีตก็จะทำได้ยากลำบากมากยิ่งขึ้นเพราะว่าเหล็กเสริมที่จะต่อแน่นมากขึ้น การเชื่อมเหล็กให้ติดกันด้วยความร้อนก็จะทำให้กำลังของเหล็กเสริมที่จุดต่อน้อยลง

ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมานั้นสามารถทำการแก้ไขได้โดยวิธีการต่อเหล็กเชิงล หรือ วิธีแบบเข้าเกลียว (COUPLER) การต่อเหล็กแบบเข้าเกลียวนั้นเป็นการต่อชนกันเหมือนว่าเหล็กเส้นนั้นเป็นเหล็กเส้นเดียวกัน ไม่มีระยะทาบให้ต้องเสียเศษเหล็ก เป็นการเพิ่มพื้นที่เทคอนกรีตที่จุดต่อ ทำให้หน้าตัดคอนกรีตที่จุดต่อเท่ากับการเสริมเหล็กปกติไม่มีการเคลื่อนตัวของเหล็กเสริมที่จุดต่อจนเป็นสาเหตุทำให้คอนกรีตแตกร้าว เมื่อมีแรงสั่นสะเทือนมากระทำกับโครงสร้าง

โดยที่ประเภทของ COUPLER ทีดังต่อไปนี้นะครับ

  1. STANDARD COUPLER
    เป็นการต่อเข้าเกลียวปกติ ที่มีการทำเกลียวให้เอียง 3 องศา ทำให้ยิ่งเข้าเกียวยิ่งแน่นและไม่มี SLIPER
  2. REDREW COUPLER
    เป็นการต่อเข้าเกลียวปกติ ที่มีการทำเกลียวให้เอียง 3 องศา โดยจะใช้สำหรับกรณีที่เป็นการลดหรือเพิ่มขนาดของเหล็กเสริม เช่น จากเหล็กขนาด DB32mm เป็นเหล็กขนาด DB28mm เป็นต้น
  3. WELDING COUPLER
    เป็นการทำให้ COUPLER เกลียวตรงยึดติดกับเหล็กเส้น จะใช้กับงานที่ไม่ต้องการหมุนเหล็กเส้นเวลาต่อเหล็ก
  4. COLD PRESS COUPLER
    เป็นการบีบ COUPLER ให้แนบติดกับเหล็กเส้น โดยการทำ COUPLER แบบนี้จะทำโดยไม่ต้องมีเกลียว

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ 

ADMIN JAMES DEAN