การวิบัติของคาน คสล ด้วยรูปแบบของแรงเฉือน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอมาอธิบายคร่าวๆ ให้เพื่อนๆ ได้พอมีพื้นฐานถึงเรื่องหลักการสำคัญของการพิจารณาเรื่องรูปแบบในการวิบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งในการออกแบบโครงสร้างคาน คสล นั่นก็คือเรื่อง การวิบัติของคาน คสล ด้วยรูปแบบของแรงเฉือน นั่นเองครับ สาเหตุที่เราจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจถึงหลักการของการวิบัติของคาน คสล ด้วยรูปแบบของแรงเฉือน นั้นเป็นเพราะว่าหากเรามองข้ามและไม่สนใจรูปแบบการวิบัติชนิดนี้เมื่อโครงสร้างต้องรับ นน บรรทุกส่วนเกินเพิ่มเติมจากที่ผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบไว้ ก็อาจจะทำให้คาน คสล ของเราเกิดการวิบัติแบบทันทีทันได … Read More

การวิเคราะห์โครงสร้างโดยวิธีการวาง PATTERN LOAD

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาตอบคำถามของน้องท่านหนึ่งที่ผมติดเค้าไว้นานแล้วนะครับ นั่นก็คือเรื่องการวิเคราะห์โครงสร้างโดยวิธีการวาง PATTERN LOAD เพื่อนๆ หลายๆ คนคงจะสงสัย หรือ อาจไม่เคยได้ยินคำๆ นี้ใช่มั้ยครับ ? คำว่า PATTERN LOAD นั้นหมายถึงรูปแบบการจัดวาง นน บรรทุกจรให้ได้ค่าแรงดัดสำหรับการออกแบบค่าสูงสุดในการวิเคราะห์โครงสร้างนั่นเองครับ พอผมทำการอธิบายมาถึงจุดๆ … Read More

การแปลงค่า Ksoil ให้เป็นค่า Kstructure ในโปรแกรม STAAD.PRO

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากโพสต์ของผมเมื่อวานที่ผมได้ทำการอธิบายเกี่ยวกับการแปลงค่า Ksoil ให้เป็นค่า Kstructure แก่เพื่อนๆ ไป บังเอิญว่ามีเพื่อนผมท่านหนึ่งได้มาคอมเม้นต์ว่าให้ลองทำการ APPLY ปัญหาข้อนี้ในโปรแกรม MICROFEAP รุ่น P1 ดู ผมต้องเรียนขออภัยเพื่อนท่านนี้มา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ เพราะตัวผมนั้นไม่ได้ใช้โปรแกรมนี้ ผมเป็นเพียงผู้ติดตามผลงานและชื่นชอบในตัวท่าน … Read More

การคำนวณหาค่า Ksoil จากข้อมูลดินโดยใช้สมการอย่างง่าย

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาอธิบายต่อจากเนื้อหาเมื่อวาน คือ การคำนวณหาค่า Ksoil จากข้อมูลดินโดยใช้สมการอย่างง่ายนะครับ ก่อนอื่นผมขอทำความเข้าให้ให้ตรงกันเสียก่อนนะครับว่าเหตุใดเราจึงต้องทำการคำนวณหาค่า Ksoil จากข้อมูลดินโดยใช้สมการอย่างง่าย เป็นเพราะว่าในทางทฤษฎีนั้นเรื่องทาง GEOTECHNICAL นั้นเป็นอะไรที่ซับซ้อนพอสมควร การที่จะทำการคำนวณค่าใดๆ จากดินให้แม่นยำถูกต้อง 100% นั้นทำได้ยากมากๆ เราต้องอาศัยข้อมูลงานวิจัย ข้อมูลเชิงทดสอบต่างๆ ประกอบมากมายในการคำนวณ … Read More

ทิศทางในการวางตำแหน่งเสาเข็มของฐานรากที่ใช้เสาเข็มจำนวน 3 ต้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เมื่อวานนี้ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับน้องวิศวกรท่านหนึ่งเรื่องทิศทางในการวางตำแหน่งเสาเข็มของฐานรากที่ใช้เสาเข็มจำนวน 3 ต้น และผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ จึงนำมาแชร์แก่เพื่อนๆ ด้วยนะครับ ก่อนอื่นพิจารณาดูรูปที่ 1 ก่อนนะครับ ในรูป A จะแสดงให้เห็นว่า ณ ที่ตำแหน่งขอบด้านนอกสุดของอาคาร เราทำการวางให้ฐานรากที่มีเสาเข็ม 3 ต้น โดยให้เสาเข็ม … Read More

ค่าการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ทางด้านข้าง หรือ LATERAL STORY DRIFT

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้รับฟังถึงค่าๆ หนึ่งซึ่งเป็นค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญซึ่งเรานิยมนำมาใช้พิจารณาในงานออกแบบอาคารเพื่อต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหวนะครับ ค่าๆ นี้ก็คือ ค่าการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ทางด้านข้าง หรือ LATERAL STORY DRIFT ค่าการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ทางด้านข้าง หรือ LATERAL STORY DRIFT สามารถหาได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีใดๆ ก็แล้วแต่ตามที่ผมได้อธิบายในโพสต์ก่อนหน้านี้นะครับ จากนั้นนำค่าการเคลื่อนตัวทางด้านข้าง … Read More

การคำนวณค่าแรงแบกทาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกท่านครับ สืบเนื่องจากเมื่อวันก่อนผมได้โพสต์เกี่ยวกับเรื่องค่าแรงแบกทานที่ยอมให้ของดินซึ่งจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อเรานำค่าๆ นี้ไปออกแบบระบบฐานรากวางบนดิน ก้ได้รับข้อความหลังไมค์มาสอบถามเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้พอสมควรนะครับ ผมจึงคิดว่าวันนี้จะมายก ตย ถึงการคำนวณในเรื่องนี้ให้แก่เพื่อนๆ นะครับ มาเริ่มต้นดูรูปที่ 1 ก่อนนะครับ ฐานรากวางบนดินที่เราจะทำการออกแบบนี้มีขนาดความกว้าง 4 m ความยาว 6 m รับ นน … Read More

การประมาณการหาค่าปริมาณพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมในหน้าตัดคาน คสล โดยวิธีกำลัง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ วันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีและเคล็ดลับในการคำนวณง่ายๆ ให้แก่เพื่อนๆ นะครับ เผื่อจะมีประโยชน์ต่อการทำงานออกแบบของเพื่อนๆ นะครับ วันนี้หัวข้อที่ผมจะมาแนะนำก็คือ การประมาณการหาค่าปริมาณ พท หน้าตัดของเหล็กเสริมในหน้าตัดคาน คสล โดยวิธีกำลังนั่นเองครับ วิธีนี้จะง่ายมากๆ ครับ เหมาะกับเมื่อเราต้องการที่จะหา หรือ ตรวจสอบปริมาณเหล็กเสริมในหน้าตัดคาน คสล แบบเร็วๆ … Read More

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์สถานะของความสมดุลในโครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงวิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์สถานะของความสมดุลในโครงสร้างใดๆ เราสามารถที่จะทำได้ไม่ยากมากนักนะครับ ผมจึงนำมาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้ครับ การตรวจสอบสถานะของความสมดุลเราสามารถทำได้โดยการ FORMULATE สมการ POTENTIAL ENERGY หรือเรียกง่ายๆ ว่าสมการ V ของระบบออกมาก่อนนะครับ โดยที่เราจะให้ GENERALIZED COORDINATE ของระบบติดอยุ่ในรูปแบบตัวแปรที่เราสนใจ เช่น … Read More

งานออกแบบอาคารสูง (HIGH RISE BUILDING) หรือ ระบบโครงสร้างอาคารที่มีความยาวช่วงเสาที่ค่อนข้างมาก (LONG SPAN)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาแชร์ประสบการณ์ในงานออกแบบอาคารสูง (HIGH RISE BUILDING) หรือ ระบบโครงสร้างอาคารที่มีความยาวช่วงเสาที่ค่อนข้างมาก (LONG SPAN) ให้แก่เพื่อนๆ นะครับ นั่นก็คือเรื่อง การพิจารณาเรื่องดรรชนีความแข็งแกร่งต่อการต้านทานแรงดัดของอาคาร หรือ BENDING RIGIDITY INDEX หรือเรียกสั้นๆ ว่าค่า … Read More

1 20 21 22 23 24 25 26 29