ขั้นตอนการออกแบบฐานรากเดี่ยวแบบแผ่

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมอยากที่จะมาขอต่อการแชร์ความรู้ในเรื่องของฐานรากแบบแผ่ให้จบต่อเนื่องจากหลายๆ ครั้งที่ผมได่โพสต์ไปก่อนหน้านี่้นะครับ โดยในวันนี่้ผมอยากที่จะมาสรุปขั้นตอนการออกแบบฐานรากเดี่ยวแบบแผ่ให้แก่เพื่อนๆ ได้ทราบและทำความเข้าใจกันพอสังเขปนะครับ (1) เลือกความลึกของฐานราก: โดยความหนาน้อยที่สุดสำหรับฐานรากแผ่ก็คือ 15 CM นับจากเหล็กเสริม และ ความหนาน้อยที่สุดในทางปฏิบัติก็คือ 30 CM โดยที่ระยะหุ้มของคอนกรีตจะต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 8 CM ถ้าหากทำการหล่อคอนกรีตบนดินโดยตรง … Read More

การถ่ายน้ำหนักบรรทุกจากโครงสร้างเสา คสล ลงสู่ฐานเสาตอม่อ คสล

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอมาตอบคำถามที่เพื่อนวิศวกรท่านหนึ่งของผมที่ได้สอบถามผมเกี่ยวกับเรื่องระยะและขนาดของการที่เราจะล้วงเหล็กเข้าไปในฐานรากซึ่งคำถามข้อนี้จะต่อเนื่องจากโพสต์ก่อนหน้านี้ของผมที่ได้โพสต์เกี่ยวกับฐานรากวางบนดินนะครับ เรื่องนี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องการถ่ายน้ำหนักบรรทุกจากโครงสร้างเสา คสล ลงสู่ฐานเสาตอม่อ คสล นะครับ โดยที่เสาจะทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักกระทำแบบเป็นจุดลงสู่ฐานราก น้ำหนักบรรทุกนี้จะถูกส่งผ่านโดยหน่วยแรงแบกทานในคอนกรีต (CONCRETE BEARING STRESS) และ หน่วยแรงในเหล็กเสริมบริเวณจุดต่อ เพื่อนๆ ลองคิดและจินตนาการตามผมนิดนึงนะครับ เนื่องจากขนาดพื้นหน้าตัดของคอนกรีตที่บริเวณรอยต่อของโครงสร้างเสาตอม่อ และ โครงสร้างฐานรากนี้จะมีค่าสูงกว่าพื้นที่หน้าตัดของคอนกรีตในเสา … Read More

คุณสมบัติของชั้นดิน ณ ตำแหน่งที่ตั้งของอาคาร

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมมีความรู้หัวข้อสั้นๆ ต่อจากโพสต์เมื่อวานของผมซึ่งเรื่องนี้จะมีความเกี่ยวข้องและจะส่งผลโดยตรงต่อค่าความเร่งตอบสนองเชิงเสปคตรัมที่เราจะใช้ในการออกแบบอาคารของเรานะครับ เรื่องนี้ก็คือเรื่อง คุณสมบัติของชั้นดิน ณ ตำแหน่งที่ตั้งของอาคารของเรานั่นเองครับ โดยที่สภาพของชั้นดิน ณ บริเวณที่ตั้งของอาคารที่เราต้องการทำการออกแบบนั้นจะมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงระดับค่าความรุนแรงของการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ เช่น ชั้นดินอ่อนในเขต กทม จะมีคุณสมบัติที่จะขยาย (AMPLIFY) ขนาดของคลื่นแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวที่จะเดินทางมาจากแหล่งต้นกำเนิดแผ่นดินไหว หรือ รอยเลื่อนที่มีกำลัง (ACTIVE … Read More

สิ่งที่ QC ควรต้องทำการตรวจสอบเมื่อทางโรงงานนำเสาเข็มมาส่ง ณ หน้างาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากวันนี้ผมได้มีโอกาสไปตรวจการทำงานของ ผรม ที่หน้างาน และ ได้ให้คำแนะนำแก่ ผรม เรื่องที่หน้างานจำเป็นจะต้องมี QC เพื่อคอยทำการตรวจรับเมื่อเสาเข็มเมื่อโรงงานนำเสาเข็มมาส่ง ณ หน้างาน ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์จึงคิดว่านำมาฝากเพื่อนๆ ด้วยก็น่าจะเป็นการดีนะครับ สิ่งที่ QC ควรต้องทำการตรวจสอบเมื่อทางโรงงานนำเสาเข็มมาส่ง ณ หน้างานควรประกอบด้วยรายการพิจารณาต่อไปนี้นะครับ … Read More

การงอปลายของเหล็กเสริม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการไขข้อข้องใจแก่เพื่อนวิศวกรท่านหนึ่งที่เคยสอบถามผมมาว่า เหตุใดในบางครั้งเมื่อเรามองดูเหล็กเสริมในฐานราก ไม่ว่าจะเป็น ฐานรากวางบนดิน หรือ ฐานรากวางบนเสาเข็ม ก็ตาม คือ การงอปลายของเหล็กเสริม เพราะ บางครั้งเราจะพบว่าที่ปลายของเหล็กเสริมในฐานรากจะถูกยืดออกโดยไม่มีการงอขอเลย และ ในบางครั้งก็จะพบว่าที่ปลายของเหล็กเสริมในฐานรากก็จะถูกงอขอ ? วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันนะครับ ในตอนเริ่มแรกเราจะมาดูรูป ตย ของปัญหาที่เรากำลังสนใจนี้กันก่อนนะครับ … Read More

ข้อด้อยของการเลือกใช้ระบบโครงสร้าง PRECAST CONCRETE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอโพสต์ต่อเนื่องจากโพสต์ของเมื่อวานนะครับ โดยที่เมื่อวานผมได้อธิบายไปแล้วถึงข้อดีหรือว่าข้อเด่นของการเลือกใช้ระบบโครงสร้าง คสล หรือ คอร สำเร็จรูป ดังนั้นในวันนี้ผมจะมาพูดถึงข้อด้อยของการเลือกใช้ระบบโครงสร้างแบบนี้กันบ้างนะครับ เหมือนเดิมนะครับ ก่อนที่ผมจะเล่าให้ฟังนี้ก็ต้องขออธิบายเหมือนเดิมว่าข้อด้อยต่อไปนี้ผมทำการสรุปมาให้เพียงเท่านั้นนะครับ ที่สำคัญ หากหน่วยงานหรือองค์กรใดที่เลือกนำระบบก่อสร้างนี้ไปใช้ไม่มีความเป็นมืออาชีพในการทำงานเพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายมากกว่าที่ผมจะกล่าวสรุปให้ฟังนี้ก็เป็นได้นะครับ เรามาเริ่มต้นดูกันเลยนะครับ ทำให้การก่อสร้างเกิดความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น ทำไมผมถึงกล่าวเช่นนี้ครับ ? เพราะอย่างที่ผมเรียนไปตั้งแต่ต้นนะครับว่า … Read More

ข้อดีของระบบโครงสร้าง PRECAST CONCRETE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้กับเพื่อนๆ เรื่องหนึ่งที่เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้อธิบายกับเพื่อนวิศวกรที่ไซต์งานที่ผมไปตรวจงานมาเมื่อเร็วๆ นี้เกี่ยวกับระบบการก่อสร้างระบบหนึ่งซึ่งก็คือระบบโครงสร้าง PRECAST CONCRETE ซึ่งต้องถือว่าการก่อสร้างด้วยระบบๆ นี้เป็นระบบการก่อสร้างแบบ PREFABRICATION อย่างหนึ่งนั่นเองครับ ที่ผ่านมาเพื่อนๆ คงจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่าระบบ PRECAST CONCRETE หรือ ระบบ คสล หรือ … Read More

หากโปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างไม่สามารถที่จะ ASSIGN เป็น SPRING ได้โดยตรงจะทำอย่างไร?

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากในหลายวันก่อนผมได้โพสต์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการจำลองโครงสร้างของเสาเข็มโดยใช้ CONCEPT ในการจำลองคุณสมบัติของชั้นดินต่างๆ เป็นแบบ SOIL SPRING ซึ่งกรณีนี้จะเหมาะสำหรับกรณีที่ดินนั้นค่อนข้างที่จะมีความอ่อนตัวมากนั่นเอง จากนั้นได้มีน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่หลังไมค์มาถามผมเกี่ยวกับเรื่องการจำลองฐานรองรับแบบ SPRING สำหรับการวิเคราะห์โครงสร้างแบบอื่นๆ บ้างละ หากโปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างไม่สามารถที่จะ ASSIGN เป็น SPRING ได้โดยตรงจะทำอย่างไรครับ ? วันนี้ผมจะมาตอบคำถามของน้องท่านนี้ให้ได้ทราบกันนะครับ … Read More

ทีโมเชนโก้ นักวิชาการ และ เป็นวิศวกร ในช่วงศตวรรษที่ 19

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน  วันนี้บุคคลคนที่สี่ที่ผมนำประวัติของท่านมาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ นั้นเป็นผู้รู้ เป็นนักวิชาการ และ เป็นวิศวกร ที่เก่งมากอีกท่านหนึ่งในช่วงศตวรรษที่ 19 เลยก็ว่าได้ครับ ผมชื่นชอบในผลงานของบุคคลท่านนี้เป็นอย่างมาก โดยที่บุคคลท่านนี้ก็คือ สตีเฟ่น โพรโคโพวิช ทีโมเชนโก้ ซึ่งผมจะขอเรียกชื่อของท่านสั้นๆ ว่า ทีโมเชนโก้ ละกันนะครับ ทีโมเชนโก้ … Read More

ทฤษฎีของคานรับแรงดัด หรือ BEAM THEORY

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอมาแชร์ความรู้กับเพื่อนๆ ต่อจากโพสต์ของเมื่อวานนะครับ เพราะ มีเพื่อนๆ ท่านหนึ่งถามผมมาว่า เมื่อในโครงสร้างปกติค่าการเสียรูปอันเกิดจากผลของแรงเฉือนจะมีค่าที่น้อยมากๆ เมื่อเทียบกันกับผลที่เกิดจากแรงดัด แล้วเมื่อใดกันที่เราจะต้องคำนึงถึงเรื่อง SHEAR DEFORMATION ในโครงสร้าง ? จริงๆ แล้วคำถามนี้เป็นคำถามที่ดีนะครับ ผมขอชมเชยผู้ตั้งคำถามนี้ด้วยครับ ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออธิบายถึงคำถามข้อนี้พอสังเขปดังนี้นะครับ หากย้อนอดีตกันสักเล็กน้อย เมื่อตอนที่พวกเราเรียนในวิชาจำพวก … Read More

1 19 20 21 22 23 24 25 29