การคำนวณ การรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครข้อที่ 67 สำหรับกรณีเสาเข็มยาว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน หลังจากเมื่อวานนี้ผมยก ตย การคำนวณการรับ นน ปลอดภัยของเสาเข็มตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครข้อที่ 67 สำหรับกรณีเสาเข็มสั้นไปแล้ว วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการยก ตย สำหรับกรณีที่เป็นเสาเข็มยาวบ้างนะครับ อย่างที่ผมเรียนไปเมื่อวานนะครับว่าข้อบัญญัตินี้ถูกบัญญัติขึ้นมาสำหรับกรณีที่งานก่อสร้างนั้นๆ มิได้มีการทำการทดสอบดิน หากเป็นเช่นนี้ให้เราทำการออกแบบเสาเข็มโดยให้เสาเข็มนั้นเป็นเสาเข็มแรงฝืด (SKIN FRICTION PILE) เพียงเท่านั้น ซึ่งสำหรับกรณีที่เสาเข็มนั้นมีความยาวมากๆ ก็เช่นกันนะครับ … Read More

การคำนวณ การรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครข้อที่ 67 สำหรับกรณีเสาเข็มสั้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาตอบคำถามของแฟนเพจที่ได้ฝากเอาไว้ที่ว่า “เหตุใดผมจึงมักที่จะพูดอยู่บ่อยๆ ว่าในการที่เราจะทราบความสามารถในการรับ นน ของเสาเข็มที่แน่นอนนั้นเราจำเป็นที่จะต้องทำการเจาะสำรวจดินเสียก่อน แต่ เวลาจะใช้งานพวกเสาเข็มทั่วๆ ไป หรือ เสาเข็มสั้น เค้ามักจะมีคำพูดพ่วงท้ายมาเลยว่าเสาเข้มต้นนั้นๆ จะสามารถรับ นน ปลอดภัยได้เท่ากับค่านั้นค่านี้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ?” ก่อนอื่นเลยผมต้องขอชมเชยคนถามก่อนนะครับ แสดงว่าคนถามคำถามข้อนี้เป็นคนช่างสังเกตคนหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ใช่วิศวกรก็ตาม … Read More

ความลึกที่เหมาะสมของหลุมเจาะ ในการทำการทดสอบดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาแชร์เกร็ดความรู้เล็กๆ ของการทำงานการทดสอบดินสักหนึ่งประการแก่เพื่อนๆ นะครับ ซึ่งแม้ว่าหัวข้อนี้จะเป็นเพียงหัวข้อเล็กๆ แต่ผมก็เชื่อว่าหัวข้อนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อยนะครับ นั่นก็คือ ความลึกที่เหมาะสมของหลุมเจาะในการทำการทดสอบดิน นั่นเองครับ เพื่อนหลายๆ คนอาจมีความสงสัยว่าเพราะเหตุใดหรือทำไมผมถึงต้องพูดถึงประเด็นนี้หรือครับ ? จริงๆ แล้วประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมากๆ ในการที่เราจะต้องใช้ในการทำการทดสอบดินของเราเลยนะครับ เพราะ หากเราเลือกความลึกของหลุมเจาะที่ตื้นจนเกินไป เราก็อาจนำผลจากการทดสอบนี้ไปใช้ในการออกแบบตัวฐานรากไม่ได้เลย เนื่องจากจริงๆ แล้วอาคารของเรานั้นจำเป็นที่จะต้องใช้ขนาดของเสาเข็มที่มีความยาวมากกว่านั้น … Read More

การเลือกใช้เสาเข็มให้มีขนาดที่เหมาะสม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากก่อนหน้านี้ผมเคยให้คำอรรถาธิบายไปว่า “หากว่าเราทำการเลือกใช้เสาเข็มให้มีขนาดที่เหมาะสม คือ เสาเข็มสามารถรับ นน บรรทุกได้ สามารถที่จะต้านทานการทรุดตัวในระดับที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ได้ โดยขนาดของเสาเข็มนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมีขนาดที่ใหญ่มากจนเกินไปก็จะเป็นการดีที่สุด เพราะ จะช่วยในหลายๆ เรื่องโดยเฉพาะเรื่องการประหยัดวัสดุในการก่อสร้างซึ่งในที่สุดจะไปมีผลต่อราคาค่าก่อสร้างโดยรวมนั่นเอง” และได้มีเพื่อนวิศวกรของผมท่านหนึ่งสอบถามผมว่า ได้โปรดช่วยอธิบายประเด็นๆ นี้เพิ่มเติมสักหน่อยจะได้หรือไม่ ? ในวันนี้ผมจึงได้ตัดสินที่จะนำคำถามนี้มาให้คำอธิบายเพิ่มเติมถึงประเด็นๆ นี้กับเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านก็แล้วกันนะครับ … Read More

เทคนิคในการ วิเคราะห์ และ แก้ไข งานวิศวกรรมฐานราก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคในการ วิเคราะห์ และ แก้ไข งานวิศวกรรมฐานรากจากงานในอดีตของผมเองให้แก่เพื่อนได้รับทราบกันนะครับ เผื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ต่อจากโพสต์เมื่อวานกันอีกสัก 1 โพสต์นะครับ ก่อนอื่นเรามาดูรูปประกอบกันก่อนนะครับ ในรูปปัญหาที่ผมไปพบเจอ คือ ฐานรากใช้ระบบ เสาเข็มเหล็ก ร่วมกันกับ เสาเข็มคอนกรีต โดยที่ฐานรากยังเป็นฐานรากจม แต่ ปัญหาที่เรามักพบสำหรับกรณีนี้ … Read More

การวิเคราะห์และการประเมินโครงสร้างคาน (BEAM)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมอยากที่จะขออนุญาตมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง วิธีในการวิเคราะห์โครงสร้างว่าโครงสร้างที่เรากำลังทำการพิจารณาอยู่นั้นมีคุณลักษณะทางด้าน เสถียรภาพ (STABILITY) และ ในการวิเคราะห์โครงสร้างนั้นสามารถทำได้โดยวิธีอย่างง่าย (DETERMINATE) หรือ ต้องทำโดยวิธีอย่างยาก (INDETERMINATE) แก่เพื่อนๆ ต่อจากโพสต์ครั้งก่อนหน้านี้นะครับ โดยที่หัวข้อประเภทของโครงสร้างที่ผมตั้งใจนำมาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้ จะเป็นการวิเคราะห์และการประเมินโครงสร้างคาน (BEAM) นั่นเองนะครับ โดยสมมติฐานของการวิเคราะห์คานนั้นเกือบที่จะเหมือนกับโครงสร้างโครงถักก่อนหน้านี้นะครับ … Read More

วิธีในการคำนวณหาค่า LATERAL STIFFNESS ในโครงสร้างเสาเข็ม(โดยการประมาณค่า) กรณีที่ต้องการจะทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากโดยอาศัยเสาเข็มแบบ SOIL SPRING

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ รวมไปถึงน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่ได้ฝากคำถามกับผมมาเกี่ยวกับเรื่อง วิธีในการคำนวณหาค่า LATERAL STIFFNESS ในโครงสร้างเสาเข็ม (โดยการประมาณค่า) ในกรณีที่เราต้องการที่จะทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากโดยอาศัยเสาเข็มแบบ SOIL SPRING นะครับ อย่างที่ผมเคยให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ ไปก่อนหน้านี้นะครับว่า ในทางทฤษฎีแล้วในการที่เราจะทำการจำลองให้เสาเข็มนั้นมีค่า LATERAL STIFFNESS สำหรับกรณีที่เราต้องการที่จะทำการออกแบบให้เสาเข็มนั้นมีพฤติกรรมเป็น SOIL SPRING … Read More

ตัวอย่างประเภทของฐานรากระบบต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากที่หลายๆ วันที่ผ่านมานั้นมีหลายๆ ครั้งที่ผมพูดถึงและแชร์ความรู้ให้กับเพื่อนๆ เกี่ยวกับเรื่องงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบโครงสร้างฐานรากแบบตื้น (SHALLOW FOUNDATION) และ ระบบโครงสร้างฐานรากแบบลึก (DEEP FOUNDATION) โดยที่ก่อนหน้านี้ผมไม่ได้ทำการอธิบายถึงเรื่องประเภทของระบบฐานรากให้แก่เพื่อนๆ ได้ทราบก่อนนะครับ เอาเป็นว่าผมต้องขออภัยเพื่อนๆ มา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ … Read More

วิธีแก้ไข กรณีที่เสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ เป็นผลทำให้ตำแหน่ง CENTER OF GRAVITY ของกลุ่มเสาเข็มในตัวโครงสร้างของฐานราก ไม่ตรงกันกับตำแหน่งของตอม่อ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้ให้แก่เพื่อนๆ ต่อจากเมื่อวานกันนะครับ อย่างที่ผมได้อธิบายไปเมื่อวานแล้วนะครับว่าโดยปกติแล้ว ผู้ออกแบบมักที่จะทำการออกแบบให้ตำแหน่ง CENTER OF GRAVITY กลุ่มของเสาเข็มนั้นตรงกันกับตำแหน่งของตัวเสาตอม่อ ในวันนี้ผมจึงอยากที่จะขอมาพูดถึงวิธีในการแก้ไขสำหรับกรณีที่เสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไปจนเป็นผลทำให้ตำแหน่ง CENTER OF GRAVITY ของกลุ่มเสาเข็มในตัวโครงสร้างของฐานรากนั้นไม่ตรงกันกับตำแหน่งของตอม่อนะครับ จริงๆ แล้วปัญหาที่อาจเกิดขึ้นที่จะมีความเกี่ยวข้องกับการใช้งานเสาเข็มตอกนั้นอาจมีด้วยกันมากมายหลายประการนะครับ เช่น แรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากการตอกที่เกิดขึ้นกับอาคารข้างเคียง เสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ หรือ เสาเข็มเกิดการแตกหัก … Read More

หลักเกณฑ์ในการทำการพิจารณาเพื่อทำการคำนวณ แก้ไขงานโครงสร้างของฐานราก เมื่อเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไป

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้ให้แก่เพื่อนๆ ได้ทราบถึงกรณีที่เรามีการก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากและเกิดปัญหาเรื่องเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์นะครับ โดยในวันนี้ผมจะขอทำการพูดถึงหลักเกณฑ์ในการทำการพิจารณาเพื่อทำการคำนวณเพื่อแก้ไขงานโครงสร้างของฐานรากเมื่อเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไปนะครับ ในสถานการณ์ปกติหากว่ามีการทำการก่อสร้างโครงสร้างฐานรากและจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบโครงสร้างเป็นเสาเข็ม ไม่ว่าจะเป็น เสาเข็มตอก หรือ เสาเข็มเจาะ และ หากเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไปจากตำแหน่งเดิมที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้ เราจำเป็นที่จะต้องมีการคำนวณเพื่อทำการตรวจสอบรายการคำนวณซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ นะครับ (1) ตัวโครงสร้างของเสาเข็ม ในบางครั้งเมื่อเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ไป อาจจะทำให้แรงปฏิกิริยาในเสาเข็มนั้นเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการการคำนวณและตรวจสอบแรงปฏิกิริยาในตัวโครงสร้างของเสาเข็มที่สภาวะการใช้งานว่าค่าๆ … Read More

1 17 18 19 20 21 22 23 29