เรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG
จริงๆ แล้วเนื้อหาในวันนี้ที่ผมจะนำมาโพสต์จะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องการทดสอบดินเท่าใดนักเพียงแต่เป็นเพราะเมื่อสองวันก่อนมีรุ่นน้องของผมท่านหนึ่งได้อินบ็อกซ์เข้ามาสอบถามกับผมเกี่ยวกับเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง โครงสร้างรองทางแบบมีความยืดหยุ่น หรือ FLEXIBLE PAVEMENT STRUCTURE ซึ่งพอได้มีการพูดถึงเรื่องๆ หนึ่งก็คืองานดิน ก็ได้มีการพูดคุยกันถึงเรื่องวัสดุรองชั้นทาง หรือ SUBGRADE MATERIAL ของงานถนน ซึ่งผมก็ได้ให้คำอธิบายในเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พอผมอธิบายเสร็จผมเลยมีความเห็นว่าน่าจะนำเนื้อหาในส่วนๆ นี้มาทำการแชร์เป็นความรู้แก่เพื่อนๆ ทุกคนด้วยก็น่าจะเป็นการดีซึ่งเรื่องๆ นี้ก็คือ ยางมะตอย หรือ ASPHALT เพราะที่ผ่านมาตัวของผมเองนั้นมีความเชื่อว่าเพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนเองก็อยากที่จะได้รับข้อมูลและรับทราบความรู้เกี่ยวกับเจ้าวัสดุตัวนี้ด้วย วันนี้ผมจึงจะขออนุญาตนำเรื่องๆ นี้มาเล่าโดยอาจจะนอกเรื่องจากเรื่องหลักไปสักนิดนึงก็แล้วกัน ยังไงผมคงจะต้องขออภัยเพื่อนๆ ที่อาจจะติดตามเนื้อหาในเรื่องที่ผมได้ค้างเพื่อนๆ เอาไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
จริงๆ แล้ว ยางมะตอย ก็คือ วัสดุที่สกัดได้จากน้ำมันดิบ มีลักษณะเป็นสีดำ มีความเหนียว และ ความหนืดที่ค่อนข้างจะต่ำ ยางมะตอยจะถูกนิยมมาใช้ในงานการก่อสร้างทางและถนนเป็นหลัก โดยที่จะใช้เป็นวัสดุปิดทับที่ผิวหน้า ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของยางมะตอยก็คือจะทำหน้าที่ประสานระหว่างวัสดุหยาบ เช่น หิน ทราย เป็นต้น โดยจะช่วยทำให้การผสมนั้นเข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกันได้ดียิ่งขึ้น โดยวัสดุที่ถูกนำมาใช้ในการเทผิวหน้าของถนนนั้นจะมีชื่อเรียกแบบเต็มๆ ว่า แอสฟัลท์ติกคอนกรีต หรือ ASPHALTIC CONCRETE และ มักที่จะเรียกแบบย่อๆ กันว่า แอสฟัลท์ นะครับ
หากว่าจะให้พูดถึงประเภทของยางมะตอยที่เรานิยมนำมาใช้งานเทปิดผิวหน้าของทางและถนนเราก็พอที่จะสามารถทำการจำแนกประเภทของยางมะตอยนี้ออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่
(1) ยางมะตอยประเภทที่มีความแข็งตัว หรือ แอสฟัลท์ซีเมนต์ (ASPHALT CEMENT หรือ AC)
ยางมะตอยชนิดนี้เป็นยางมะตอยที่ได้จากหินแอสฟัลท์ธรรมชาติ หรือ ผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน ยางมะตอยชนิดนี้จะมีลักษณะที่ค่อนข้าง แข็ง และ เหนียว โดยที่ยางมะตอยชนิดนี้ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดต่างๆ โดยแบ่งเกณฑ์ได้ตามค่าความแข็ง ซึ่งวัดได้เป็นค่า PENETRATION GRADE ยางมะตอยชนิดนี้ยังสามารถที่จะใช้ผสมกับหินขนาดต่างๆ ที่ต้องผ่านกระบวนการๆ เผาหินให้มีความร้อนและปราศจากซึ่งความชื้นแล้วค่อยนำไปผสมกับยางมะตอยชนิดนี้ที่ถูกทำให้ร้อนและเหลวพอที่จะสามารถทำการกวนและผสมให้เข้ากันได้ โดยต้องดูว่ายางมะตอยชนิดนี้จะต้องสามารถเคลือบผิวเม็ดหินได้อย่างทั่วถึงก่อนที่จะถูกนำไปใช้ปูลาดบนพื้นทาง สามารถที่จะทำการบดทับให้แน่นเป็นผิวทางบนท้องถนนจริงๆ ได้นะครับ
(2) ยางมะตอยประเภทที่เป็นน้ำมัน หรือ ยางคัตแบกแอสฟัลท์ (CUT BACK หรือ CB)
ยางมะตอยชนิดนี้เป็นยางยางมะตอยชนิดเหลวที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งจะได้จากการนำยางมะตอย AC มาผสมเข้ากันกับสารทำละลาย เพื่อทำให้ยางแข็ง AC นั้นมีความเหลวตัวลง ทั้งนี้ก็เพื่อให้สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้นโดยที่ไม่ต้องให้ความร้อนที่สูงมาก เมื่อตัวทำละลายระเหยไปก็จะทำให้ยางมะตอยนั้นมีเนื้อที่แข็งขึ้นไปอีก ซึ่งในที่สุดก็จะทำหน้าที่ในการประสานให้วัสดุต่างๆ นั้นเกิดการยึดเกาะกันแน่นมากยิ่งขึ้น หรือ พูดง่ายๆ ก็คือใช้เป็นไพรมโคทนั่นเองครับ
(3) ยางมะตอยประเภทที่เป็นน้ำ หรือ ยางอีมัลชั่น หรือ อีมัลซีฟายแอสฟัลท์ (EMULSIFIED ASPHALT หรือ EA)
ยางมะตอยชนิดนี้เป็นยางมะตอยน้ำที่ได้จากการใช้ยางมะตอย AC มาทำให้ร้อนและทำให้แตกตัวออกเป็นอณุภาคเล็กๆ ด้วยอีมัลซีฟายเออร์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถที่จะจับตัวและผสมเข้ากันกับอณุภาคของน้ำจนเป็นยางน้ำนั่นเอง โดยที่ยางมะตอยชนิดนี้จะมีเนื้อยางอยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 ถึง 60 ยางชนิดนี้จะมีความสะดวกในการนำมาใช้งานมากๆ โดยสามารถที่จะนำมาใช้งานได้หลากหลายประเภท เช่น งานก่อสร้างทาง งานซ่อมบำรุงผิวทาง เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะว่าในการผลิตยางมะตอยชนิดนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ความร้อนใดๆ ทั้งสิ้นเลย ถึงแม้ว่าวัสดุที่เป็นหินจะเปียกน้ำก็สามารถนำมาใช้กับยางประเภทนี้ได้ เมื่อน้ำระเหยไปหมดก็จะคงเหลือเอาไว้เพียงแต่เนื้อยางที่จับแน่นอยู่ที่ผิวของหินซึ่งก็จะทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานให้หินนั้นยึดติดเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้มีความสะดวกมากกว่าการใช้ยางมะตอย CB หรือ ยางมะตอย AC ที่จำเป็นที่จะต้องให้หินนั้นมีผิวที่แห้งและปราศจากความชื้นก่อนการใช้งานน่ะครับ
เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า ยางมะตอย นั้นมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งยางมะตอยแต่ละประเภทนั้นก็จะมีคุณสมบัติทางด้านกายภาพต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้นสำหรับการเลือกใช้งานยางมะตอยแต่ละประเภทเราก็มีความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้งานให้มีความเหมาะสมกับประเภทของการทำงานและคุณสมบัติที่ได้มีการกำหนดเอาไว้ในคุณสมบัติของงานก่อสร้างด้วยนะครับ
ยังไงในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาทำการพูดและอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างในการคำนวณหาค่าความลึกของหลุมเจาะเพื่อทำการทดสอบดินสำหรับ ฐานรากแบบตื้น และ ฐานรากแบบลึก กันต่อก็แล้วกันนะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจมีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความฉบับนี้ของผมได้ในครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตเสาเข็ม Spun MicroPile รายแรก
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 081-634-6586
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449
#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun