การแก้ไขฐานราก เมื่อจุดรองรับนั้น เป็นจุดรองรับแบบยึดแน่น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ
โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

ที่หน้างานได้มีการตอกเสาเข็มซึ่งจะถูกใช้ในโครงสร้างฐานราก F3 ผลจากการตอกเสาเข็มต้นแรกพบว่าไม่เป็นไปตาม BLOW COUNT ที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ ทางหน้างานจึงสันนิษฐานว่าเสาเข้มต้นนี้เกิดการหักและได้ทำการแจ้งกลับไปยังผู้ออกแบบเพื่อให้รับทราบและขอให้ช่วยดำเนินการออกแบบแก้ไขฐานรากต้นนี้ โดยผมจะขอสมมติให้เพื่อนๆ นั้นเป็นผู้ออกแบบในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ก็แล้วกัน ซึ่งตอนที่เพื่อนๆ นั้นได้ทำการจำลองโครงสร้างฐานรากต้นนี้เพื่อนๆ ได้ทำการกำหนดให้โครงสร้างฐานรากต้นนี้มีสภาพเป็น จุดรองรับแบบยึดแน่น หรือ FIXED SUPPORT คำถามก็คือ ในฐานะของผู้ออกแบบเพื่อนๆ จะเลือกทำการออกแบบแก้ไขฐานรากต้นนี้อย่างไรดี ?

ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาการแก้ไขฐานรากเมื่อจุดรองรับนั้นเป็นจุดรองรับแบบยึดแน่น
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นเรามาช่วยกันวิเคราะห์หาคำตอบว่าในฐานะของผู้ออกแบบเราจะเลือกทำการออกแบบแก้ไขฐานรากต้นนี้อย่างไรกันดีไปพร้อมๆ กัน ซึ่งผมก็ต้องขออนุญาตออกตัวไว้ก่อนเลยว่า สำหรับการแก้ปัญหาฐานรากแบบนี้เป็นเรื่องแน่นอนว่า ย่อมที่จะมีวิธีการแก้ไขมากกว่าหนึ่งวิธีการอย่างแน่นอน ดังนั้นสำหรับเพื่อนๆ ที่อาจจะตอบวิธีการอื่นๆ มาก็ไม่ได้หมายความว่าวิธีการนั้นผิดหรือใช้ไม่ได้ ซึ่งวิธีการที่ผมได้นำเอามาใช้ในการเฉลยคำถามในวันนี้จึงเป็นเพียงวิธีการแก้ไขวิธีการหนึ่งเพียงเท่านั้นนะครับ

เหมือนกันกับปัญหาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วซึ่งผมได้แจ้งกับเพื่อนๆ ไปว่า สิ่งสำคัญประการแรกที่เราควรที่จะต้องทำการพิจารณาก็คือ คุณลักษณะของจุดรองรับที่เราได้ใช้ในการทำการจำลองโครงสร้างฐานรากต้นนี้ในครั้งแรก หรือ BOUNDARY CONDITIONS ซึ่งเพื่อให้เป็นการดีและเกิดความง่ายดายมากที่สุดเราจึงควรที่จะคงไว้ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าว สำหรับกรณีนี้จุดรองรับนี้มีสภาพเป็น จุดรองรับแบบยึดแน่น ซึ่งลักษณะของจุดรองรับแบบนี้ก็จะมีแรงหลักๆ 3 แรงด้วยกันนั่นก็คือ แรงในแนวตั้งฉาก หรือ VERTICAL LOAD แรงในแนวราบ หรือ HORIZONTAL LOAD และ แรงคู่ควบ หรือ MOMENT FORCE ซึ่งลักษณะของแรงสุดท้ายนี้เองที่จะมีความต้องการระยะแขนของแรงที่เกิดขึ้นระหว่างโครงสร้างเสาเข็มเข้ามาช่วยในการรับน้ำหนักรอบๆ แกนของโครงสร้างฐานราก ดังนั้นวิธีการที่เพื่อนๆ อาจจะเลือกใช้งานก็คือ การทำให้โครงสร้างเสาเข็มนั้นมีระยะห่างที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราก็จะเห็นได้ว่าการทำเช่นนี้จะเป็นการเพิ่มแขนของแรง ซึ่งก็จะส่งผลโดยตรงต่อการรับแรงของโครงสร้างฐานรากอันเนื่องมาจากแรงคู่ควบแต่ทั้งนี้เราก็ต้องไม่ลืมด้วยว่า พฤติกรรมที่ดีที่สุดซึ่งเราควรที่จะทำการกำหนดและออกแบบให้เสาเข็มนั้นมีก็คือ เราควรที่จะกระจายน้ำหนักที่ถูกถ่ายลงมาเพื่อให้เสาเข็มทุกๆ ต้นนั้นมีการรับน้ำหนักบรรทุกที่มีความใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ดังนั้นการที่เราทำให้โครงสร้างเสาเข็มมีระยะห่างที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นก็ต้องทำโดยการที่เรายังคงรักษาจุดศูนย์ถ่วงระหว่างโครงสร้างตอม่อและโครงสร้างเสาเข็มให้มีความตรงกันด้วยก็จะเป็นการดีที่สุด สุดท้ายเราก็ต้องไม่ลืมว่าเมื่อทำการขยายให้ฐานรากนั้นมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นสิ่งที่เราในฐานะผู้ออกแบบนั้นควรที่จะต้องคำนึงถึงตามมาก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เช่น ระยะความหนาของฐานรากว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ค่าความสามารถในการรับแรงเฉือนทะลุและแรงเฉือนแบบคานกว้างนั้นเพียงพอหรือไม่ เหล็กเสริมรับแรงดัดที่เคยเสริมในฐานรากเดิมนั้นจะมีปริมาณที่เพียงพอหรือไม่ เป็นต้นนะครับ

สรุปคำตอบสำหรับวิธีการที่เพื่อนๆ อาจจะเลือกใช้งานสำหรับการแก้ไขฐานรากเมื่อจุดรองรับนั้นเป็นจุดรองรับแบบยึดแน่นก็คือ การทำให้โครงสร้างเสาเข็มนั้นมีระยะห่างที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นและจะต้องรักษาจุดศูนย์ถ่วงระหว่างโครงสร้างตอม่อและโครงสร้างเสาเข็มให้มีความตรงกันด้วย ทั้งนี้ก็ต้องไม่ลืมตรวจสอบด้วยว่าผลจากการที่เรานั้นทำการขยายฐานรากจะส่งผลต่อเรื่องพฤติกรรมต่างๆ ของโครงสร้างฐานรากไปในรูปแบบใดบ้างด้วยนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการแก้ไขฐานรากเมื่อจุดรองรับนั้นเป็นจุดรองรับแบบยึดแน่น
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com