สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ
โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ
ผมมีหน้าตัดของโครงสร้างเหล็กรูป C-LIGHT LIP อยู่คู่หนึ่งและเมื่อได้ทำการออกแบบให้โครงสร้างคานนี้มีสมรรถนะที่ดีทั้งในสภาวะกำลังและสภาวะการใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมจึงทำการคำนวณค่า MAXIMUM SHEAR FLOW ในหน้าตัดออกมาพบว่าจะมีค่าเท่ากับ 160 KGF/CM และพอทำการคำนวณขนาดของรอยเชื่อมทั้งที่ผิวด้านบนและล่างก็จะพบว่าจะมีค่ากำลังของรอยเชื่อมเท่ากับ 800 KGF/CM ผมอยากให้เพื่อนๆ ช่วยกันคำนวณดูหน่อยว่า หากผมจะทำการกำหนดให้รอยเชื่อมนั้นทำหน้าที่ถ่ายแรง SHEAR FLOW ทั้งหมด จะต้องทำการเชื่อมด้วยความยาวเท่าใดและมีระยะห่างกันเท่าใด โดยมีตัวเลือกดังนี้ครับ
(1) ความยาวรอยเชื่อมคือ 25 MM โดยเชื่อมห่างกันโดยมีระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางถึงจุดศูนย์กลางของรอยเชื่อมเท่ากับ 125 MM
(2) ความยาวรอยเชื่อมคือ 50 MM โดยเชื่อมห่างกันโดยมีระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางถึงจุดศูนย์กลางของรอยเชื่อมเท่ากับ 250 MM
(3) ความยาวรอยเชื่อมคือ 100 MM โดยเชื่อมห่างกันโดยมีระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางถึงจุดศูนย์กลางของรอยเชื่อมเท่ากับ 500 MM
(4) ถูกทุกข้อ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องหน่วยแรงเฉือนตามแนวยาวในโครงสร้างคานเชิงประกอบ
ADMIN JAMES DEAN
เฉลย
เป็นยังไงกันบ้างครับกับปัญหาข้อนี้ ง่ายมากๆ เลยใช่มั้ยเอ่ย เอาเป็นว่าเพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เรามาเริ่มต้นทำการวิเคราะห์และคำนวณหาว่าจะต้องทำการเชื่อมด้วยความยาวเท่าใดและมีระยะห่างกันเท่าใดกันเลยนะครับ
ก่อนอื่นต้องทำการคำนวณออกมาก่อนว่าเราต้องการให้มีระยะความยาวของรอยเชื่อมต่อหนึ่งหน่วยความยาวเท่ากับเท่าใดกันแน่ โดยทำการคำนวณจากค่าหน่วยแรงเฉือนตามแนวยาวและค่าค่ากำลังของรอยเชื่อม โดยที่เราจะสามารถทำการคำนวณออกมาได้ง่ายๆ หากเทียบเป็นระยะความยาวของรอยเชื่อมต่อ 1 เมตร ดังนั้นระยะความยาวของรอยเชื่อมที่ต้องการต่อระยะความยาวเท่ากับ 1 เมตร จึงมีค่าเท่ากับ
Lwpm req’d = q x 100 / Pw
Lwpm req’d = 160 x 100 / 800
Lwpm req’d = 20 CM / 1 M
ดังนั้นไม่ว่าเราจะทำการจัดระยะความยาวของการเชื่อมหรือระยะความห่างของการเชื่อมเป็นเท่าใดก็แล้วแต่ขอเพียงแค่เราทำให้หน้าตัดของเรานั้นสามารถที่จะมีรอยเชื่อมที่มากเพียงพอที่จะรับหน่วยแรงเฉือนตามแนวยาวที่เกิดขึ้นได้ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำในขั้นตอนต่อไปก็คือ ทำการคำนวณดูในแต่ละข้อตัวเลือกว่า ข้อใดที่จะทำให้มีระยะความยาวของการเชื่อมและระยะความห่างของการเชื่อมที่สอดคล้องกับที่เราต้องการนะครับ
เริ่มจากข้อที่ (1) ก่อน นั่นก็คือ ความยาวรอยเชื่อมคือ 25 MM โดยเชื่อมห่างกันโดยมีระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางถึงจุดศูนย์กลางของรอยเชื่อมเท่ากับ 125 MM ดังนั้นภายในระยะ 1 เมตร จะมีความยาวของรอยเชื่อมเท่ากับ
Lwpm 1 = LENGTH x Lw1 / SP1
Lwpm 1 = 1000 x 25 / (125 x 10)
Lwpm 1 = 20 CM / 1 M = Lwpm req’d <OK>
มาต่อกันในข้อที่ (2) เลย นั่นก็คือ ความยาวรอยเชื่อมคือ 50 MM โดยเชื่อมห่างกันโดยมีระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางถึงจุดศูนย์กลางของรอยเชื่อมเท่ากับ 250 MM ดังนั้นภายในระยะ 1 เมตร จะมีความยาวของรอยเชื่อมเท่ากับ
Lwpm 2 = LENGTH x Lw2 / SP2
Lwpm 2 = 1000 x 50 / (250 x 10)
Lwpm 2 = 20 CM / 1 M = Lwpm req’d <OK>
สุดท้ายก็คือข้อที่ (3) นั่นก็คือ ความยาวรอยเชื่อมคือ 100 MM โดยเชื่อมห่างกันโดยมีระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางถึงจุดศูนย์กลางของรอยเชื่อมเท่ากับ 500 MM ดังนั้นภายในระยะ 1 เมตร จะมีความยาวของรอยเชื่อมเท่ากับ
Lwpm 3 = LENGTH x Lw3 / SP3
Lwpm 3 = 1000 x 100 / (500 x 10)
Lwpm 3 = 20 CM / 1 M = Lwpm req’d <OK>
โดยจะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่าตัวเลือกในข้อที่ (1) (2) และ (3) นั้นจะมีระยะความยาวของการเชื่อมและระยะความห่างของการเชื่อมที่แตกต่างกันแต่สุดท้ายก็คือให้ระยะความยาวของรอยเชื่อมที่เพียงพอต่อการรับกำลังแรงเฉือนตามแนวยาวที่เกิดขึ้นภายในหน้าตัดได้อย่างเพียงพอและในเมื่อเป็นเช่นนั้นคำตอบที่มีความถูกต้องมากที่สุดก็คือ คำตอบในข้อที่ (4) นั่นก็คือ ถูกทุกข้อ นั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ตอบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องหน่วยแรงเฉือนตามแนวยาวในโครงสร้างคานเชิงประกอบ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com