การเลือกขนาดของความหนาของเหล็กแผ่นที่เหมาะสม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

เนื่องจากเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้มีโอกาสออกไปทำการตรวจงานการก่อสร้างโครงสร้างเหล็กในโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่งและได้มีการพูดคุยกับวิศวกรที่หน้างาน ซึ่งทางวิศวกรท่านนี้ได้สอบถามคำถามๆ หนึ่งซึ่งผมคิดว่ามีความน่าสนใจนั่นก็คือ

 

“เพราะเหตุใดผมจึงได้เลือกทำการออกแบบและกำหนดให้มีการใช้เหล็กแผ่นที่ค่อนข้างจะมีความหนามากสักหน่อยในการก่อสร้างโครงสร้างส่วนที่เป็น CANOPY บริเวณภายนอกของอาคาร โดยจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเหล็กแผ่นส่วนนี้จะมีขนาดของความหนามากกว่าตรงส่วนอื่นๆ ค่อนข้างมากเลยครับ ?”

 

ก่อนอื่นผมต้องขอชมเชยวิศวกรท่านนี้นะว่าคำถามข้อนี้เป็นคำถามที่ดีและมีความน่าสนใจมาก แสดงว่าวิศวกรท่านนี้มีความช่างสังเกตค่อนข้างมาก ซึ่งจริงๆ แล้วประเด็นในวันนี้ผมเองเคยได้นำเอามาอธิบายให้เพื่อนๆ ฟังกันไปก่อนหน้านี้สักพักแล้วแต่ก็ไม่เป็นไร ยังไงผมขออนุญาตนำเอามาทำการอธิบายซ้ำอีกรอบหนึ่งก็แล้วกันนะครับ

 

ความสำคัญของการเลือกความหนาของเหล็กแผ่นหรือ STEEL PLATE นั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ถึง 3 ประการหลักๆ วันนี้ผมจะขออนุญาตพูดถึงเฉพาะประเด็นที่ 1 ก่อนนั่นก็คือ ผลของการที่เราเลือกความหนาของเหล็กแผ่นให้มีความเหมาะสมจะช่วยทำให้การไหลเวียนของความเค้นนั้นดียิ่งขึ้นนั่นเองนะครับ

 

ก่อนอื่นคงต้องเริ่มต้นทำการอธิบายเสียก่อนว่า อะไรคือการไหลเวียนของความเค้นหรือ STRESS FLOW ?

ผมขออนุญาตทำการอธิบายโดยสังเขปดังนี้ก็แล้วกันนะว่า ในหน้าตัดของโครงสร้างหนึ่งๆ เวลาที่เราต้องการที่จะคำนวณหาค่าความเค้นตั้งฉากหรือว่าค่า NORMAL STRESS เราจะตั้งสมมติฐานว่าความเค้นตั้งฉากนั้นเป็นค่าความเค้นเฉลี่ยหรือ AVERAGE STRESS ดังนั้นนี่เองจึงเป็นที่มาของคำว่า ค่าความเค้นตั้งฉากโดยเฉลี่ย หรือ AVERAGE NORMAL STRESS ดังนั้นหากว่ากรณีโครงสร้างของเรานั้นเป็น เหล็กแผ่น และเรามีความต้องการที่จะให้ค่าความเค้นตั้งฉากดังกล่าวนี้เกิดขึ้นตามสมมติฐานดังกล่าวนี้จริงๆ เราก็จำเป็นที่จะต้องเลือกให้ความหนาของเจ้าเหล็กแผ่นนี้ให้ขนาดของความหนาที่มีความเหมาะสมด้วยนะครับ

 

เพราะฉะนั้นการที่เราจะเลือกให้เหล็กแผ่นของเรานั้น เป็นเหล็กแผ่นแบบบาง หรือ THIN PLATE หรือว่าเป็นเหล็กแผ่นแบบหนา หรือ THICK PLATE เราจึงจำเป็นต้องเลือกและทำการออกแบบโดยการอ้างอิงจากมาตรฐานการออกแบบให้ดี ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำงานออกแบบที่ดีด้วยนะครับ

เพื่อเป็นการอธิบายถึงผลของการที่เราเลือกความหนาของเหล็กแผ่นให้มีความเหมาะสมนั้นจะช่วยทำให้การไหลเวียนของความเค้นนั้นดียิ่งขึ้นได้อย่างไร ผมจึงได้เตรียมตัวอย่างมาหนึ่งตัวอย่างสั้นๆ และง่ายๆ มาฝากเพื่อนๆ โดยให้เพื่อนๆ เริ่มต้นดูจากรูปที่ 1 นะครับ

 

โดยผมมีเหล็กแผ่นอยู่ 2 แผ่น โดยที่เจ้าเหล็กแผ่นทั้งสองนี้มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกๆ ประการ เช่น มี BOUNDARY CONDITIONS มี LOADING CONDITIONS ที่เหมือนๆ กัน เป็นต้น ยกเว้น เพียงอย่างเดียวนั่นก็คือ ขนาดของความหนาของแผ่นเหล็กที่ใช้ โดยที่แผ่นเหล็กด้านบนและล่างนั้นจะมีขนาดของความหนาเท่ากับ 25 มม และ 50 มม ตามลำดับ

หากดูในรูปที่ 2 ก็จะสามารถเห็นผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างโดยใช้ซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENT ที่มีชื่อว่า STAAD.PRO เราก็จะพบว่า ผลของการไหลเวียนของความเค้นประเภท MAXIMUM ABSOLUTE STRESS ในแผ่นเหล็กทั้งสองนั้นจะมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้อย่างชัดเจนเลย โดยที่เจ้าเหล็กแผ่นด้านบนนั้นจะมีค่า MAXIMUM ABSOLUTE STRESS ค่าสูงที่สุดที่มุมขวาบริเวณขอบล่างสุดซึ่งจะมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 28.8 PASCAL ส่วนเจ้าเหล็กแผ่นด้านล่างนั้นก็จะมีค่า MAXIMUM ABSOLUTE STRESS ค่าสูงที่สุดที่มุมขวาบริเวณขอบล่างสุด ซึ่งก็คือบริเวณเดียวกันกับเจ้าเหล็กแผ่นด้านบน ซึ่งค่าๆ นี้จะมีค่าเท่ากับ 16.6 PASCAL ซึ่งสิ่งที่ผมอยากจะให้เพื่อนๆ ทุกคนๆ ได้ร่วมกันสังเกตการณ์ให้ดีก็จะอยู่ตรงจุดๆ นี้นั่นก็คือ เส้นแสดงระดับของความเค้น หรือ STRESS CONTOUR ซึ่งเพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าลักษณะของการไหลเวียนของความเค้นของเหล็กแผ่นที่อยู่ในรูปด้านล่างนั้นจะค่อนข้างมีความ SMOOTH มากกว่าเหล็กแผ่นที่อยู่ในรูปด้านบนค่อนข้างมากเลย ซึ่งสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็จะเป็นไปตามคุณลักษณะในเรื่องของการเลือกขนาดของความหนาของแผ่นเหล็กที่ผมได้ทำการอธิบายไปข้างต้นนะครับ

 

ดังนั้นคำตอบข้อที่ 1 ที่ผมได้ทำการตอบและอธิบายแก่น้องวิศวกรท่านนี้ไปก็คือ ผมมีความต้องการที่จะทำการออกแบบและกำหนดให้เจ้าเหล็กแผ่นๆ นี้นั้น มีการไหลเวียนของความเค้นที่ดี ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการที่จะทำการลดผลจากการแบกรับภาระต่างๆ ของน้ำหนักที่โครงสร้างๆ นี้จะต้องรับอยู่ตลอดเวลา เช่น การคืบ การล้า เป็นต้น ที่อาจจะเกิดขึ้นได้มากในโครงสร้าง โดยเฉพาะโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างแบบยื่นเหมือนกันกับเจ้า CANOPY นี้นั่นเองนะครับ

 

เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมอยากจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและลงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นๆ นี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบและรับชมกันต่ออีกสักโพสต์ก็แล้วกัน โดยหากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามได้ในการพบกันครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ

 

ผมคาดหวังไว้ว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยและจนกว่าเราจะกลับมาพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันพุธ

#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง

#ความรู้เรื่องการเลือกขนาดของความหนาของเหล็กแผ่นที่เหมาะสม

#ตอนที่1

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com