สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
เนื่องจากเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ผมอยู่ที่ไต้หวันได้มีเพื่อนบนเฟซบุ้คของผมท่านหนึ่งได้สอบถามกันเข้ามาถึงเรื่องๆ หนึ่งและผมก็ได้รับปากว่า เมื่อใดที่ผมกลับมาที่ประเทศไทยเมื่อใดผมจะรีบดูให้ ซึ่งประเด็นและใจความของคำถามข้อนี้นมีดังต่อไปนี้ครับ
“ผมกำลังจะทำการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารโรงงานในจังหวัดทางภาคอีสาน โดยที่ต้องการจะใช้ระบบฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION โดยที่ผมตั้งใจที่จะทำการจำลองให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่สามารถเสียรูปได้หรือ FLEXIBLE SUPPORT ดังนั้นผมจึงอยากที่จะทำการกำหนดให้จุดรองรับนั้นมีสภาพเป็นสปริงแบบยืดหยุ่นหรือ ELASTIC SPRING ซึ่งตอนนี้ผมกำลังมีปัญหาว่า ผมไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นทำการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งหรือ STIFFNESS ในทิศทางของแกน x y และ z ได้อย่างไร รบกวนช่วยขอคำชี้แนะด้วยครับ”
ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาตชมเชยเพื่อนท่านนี้ก่อนที่เพื่อนของผมท่านนี้มีความสนใจและเข้าใจอย่างถูกต้องว่า ส่วนใหญ่แล้วฐานรากแบบตื้นนั้นจะมีสภาพเป็นจุดรองที่สามารถจะเสียรูปได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องทำการคำนวรหาค่าความแข็งแกร่งของแต่ละแกนออกมาเพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างของเราครับ
เอาละ ในโพสต์ๆ นี้ผมจะขออนุญาตเริ่มต้นให้คำแนะนำถึงวิธีในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินเอาไว้โดยสังเขปดังต่อไปนี้ก็แล้วกันนะครับ
เริ่มต้นจากขั้นตอนของการทำการสำรวจข้อมูลของชั้นดินเสียก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะได้ทราบว่า คุณสมบัติของดินในสถานที่ก่อสร้างของเรานั้นมีคุณสมบัติเป็นเช่นใด
ขั้นตอนต่อมาคือ เพื่อนๆ อาจจะแจ้งให้แก่บริษัทที่รับจ้างทำหน้าที่ในการสำรวจดินให้ช่วยทำการวิเคราะห์คำนวณค่า Kv Kh และ Kr ให้แก่เพื่อนๆ ก็ได้หรือหากว่าบริษัทดังกล่าวนั้นไม่สามารถทำการคำนวณให้แก่เพื่อนๆ ได้เนื่องด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง เพื่อนๆ ก็อาจจะทำการคำนวณหาค่าทั้งสามนี้ด้วยตัวเองก็ได้ โดยอาจจะทำการคำนวณหาค่าๆ นี้จากทฤษฎีใดๆ ก็ได้ที่เพื่อนๆ อาจจะมีความถนัดและสะดวก ซึ่งในวันนี้ผมจะขอแนะนำให้เพื่อนๆ นั้นทำการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในแต่ละแกนข้างต้นจากเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความแข็งแกร่งของดินกับค่าโมดูลัสแรงเฉือนของดินหรือ SHEAR MODULUS OF SOIL หรือ Gsoil นั่นเอง
ทั้งนี้ค่าโมดูลัสแรงเฉือนของดินเองก็จะมีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินหรือ ELASTIC MODULUS OF SOIL หรือ Esoil ซึ่งค่าๆ นี้ก็จะขึ้นอยู่กับประเภทของชั้นดินของเพื่อนๆ โดยที่เพื่อนๆ อาจจะใช้ค่าที่ BOWLES ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ดังที่ได้แสดงอยู่ในรูปในโพสต์ๆ นี้ก็ได้นะครับ
อีกค่าหนึ่งที่เราควรจะทราบก็คือ ค่าอัตราส่วนปัวซองต์ซองของดินหรือ POISSON’S RATIO OF SOIL หรือค่า vsoil ซึ่งค่าๆ นี้จะมีค่าโดยประมาณอยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.50 จากนั้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าโมดูลัสแรงเฉือนของดินได้จากสมการๆ นี้
Gsoil = Esoil / 2(1+vsoil)
จริงๆ เนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องๆ นี้ยังจะต้องพูดกันต่ออีกสักพักใหญ่แต่ไม่เป็นไรนะครับ ผมจะขออนุญาตหยุดพักเนื้อหาของสัปดาห์นี้ไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนไม่อย่างนั้นเพื่อนๆ อาจจะมองว่าโพสต์นี้มันยืดยาวและน่าเบื่อมากจนเกินไปและในที่สุดก็อาจจะทำให้เพื่อนๆ ไม่สามารถที่จะจับใจความสำคัญของเรื่องๆ นี้ได้ ยังไงผมจะมาพูดถึงประเด็นๆ นี้ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันต่อในสัปดาห์หน้าก็แล้วกันนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#อธิบายถึงขั้นตอนในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในรูปของค่าสปริงยืดหยุ่นของฐานรากแบบตื้นครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com