ทิศทางที่มีการวางตัวอยู่บนคาน หรือ ON BEAM TWO WAY SLAB
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
โดยที่ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและยกตัวอย่างถึงกรณีของการออกแบบชนิดทั่วๆ ไปในเรื่อง วิธีในการออกแบบระยะการเรียงตัวของเหล็กเสริมในแผ่นพื้นทั้งแบบทางเดียวและสองทางหลังจากที่เราได้ปริมาณของเหล็กเสริมใช้งานมาแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบและทำความเข้าใจกันนะครับ
1. แผ่นพื้นที่มีช่วงพาดเป็นแบบทิศทางเดียวที่มีการวางตัวอยู่บนคาน หรือ ON BEAM ONE WAY SLAB
เราอาจจะพบได้ว่าในการออกแบบระยะห่างสำหรับแผ่นพื้นชนิดนี้ก็อาจจะมีความยุ่งยากในระดับหนึ่งแต่ก็คงจะไม่ได้มีความยากเย็นอะไรมากจนเกินไปนัก ขอเพียงแค่เราแยกให้ออกถึงกรณีของเหล็กเสริมให้ได้ก็เป็นการเพียงพอแล้วละครับ
A. เหล็กเสริมเอกในทิศทางๆ ด้านสั้นหรือทางด้านของช่วงพาด โดยที่รายละเอียดต่างๆ ของเรื่องขนาดและระยะของเหล็กเสริมชนิดนี้มีข้อกำหนดดังต่อไปนี้นะครับ
A1. ชนิด และ ขนาด ที่เล็กที่สุดที่มาตรฐานการออกแบบนั้นยินยอมให้ใช้ในการเสริมเหล็กก็คือ เหล็กชนิดเส้นกลม ที่มีขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม หรือ RB6mm นั่นเองครับ
A2. ระยะเรียงห่างกันที่มากที่สุดจะต้องมีค่าไม่มากกว่า 3 เท่า ของขนาดความหนาของแผ่นพื้นนั้นๆ หรือ ต้องมีค่าไม่เกิน 450 มม
A3. ระยะเรียงห่างกันที่น้อยที่สุดจะต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเสริมที่ใช้ หรือ ต้องไม่น้อยกว่า 1.34 เท่า ของขนาดโตที่สุดของมวลรวมหยาบที่ใช้ผสมลงไปในคอนกรีตที่ใช้เทพื้นแผ่นนั้นๆ หรือ ต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 25 มม
B. เหล็กเสริมที่ทำหน้าที่ในการป้องกันการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่อาจจะเป็นเหล็กเสริมที่ครอบคลุมการออกแบบและอยู่ในข้อ A. หรือ อาจจะหมายถึงเหล็กเสริมรองที่อยู่ในทิศที่อยู่ตรงกันข้ามกับทางด้านสั้นหรือทางด้านของช่วงพาดตามที่ได้กล่าวถึงในข้อ A. ก็ได้ โดยที่รายละเอียดต่างๆ ของเรื่องขนาดและระยะของเหล็กเสริมชนิดนี้มีข้อกำหนดง่ายกว่าในข้อ A. ค่อนข้างมาก นั่นก็คือจะมีการกำหนดถึงเฉพาะเรื่องของระยะเรียงกันห่างมากที่สุดนั่นก็คือ ระยะเรียงห่างกันที่มากที่สุดสำหรับเหล็กเสริมชนิดนี้จะต้องมีค่าไม่มากกว่า 5 เท่า ของขนาดความหนาของแผ่นพื้นนั้นๆ หรือ ต้องมีค่าไม่เกิน 450 มม
2. แผ่นพื้นที่มีช่วงพาดเป็นแบบสองทิศทางที่มีการวางตัวอยู่บนคาน หรือ ON BEAM TWO WAY SLAB
เราอาจจะพบได้ว่ารายละเอียดต่างๆ ของเรื่องขนาดและระยะของแผ่นพื้นชนิดนี้จะมีข้อกำหนดง่ายกว่าในข้อ 1. ค่อนข้างมากเลย นั่นก็คือจะมีการกำหนดถึงเฉพาะเรื่องของระยะเรียงกันห่างมากที่สุดสำหรับเหล็กเสริมหลักในทั้งสองทิศทางซึ่งก็จะรวมถึงเหล็กเสริมที่ทำหน้าที่ในการป้องกันการแตกร้าวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิด้วย นั่นก็คือ ระยะเรียงห่างกันที่มากที่สุดสำหรับเหล็กเสริมชนิดนี้จะต้องมีค่าไม่มากกว่า 3 เท่า ของขนาดความหนาของแผ่นพื้นนั้นๆ หรือ ต้องมีค่าไม่เกิน 450 มม
หากเพื่อนๆ ดูจากข้อมูลตามที่ผมได้อธิบายไปข้างต้นก็อาจจะพบได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเหล็กเสริมเอก เหล็กเสริมรอง หรือ เหล็กเสริมที่ทำหน้าที่ในการป้องกันการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินั้นจะต้องมีระยะเรียงที่ห่างกันมากที่สุดไม่มากกว่า 450 มม ดังนั้นก็อาจจะเป็นข้อมูลที่เพื่อนๆ นั้นสามารถที่จะจดจำกันได้ไม่ยากเย็นจนเกินไปนักนะครับ
ในครั้งต่อไปผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและยกตัวอย่างถึงเรื่องรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับการออกแบบโครงสร้างแผ่นพื้นที่ถือได้ว่ามีความสำคัญการออกแบบแผ่นพื้นไม่น้อยไปกว่าเรื่องที่ผมได้เคยกล่าวถึงไปก่อนหน้านี้เลยนะครับ ยังไงหากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความเรื่องนี้ของผมได้ในสัปดาห์หน้านะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพุธ
#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน
#ความรู้และการยกตัวอย่างถึงเรื่องวิธีในการคำนวณเรื่องระยะการเรียงตัวของเหล็กเสริมในแผ่นพื้น
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
8) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449
☎ 081-634-6586