ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป

ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยในวันนี้เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีแฟนเพจของเราท่านหนึ่งได้ REQUEST มาเป็นพิเศษนั่นก็คือเรื่องการออกแบบวิศวกรรมโครงสร้าง เสายาว หรือ SLENDER COLUMN นั่นเองนะครับ

โดยที่หากจะให้ผมพูดถึงเรื่องๆ นี้คงจะต้องอาศัยระยะเวลาในการพูดและอธิบายกันนานโขอยู่ เพราะ จริงๆ แล้วในการที่จะทำการออกแบบเสายาวให้เกิดความเข้าใจได้ลึกซึ้งนั้นจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นพูดถึงเรื่อง เสาสั้น หรือ SHORT COLUMN หรือบางครั้งเราอาจเรียกว่า STOCKY COLUMN ให้เข้าใจพฤติกรรมการรับกำลังของเสาชนิดนี้กันเสียก่อนหลังจากนั้นก็ค่อยแบ่งประเภทของโครงสร้างระหว่าง โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก กับ โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ดังนั้นผมจะค่อยๆ ทำการแบ่งส่วนของการโพสต์ออกเป็นส่วนย่อยๆ ก็แล้วกัน 

ดังนั้นผมจึงต้องขอร้องให้เพื่อนๆ ทุกคนได้โปรดทำความเข้าใจความจำเป็นในข้อนี้เอาไว้ก่อนนะครับ และ ในวันนี้ผมจะทำการให้ชื่อของหัวข้อในการโพสต์ก็คือ การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างเสายาวส่วนที่ 1 นะครับ

เรามาเริ่มต้นที่คำถามสุดที่จะคลาสสิคนั่นก็คือ โครงสร้างเสาสั้น และ โครงสร้างเสายาว คืออะไร หรือ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ? 

หากว่ากันตามหลักการของความแข็งแรงของวัสดุ หรือ STRENGTH OF MATERIALS หรืออาจเป็น กลศาสตร์ของวัสดุ หรือ MECHANICS OF MATERIALS ก็แล้วแต่เราอาจจะพบว่า เสาสั้น และ เสายาว จะถูกจำแนกแตกต่างกันโดยการพิจารณาจากค่า สัดส่วนความชะลูด หรือ SLENDERNESS RATIO เป็นหลัก แต่ เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเกิดความสงสัยว่า เพราะเหตุใดเมื่อจะทำการออกแบบทั้งโครงสร้างคอนกรีตโดย WSM หรือ วิธีหน่วยแรงใช้งาน และ SDM หรือ วิธีกำลัง หรือแม้กระทั่ง โครงสร้างเหล็กรูปพรรณโดยวิธี ASD หรือ หน่วยแรงใช้งาน หรือ LRFD หรือ ตัวคูณเพิ่มค่าน้ำหนักบรรทุก ก็ดี เหตุใดทุกๆ วิธีการออกแบบจึงมีการจำแนกลักษณะของโครงสร้าง เสาสั้น และ เสายาว ที่แตกต่างกัน ?

ผมขอตอบเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในเบื้องต้นแบบนี้นะครับว่า นั่นเป็นเพราะว่าวิธีในการออกแบบต่างๆ นั้นมีการพิจารณาโครงสร้างบนพื้นฐานที่ว่า 

1.วัสดุ ที่เรานำมาใช้ในการทำการก่อสร้างตัวโครงสร้างนั้นมีคุณสมบัติที่มีความแตกต่างกัน เช่น วัสดุระหว่าง คอนกรีตเสริมเหล็ก และ เหล็ก เป็นต้น 

2.สภาวะของโครงสร้างที่เราทำการพิจารณาทำการออกแบบนั้นมีความแตกต่างกัน เช่น สภาวะการใช้งาน และ สภาวะการใกล้จะเกิดการวิบัติ เป็นต้น

ดังนั้นในเมื่อทั้ง คุณสมบัติของวัสดุ และ สภาวะของโครงสร้างที่ทำการพิจารณาออกแบบ นั้นมีความแตกต่างกันก็ย่อมที่จะส่งผลทำให้ วิธีในการออกแบบโครงสร้างนั้นมีรายละเอียดและวิธีในการพิจารณาที่แตกต่างกันออกไปนั่นเองครับ

เอาเป็นว่าในส่วนการโพสต์ในเรื่องของ การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างเสายาวส่วนที่ 2 และส่วนอื่นต่อๆ ไป ผมจะค่อยๆ ทำการปูความรู้เริ่มจากพื้นฐาน โดยอาจเริ่มต้นจากหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ STRENGTH OF MATERIALS ไล่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเข้าสู่การออกแบบโครงสร้าง คสล และ เหล็กรูปพรรณ เลยก็แล้วกันนะครับ หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องๆ นี้ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมได้ในโอกาสต่อไปครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพุธ
#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน
#การออกแบบเสายาว

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม

Bhumisiamภูมิสยาม

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPileDia21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPileที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPileแบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449