ref: https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1310554715657317
สวัสดีครับเพื่อนๆ ที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะมาอธิบายแก่เพื่อนๆ ทุกคนให้ทราบถึงรายละเอียดของการเสริมเหล็ก SIDE FACE REINFORCEMENT หรือ WEB REINFORCEMENT นั่นเองครับ
ประโยชน์ของเหล็กเสริมตัวนี้ก็เพื่อป้องกันการแตกร้าวของผิวคอนกรีตเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่มีความรุนแรงซึ่งอยู่รอบข้าง เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่รุนแรง สารเคมีต่างๆ ที่อาจสัมผัสหรือทำปฎิกิริยากัดกร่อนโครงสร้างได้ เป็นต้น
ก่อนอื่นนะครับเราต้องมาดูกรณีของโครงสร้างคานก่อนนะครับ
กรณีที่ (1) กรณีที่โครงสร้างคานมีสภาพการยึดรั้งทางด้านข้างที่มากพอสมควร เช่น คานที่ต้องรับพื้นหล่อในที่ เป็นต้น หากว่าเป็นคานในลักษณะข้างต้นนี้แล้ว ความหนาทั้งหมดของคานเท่ากับระยะ D โดยที่พื้นหล่อในที่มีความหนาเท่ากับ Ts (ดูรูปที่ 1)
หากระยะ D-Ts มีค่ามากกว่า 1 ม แล้วละก็ จำเป็นต้องทำการเสริมเหล็กประเภทนี้ครับ
กรณีที่ (2) กรณีที่โครงสร้างคานมีสภาพการยึดรั้งทางด้านข้างที่น้อยมาก หรือ ไม่มีเลย เช่น คานลอย คานที่ต้องรับพื้นสำเร็จรูป เป็นต้น หากว่าเป็นคานในลักษณะข้างต้นนี้แล้ว ความหนาทั้งหมดของคานจะเท่ากับระยะ D (ดูรูปที่ 2)
หากระยะ D มีค่ามากกว่า 0.75 ม แล้วละก็ ก็จำเป็นต้องทำการเสริมเหล็กประเภทนี้ครับ
โดยที่ปริมาณขั้นต่ำของการเสริมเหล็กประเภทนี้จะเท่ากับ
Asf,min = 0.001bd
และ
Ssf,max = min.( D/5 , b , 300mm )
เนื่องจากเรื่องๆ นี้จะเกี่ยวข้องกับปัญหา CRACK CONTROL โดยตรง ไว้โอกาสหน้าผมจะมากล่าวถึงปัญหาในลักษณะนี้ให้เพื่อนๆ ได้ทราบกันในโอกาสถัดไปนะครับ
Today I will explain about how to apply the side face reinforcement or sometimes we call this reinforcement as web reinforcement.
Advantage in applying this reinforcement is to protect the cracking of the concrete surface from the severe environment conditions i.e. severe temperature changes, hazardous chemical that may erode the structure etc.
First, let’s see how to classify the type of beam that is necessary to be applying these reinforcements.
Case (1) The beam is fully laterally braced i.e. a beam that has to carry a cast in place slab etc. If the beam is according to this case and the total depth of the beam is equal to D and the total depth of the slab is equal to Ts (see figure 1)
If D-Ts is greater than 1 meter let’s say that the beam requires this reinforcement.
Case (2) The beam is partially laterally braced or not braced at all i.e. an isolated beam, a beam that has to carry a precast slab etc. If the beam is according to this case and the total depth of the beam is equal to D (see figure 2)
If D is greater than 0.75 meter let’s say that the beam requires this reinforcement.
The minimum amount in applying this reinforcement will be equal to:
Asf,min = 0.001bd
and:
Ssf,max = min.( D/5 , b , 300mm )
Since this topic is related directly with the topic of crack control. So I shall especially discussed about this topic with all of you in the next occasion.
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากพี่แขก และ เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก. ของ ภูมิสยาม ซัพพลาย ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586
http://www.micro-pile.com