ref: https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1300260796686709
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกท่าน
เพื่อนๆ รู้จัก TRANSFER BEAM หรือไม่ครับ ? ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักและเข้าใจถึงพฤติกรรมของกับ TRANSFER BEAM กันเพิ่มเติมละกันนะครับ
โครงสร้างจำพวก TRANSFER BEAM หรือ คานรับ นน ก็คือ คานที่มีไว้รับ นน จากเสาชั้นบนแทนที่เสาต้นล่างโดยจะถ่าย นน ลงไปยังเสาชั้นล่างถัดไป หรือ อาจลงไปยังฐานรากก็ได้ครับ เพื่อนๆ สามารถดูรูปที่ 1 ประกอบนะครับ โดยสาเหตุที่วิศวกรจำเป็นต้องออกแบบด้วย TRANSFER BEAM ก็อาจเนื่องด้วยหลายๆ สาเหตุนะครับ เช่น ในงานออกแบบพวกงานจำพวกหอประชุมสถาปนิกต้องการออกแบบให้พื้นที่โถงชั้นล่างให้มีความโล่งมากกว่าชั้นอื่นๆ ดังนั้น นน จากชั้นอื่นๆ ที่ถูกถ่ายลงมาก็จะถูกถ่ายลงไปที่ TRANSFER BEAM ที่บริเวณด้านบนโถงของชั้นนี้, ในงานออกแบบต่อเติมอาคารจำพวกตึกแถวหรือทาวน์เฮ้าส์กรณีที่ทำการต่อเติมแค่หลังเดียว หรือ ไม่ได้ทำการก่อสร้างต่อเติมไปพร้อมๆ กันทุกหลัง ซึ่งแนวของเสาต้นเดิมจะอยู่ชิดริมกำแพงบ้าน ดังนั้นเสาต้นใหม่ต้องทำการ OFFSET ระยะเข้ามาในบริเวณของบ้านส่วนต่อเติม แต่ สถาปนิกต้องการออกแบบให้ตัวบ้านต้องการพื้นที่ใช้สอยที่มากที่สุดจึงจำเป็นต้องถ่าย นน ของเสาลง TRANSFER BEAM เป็นต้น
โดยเราจะเห็นได้จากรูปที่ 2 นะครับว่าขนาดของคานประเภท TRANSFER BEAM นี้จะมีขนาดที่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับขนาดของคานประเภทอื่นๆ สาเหตุเพราะคานชนิดนี้จะต้องทำหน้าที่รับ นน จากองค์อาคารทางด้านบนที่ต้องถูกถ่ายลงมายังโครงสร้างส่วนนี้นั่นเอง โดยในการออกแบบโครงสร้างคาน TRANSFER BEAM นี้เราสามารถที่จะออกแบบให้เหมือนโครงสร้างคานอื่นๆ ได้นะครับ มีเพียงข้อพึงระวังอยู่บางประการ เช่น กรณีที่ขนาดของ TRANSFER BEAM นี้มีขนาดที่ใหญ่มากๆ และ สัดส่วนของระยะการรับ นน จากเสาด้านบนนั้นมีขนาดน้อยมากๆ ด้วยเหตุนี้ก็อาจทำให้การออกแบบ TRANSFER BEAM ของเรานั้นเข้าข้ายกรณีเป็น DEEP BEAM อีกด้วย ซึ่งคานประเภทนี้จะมีพฤติกรรมที่ผู้ออกแบบจำเป็นต้องคำนึงถึงหลายๆ เรื่องนอกเหนือจาก นน ปกติในคานทั่วๆ ไป เช่น SHEAR DEFORMATION เป็นต้น โดยหากเป็นเช่นนี้แล้วจริงๆ ก็จะเป็นการเพิ่มความยุ่งยากและซับซ้อนในขั้นตอนการออกแบบคานชนิดนี้ขึ้นไปอีก เป็นต้น
ในโอกาสถัดไปผมจะมาขอพูดถึงโครงสร้างประเภท DEEP BEAM นี้บ้างนะครับ เพื่อนๆ จะได้เข้าใจถึงพฤติกรรมของคานประเภทนี้ให้มากยิ่งขึ้นนะครับ
Have you guys ever heard of the word “Transfer Beam” ? Today let’s get familiar and understand the behavior of transfer beam together folks.
A transfer beam structure is a beam that is used to carry the loads from the above floor then transferring these loads to the bottom column or the beneath foundation. See figure 1, the reason why engineers have to design these type of beams is because many necessities i.e. when designing a conference hall the architect usually wants to design the hall to have a lot of space more than other floors, and the total above loads will be summed and transferred to the above transferred beam, In designing a townhouse building in case of building an extension part of only one unit of building or all of the unit was not constructed in one time all together, and for these type of buildings the grid line of the column are all at the wall’s line, but the architect still wants a full space of service area for the building this will make the engineers need to design the transfer beam to carry the loads from the above columns to the foundation etc.
As seen from figure 2, we can see that the size of the transfer beam is very large comparing to other normal beams due to the strength demand to carry the above transferred loads. In designing these type of beam is almost similar to other type of beams just except only some circumstances i.e. in case of the size of the transfer beam is very large, and the loading length of the above concentrated load is very small. This will make the design of this transfer beam a lot more complicated because this may also make this beam be a deep beam, and these type of beams consist of some behavior that the designers have to design more than other normal beams i.e. shear deformation in beams etc. If the beam case is according to the following this will make the design procedure of this type of beam more and more complicated etc.
For your better understanding in the next occasion I’ll discuss with you more about the details of deep beams. Stay tuned folks.
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากพี่แขก และ เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก. ของ ภูมิสยาม ซัพพลาย ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586
http://www.micro-pile.com