สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ
จริงๆ แล้วในวันนี้ผมอยากที่จะขึ้นหัวข้อใหม่แล้วแต่คิดไปคิดมาผมเลยอยากจะขอจบการอธิบายเกี่ยวกับเรื่องของ ค่าตัวคูณเพื่อหาความยาวประสิทธิผล หรือค่า K และ ค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ หรือ EULER’S CRITICAL COMPRESSION LOAD หรือ ที่พวกเรานิยมเรียกชื่อนี้ว่า Pcr ด้วยการหยิบยกนำเอากรณีของการนำเอาค่าๆ นี้ไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างจริงๆ ซึ่งโพสต์นี้ก็น่าที่จะเป็นโพสต์สุดท้ายที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องๆ นี้แล้วเพราะหลังจากนี้ผมจะได้นำเอาเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ มาอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ต่อในโอกาสต่อๆ ไปนะครับ
อย่างที่ผมได้เรียนกับเพื่อนๆ ไปก่อนหน้านี้แล้วว่า เรื่องสมการค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์นี้เป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญมากเกี่ยวกับวิชากลศาสตร์ของวัสดุหรือ MECHANICS OF MATERIALS ซึ่งสุดท้ายแล้วเราก็จะต้องนำเอาพื้นฐานของเรื่องๆ นี้ไปต่อยอดในวิชาออกแบบต่างๆ อีกมากมายเลย เช่น การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ STRUCTURAL CONCRETE DESIGN การออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL DESIGN การออกแบบโครงสร้างไม้ หรือ STRUCTURAL TIMBER DESIGN เป็นต้นนะครับ
ซึ่งจะเห็นได้จากรูปที่ 1 ที่ผมได้นำเอามาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้ก็จะเป็นขั้นตอนหนึ่งของการพิจารณาคำนวณหาค่า MAGNIFICATION FACTOR ในการออกแบบโครงสร้างเสา คสล ที่ต้องทำหน้าที่รับแรงอัด โดยจะเห็นว่าถึงแม้โครงสร้างเสา คสล ของเรานั้นจะไม่ได้ทำหน้าที่ในการรับ แรงโมเมนต์ดัด หรือ FLEXURAL FORCE ใดๆ เลยก็ตาม กล่าวคือต่อให้เป็นกรณีที่โครงสร้างเสา คสล ของเรานั้นทำหน้าที่ในการรับเฉพาะเพียงแค่รับแรงกระทำตามแนวแกนเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่หากว่าโครงสร้างเสา คสล ของเรานั้นมีความชะลูดที่มากๆ นั่นก็จะส่งผลทำให้โครงสร้างเสา คสล ของเรานั้นต้องทำหน้าที่ในการรับแรงโมเมนต์ดัดที่เพิ่มเติมขึ้นมาอันเนื่องมาจากแรงกระทำตามแนวแกนดังกล่าวซึ่งค่าๆ นี้พวกเราเหล่าวิศวกรโครงสร้างจะมีชื่อเรียกกันว่า SECOND ORDER MOMENT ซึ่งหนึ่งในขั้นตอนของการคำนวณหาค่า MAGNIFICATION FACTOR นี้ก็คือ เราจะต้องทำการคำนวณหาว่า ค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ของโครงสร้างเสา คสล ต้นนี้นั้นมีค่าเท่ากับเท่าใด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทราบได้ว่าสุดท้ายแล้วโครงสร้างเสา คสล ของเรานั้นจะต้องทำหน้าที่ในการรับโมเมนต์ดัดมากที่สุดจริงๆ เท่ากับเท่าใดภายหลังจากที่เราได้ทำการพิจารณาผลของ P-Δ เรียบร้อยแล้วน่ะครับ
หากมาดูในรูปที่ 2 บ้าง อันนี้เพื่อนๆ คงจะเคยเห็นกันไปบ้างแล้วเพราะผมเคยหยิบยกเอามาพูดถึงในโพสต์ที่สองเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ซึ่งเป็นรูปที่แสดงขั้นตอนของการออกแบบโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณ ซึ่งเพื่อนๆ ก็จะเห็นได้ว่า ค่าตัวคูณเพื่อหาความยาวประสิทธิผล นั้นจะมีผลโดยตรงต่อ ค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ ซึ่งหากเราดูรูปแผนภูมิที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าอัตราส่วนความชะลูด หรือ SLENDERNESS RATIO ที่อยู่ในแกน X กับ ค่าของแรงเค้นของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ที่อยู่ในแกน Y ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าจะมีขีดจำกัดๆ หนึ่งที่จะเป็นเส้นที่แบ่งระหว่างการที่ค่าของแรงเค้นของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กรูปพรรณนั้นจะมีค่าที่คงที่ ซึ่งในกรณีของรูปๆ นี้ก็คือที่ค่าอัตราส่วนความชะลูดเท่ากับ 89 หลังจากนั้นค่าของแรงเค้นก็จะค่อยๆ ลดลงไปๆ โดยที่จะเป็นการลดลง โดยที่ค่าความชันนั้นมีค่าที่ค่อนข้างน้อยแต่หากว่าโครงสร้างของเรานั้นยังคงมีค่าความชะลูดที่เพิ่มสูงขึ้นๆ เรื่อยๆ จนไปแตะที่ค่าๆ หนึ่ง ซึ่งในกรณีของรูปๆ นี้ก็คือที่ค่าอัตราส่วนความชะลูดเท่ากับ 126.1 โดยหากเมื่อใดที่ค่าอัตราส่วนความชะลูดนั้นมีค่าที่สูงกว่าค่าๆ นี้แล้ว ค่าของแรงเค้นของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กรูปพรรณนั้นก็จะมีค่าที่ลดลงไปเป็นอย่างมาก โดยที่จะเป็นการลดลงโดยที่ค่าความชันนั้นมีค่าที่ค่อนข้างมาก ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่ค่าอัตราส่วนความชะลูดนั้นมีค่ามากกว่า 89 ก็จะส่งผลทำให้ค่าทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเป็นแบบไม่เชิงเส้น สรุปง่ายๆ ก็คือ ยิ่งอัตราส่วนความชะลูดนั้นมีค่ามากเท่าใด ค่าของแรงเค้นของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กรูปพรรณนั้นก็จะมีค่าที่น้อยลงไปมากเท่านั้นนั่นเองครับ
ผมคาดหวังเอาไว้ว่า หากในอนาคตผมจะทำการพูดถึงเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ในโพสต์อื่นๆ อีก ผมมีความคิดว่าเพื่อนๆ น่าที่จะพอมีความคุ้นเคย มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ในระดับหนึ่งกันแล้วนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันจันทร์
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#การนำเอาค่าตัวคูณเพื่อหาความยาวประสิทธิผลและค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ไปใช้ในการทำงานออกแบบวิศวกรรมโครงสร้าง
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam (ภูมิสยาม)
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam