ที่มาของสมการที่ใช้ในการคำนวณหาปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงภายในหน้าตัดของโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็ก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันศุกร์ (แห่งชาติ) แบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้มาพูดคุยและเสวนากันถึงหัวข้อ “ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” นะครับ
สืบเนื่องมาจากเมื่อประมาณ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมามีเพื่อนของผมท่านหนึ่งได้อินบ็อกซ์สอบถามผมเข้ามาเกี่ยวกับประเด็นๆ หนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันกับ สมการที่ใช้ในการคำนวณหาปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงภายในหน้าตัดของโครงสร้างคาน คสล ว่าเพราะเหตุใดหน้าตาของสมการจึงออกมาดังรูปที่ได้แสดงประกอบอยู่ในโพสต์ๆ นี้ ?

ซึ่งผมก็ได้ตอบไปในแชทแทบจะในทันทีเลยว่า ก็ได้มากจากการแก้สมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าโมเมนต์ดัดระบุนั่นแหละเพียงแต่ว่าในตอนนั้นเหมือนว่าผมกำลังยุ่งๆ เรื่องงานอะไรสักอย่างหนึ่งอยู่ ผมจึงไม่สะดวกที่จะคุยรายละเอียดกับเพื่อนท่านนี้ได้ในทันที ผมเลยได้รับปากกับเพื่อนท่านนี้เอาไว้ว่า ผมจะนำเอาสมการเหล่านี้มาอธิบายในโพสต์ของวันศุกร์ให้ก็แล้วกันน่ะครับ

โดยที่ผมเริ่มต้นจากสมการแรกกันก่อนเลยนั่นก็คือ สมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าขนาดความลึกของกล่องแรงเค้นอัดของวิทนีย์ หรือ WHITNEY COMPRESSION BOX หรือค่า a ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ
a = As×fy/(0.85×fc’×b) Eq.(1)

สมการต่อมาก็คือ สมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าโมเมนต์ดัดระบุ หรือค่า ØMn ซึ่งในทางกลับกัน พอเราเปลี่ยนให้ค่าๆ นี้เป็นผลที่เราสามารถที่จะทราบได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างของเราแล้ว ค่าๆ นี้ก็จะกลายเป็น ค่าโมเมนต์ดัดประลัยทีได้รับการคูณด้วยตัวคูณเพิ่มค่าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หรือค่า Mu ทั้งนี้เราจะทำการคำนวณค่าๆ นี้ออกมาได้โดยการแทนค่า a ที่คำนวณเอาไว้ก่อนหน้านี้ลงไป ซึ่งก็จะได้ออกมามีค่าเท่ากับ
Mu = Ø×As×fy×(d‒a/2) Eq.(2)

อีกนิดนึงก็แล้วกันนะ ผมพบว่า หากเราจะทำการคำนวณให้สมการๆ นี้ติดอยู่ในรูปของค่าหน่วยแรงอัดสูงสุดของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน ของตัวอย่างรูปทรงกระบอกมาตรฐาน หรือค่า fc’ และค่าหน่วยแรงดึงที่จุดครากของเหล็กเสริม หรือค่า fy จะทำให้หน้าตาของสมการๆ นี้ดูแล้วมีแลดูมีความยุ่งยากมากๆ เลย ผมจึงขอทำการเพิ่มเติมเข้าไปอีกหนึ่งพารามิเตอร์ นั่นก็คือ พารามิเตอร์ซึ่งจะแสดงสัดส่วนระหว่างค่าหน่วยแรงของวัสดุ หรอค่า m ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับค่าหน่วยแรงดึงที่จุดครากของเหล็กเสริมหารด้วยค่าหน่วยแรงอัดสูงสุดของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน ของตัวอย่างรูปทรงกระบอกมาตรฐาน ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ
m = fy/(0.85×fc’) Eq.(3)

ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ ผมจะทำการแทนค่าที่คำนวณได้จากใน Eq.(3) ลงไปใน Eq.(1) และจะนำเอา Eq.(1) นั้นแทนลงไปใน Eq.(2) ซึ่งก็จะทำการแก้สมการที่อยู่ในรูปแบบ QUADRATIC EQUATION เพื่อที่จะหาว่า ปริมาณของค่า As ที่หน้าตัดรับแรงดัดของเรานั้นต้องการ จะมีค่าเท่ากับเท่าใดกันแน่ ซึ่งก็จะสามารถทำการคำนวณออกมาได้จากสมการๆ นี้นั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันศุกร์
#ฝากคำถามแล้วเราจะมาตอบให้
#ที่มาของสมการที่ใช้ในการคำนวณหาปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงภายในหน้าตัดของโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็ก
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam