การวิเคราะห์โครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

เนื่องจากเมื่อวันจันทร์ที่แล้วผมได้ทำการจบหัวข้อในเรื่องของการพูดถึงในเรื่อง ADVANCED METHOD FOR STRUCTURAL ANALYSIS ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วและในโพสต์ของวันอังคารผมก็ยังไม่ได้ทำการขึ้นหัวข้อใหม่แต่อย่างใด ดังนั้นในวันนี้ผมจึงอยากจะขออนุญาตพื้นที่ในโพสต์ๆ นี้เพื่อที่จะเป็นการเล่าและก็ทำการสรุปในเรื่องของ STRUCTURAL ANALYSIS METHOD นี้สั้นๆ กันสักโพสต์หนึ่งก็แล้วกัน ยังไงผมขอให้เพื่อนๆ ดูรูปประกอบในโพสต์ๆ นี้ไปพร้อมๆ กับการอ่านบทความนี้ของผมก็แล้วกันนะครับ

 

ถ้าเพื่อนๆ ยังจำกันได้ หัวข้อแรกที่ผมได้ทำการพูดถึงและโพสต์ไปในหัวข้อหลักของ STRUCTURAL ANALYSIS METHOD โดยผมก็ได้อธิบายไปว่า หากว่ากรณีของโครงสร้างของเรานั้นเป็นโครงสร้างที่ไม่ได้มีขนาดที่ใหญ่โตหรือซับซ้อนอะไร ผมก็ได้ให้คำแนะนำไปว่า ให้ทำการอาศัยวิธีการวิเคราะห์โครงสร้างที่เป็น FORCE METHOD และก็ได้ทำการอธิบายต่อไปว่าสำหรับกรณีเช่นนี้ให้เราเลือกใช้วิธีการที่จัดอยู่ใน CLASSICAL METHOD จะสามารถทำการวิเคราะห์โครงสร้างได้ง่ายและมีความยุ่งยากในการหาค่าของคำตอบที่น้อยกว่ามากนะครับ

 

ซึ่งวิธีการดังกล่าวก็คือวิธีการ LEAST WORK ที่ได้รับการพัฒนาและต่อยอดมาจากวิธีการ CASTIGLIANO’S 2ND THEOREM ซึ่งก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ได้รับการแยกย่อยมาจากวิธีการ ENERGY METHOD และผมก็ได้ทำการอธิบายและยกตัวอย่างถึงการนำเอาวิธีการดังกล่าวไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างประเภท โครงสร้างโครงข้อหมุน โครงสร้างคานรับแรงดัด และ โครงสร้างโครงข้อแข็ง ที่มีลักษณะเป็น STATICALLY INDETERMINATE STRUCTURE ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเพื่อนๆ ก็จะเห็นได้นะครับว่าหากเรานำเอาวิธีการนี้ไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างที่ไม่ได้มีขนาดที่ใหญ่โตหรือซับซ้อนอะไร ก็จะสามารถทำการวิเคราะห์โครงสร้างได้อย่างง่ายดายและก็มีความยุ่งยากในการหาค่าของคำตอบที่ค่อนข้างน้อยมากๆ เลยนะครับ

 

ต่อมาหัวข้อที่สองที่ผมได้ทำการพูดถึงและโพสต์ไปในหัวข้อหลักของ STRUCTURAL ANALYSIS METHOD โดยผมก็ได้อธิบายไปว่า หากว่ากรณีของโครงสร้างของเรานั้นเป็นโครงสร้างที่มีขนาดที่ใหญ่โตหรือค่อนข้างมีความซับซ้อนมาก ผมก็ได้ให้คำแนะนำไปว่า ให้ทำการอาศัยวิธีการวิเคราะห์โครงสร้างที่เป็น DISPLACEMENT METHOD แทนและก็ได้ทำการอธิบายต่อไปว่าสำหรับกรณีเช่นนี้ให้เราเลือกใช้วิธีการที่จัดอยู่ใน ADVANCED METHOD จะสามารถทำการวิเคราะห์โครงสร้างได้อย่างมีระบบระเบียบที่ดีในการหาค่าของคำตอบที่เราสนใจนะครับ

 

ซึ่งวิธีการดังกล่าวก็คือวิธีการ DIRECT STIFFNESS METHOD ที่ได้รับการพัฒนาและต่อยอดมาจากวิธีการ STIFFNESS METHOD ซึ่งก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ได้รับการแยกย่อยมาจากวิธีการ MATRIX METHOD และผมก็ได้ทำการอธิบายและยกตัวอย่างถึงการนำเอาวิธีการดังกล่าวไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างประเภท โครงสร้างโครงข้อหมุน โครงสร้างคานรับแรงดัด และ โครงสร้างโครงข้อแข็ง ที่มีลักษณะเป็น STATICALLY INDETERMINATE STRUCTURE ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเพื่อนๆ ก็จะเห็นได้นะครับว่าหากเรานำเอาวิธีการนี้ไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างที่มีขนาดที่ค่อนข้างจะใหญ่โตและ/หรือมีความซับซ้อนมากๆ ก็จะสามารถช่วยทำการวิเคราะห์โครงสร้างให้ออกมาได้โดยที่ไม่ได้ยากเย็นอะไรนัก อีกทั้งยังมีวิธีการที่ค่อนข้างเป็นระบบและระเบียบในการทำการคำนวณที่ค่อนข้างจะมาก ซึ่งในที่สุดก็จะช่วยทำให้การวิเคราะห์โครงสร้างของเพื่อนๆ นั้นสามารถที่จะทำได้โดยง่ายมากๆ เลยนะครับ

 

เอาเป็นว่าต่อไป ไม่ว่าเพื่อนๆ จะต้องเจอเข้ากับกรณีของโครงสร้างของเรานั้นเป็นโครงสร้างที่จะมีขนาดที่เล็กหรือใหญ่และจะมีระดับของความซับซ้อนที่มากหรือน้อยแค่ไหน ผมก็หวังว่าเพื่อนๆ จะสามารถนำเอาความรู้ต่างๆ ที่ผมได้นำเอามาฝากเพื่อนๆ ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาไปใช้ในการวิเคราะห์หาค่าของคำตอบที่เพื่อนๆ มีความสนใจได้ในที่สุดนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์ของวันอังคาร

#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง

#สรุปความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงสร้าง

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com