ความรู้ทางด้านงานออกแบบ ที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง ที่อยู่เหนือพื้นดินขึ้นไป

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่เหนือพื้นดินขึ้นไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

 

โดยที่หัวข้อในวันนี้คือ พวกเราจะมีวิธีการอย่างไร หากว่าต้องทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการทำงานซึ่งต้องคอยทำหน้าที่ตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนการทำงานเทคอนกรีตสำหรับงานจำพวกโครงสร้าง คสล นั่นเองนะครับ

โดยวิธีการที่ผมจะนำมาสรุปให้ฟังนี้ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนพื้นฐานสำหรับการตรวจโครงสร้าง คสล ก่อนการเทคอนกรีตพอสังเขป โดยเพื่อนๆ สามารถที่จะใช้การตรวจสอบและการสังเกตได้ด้วยตาเปล่าเลยนะครับ โดยที่ผมทำการสรุปออกมาทั้งหมด 6 ข้อด้วยกัน โดยเริ่มต้นจาก

 

  1. ขั้นตอนประสานงานไปทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

เมื่อจะทำการเทคอนกรีตสักครั้งหนึ่งเราจะพบว่ามีหลายๆ ฝ่ายที่อาจมีความเกี่ยวข้องจำเป็นที่จะต้องทราบถึงกำหนดการนี้ เช่น เจ้าของงาน หรือ ผู้ออกแบบ เพราะ บางครั้งเจ้าของงานหรือผู้ออกแบบหลายๆ คนก็มักที่จะเลือกช่วงเวลาในการทำงานนี้เข้ามาทำการสุมตรวจสอบการทำงานของทางผู้รับเหมา หรือ ผู้ผลติคอนกรีตสำเร็จรูป เพื่อที่จะเป็นการตรวจสอบและสอบถามให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูปที่จะนำมาส่งนั้นมีคุณสมบัติเป็นไปตามที่ผู้ออกแบบได้กำหนดเอาไว้หรือไม่ และ ในบางครั้งหากผู้ออกแบบทำการกำหนดเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น ค่าการยุบตัว ค่ากำลังอัดในช่วงแรก เป็นต้น เราจะได้สามารถแจ้งให้ทางผู้ผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปนั้นทำการส่งทีมงาน QC หรือ ทีมงานที่จะคอยทำหน้าที่ในการตรวจสอบและเก็บ ตย คอนกรีตและนำไปทดสอบ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการแน่ใจได้จริงๆ ว่าคุณภาพของสินค้าที่สั่งไปนั้นมีลักษณะพิเศษตามที่ได้แจ้งไปตั้งแต่ทีแรกหรือไม่ เป็นต้นนะครับ

 

  1. ขั้นตอนตรวจสอบข้อมูลพื้นฐาน

ซึ่งข้อมูลพื้นฐานนี้ก็อาจจะได้แก่ เรื่องคอนกรีตสำเร็จรูป เช่น คุณลักษณะพิเศษ ปริมาณ จำนวนของรถขนส่ง ค่าการยุบตัว ค่ากำลังอัดในตอนต้นของคอนกรีตที่จะสั่งมาใช้ในการเทคอนกรีต เป็นต้น เรื่องเหล็กเสริม เช่น มาตรฐาน เกรด และ กำลัง ของเหล็กเสริมที่ใช้ในการทำงานว่าเป็นชนิดใด มีโครงสร้างใดบ้างที่จะทำการเทในวันนั้นๆ จะได้ทำการตรวจสอบได้ถูกต้องและครบถ้วนก่อนการเทคอนกรีต เป็นต้น เรื่องอื่นๆ เช่น ในโครงสร้างมีการใช้วัสดุกั้นการเทคอนกรีต หรือ WATER STOP หรือไม่ หากมีๆ ที่ตำแหน่งใดบ้าง เป็นต้นนะครับ

 

  1. ขั้นตอนตรวจสอบก่อนเทคอนกรีต

ก่อนขั้นตอนของการเทคอนกรีตแต่ละครั้ง เราสามารถที่จะแบ่งรายการๆ ตรวจสอบงานต่างๆ ก่อนการเทคอนกรีตออกได้เป็นอีก 3 หัวข้อหลักๆ ได้แก่

 

3.1 แบบหล่อคอนกรีต

ผู้รับเหมาจะทำการจัดเตรียมแบบหล่อคอนกรีตเอาไว้เพื่อทำการเทคอนกรีตแล้วซึ่งแน่นอนว่าต้องมีปริมาณที่เพียงพอสำหรับการเทคอนกรีตในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นแบบหล่อที่ทำจาก ไม้ หรือ เหล็ก ก็สามารถที่จะใช้งานได้ นอกเสียจากว่าผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดมาตั้งแต่ทีแรกว่าให้ใช้อันใดอันหนึ่งเป็นพิเศษเนื่องจากมีการคิดและวิเคราะห์ถึงเรื่องเหตุและผลต่างๆ มาก่อนหน้านี้ เพราะเมื่อจะทำการเทคอนกรีตก็ควรที่จะเทไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะช่วยทำให้คอนกรีตนั้นเป็นเนื้อเดียวกันมากที่สุดซึ่งแน่นอนว่าจะดีกว่าการแบ่งเทหลายๆ ครั้ง อย่างไรก็ดีหากจำเป็นที่จะต้องทำการแบ่งการเทคอนกรีตก็ยังสามารถทำได้อยู่ แต่ ต้องมีการหยุดการเทอย่างถูกต้องตามหลักการทางด้านวิศวกรรม เช่น สำหรับส่วนคานต้องหยุดการเทที่ระยะกึ่งกลางคาน หรือ ตำแหน่งที่ค่าแรงเฉือนนั้นมีค่าน้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์ ห้ามหยุดการเทที่ระยะน้อยกว่านั้น เพราะ มีโอกาสสูงมากๆ ที่บริเวณอื่นๆ อาจจะมีแรงเฉือนเกิดขึ้นในหน้าตัดคานได้ซึ่งจะทำให้เหล็กที่นำมาเสริมเพื่อรองรับแรงเฉือนในคานจะต้องรับแรงที่เกิดขึ้นจากบริเวณรอยต่อเหล่านี้ด้วยซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้างคาน ส่วนโครงสร้างพื้นเราสามารถที่จะเทโครงสร้างคานให้เหลือเหล็กสำหรับผูกเข้ากันกับเหล็กของพื้นคอนกรีตทีหลังได้ แต่ ถ้าจะให้เป็นการดีที่สุดก็ให้เทไปพร้อมๆ กันได้ก็จะทำให้คอนกรีตนั้นมีความเป็นเนื้อเดียวกันมากที่สุดอย่างที่ผมได้อธิบายไปในตอนต้น และ ในท้ายที่สุดคือต้องตรวจดูความเรียบร้อยในการติดตั้งแบบหล่อคอนกรีต ตัวค้ำยัน ว่ามีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ มีการวัดระดับ ถ่ายระดับ และ การทำเครื่องหมายบ่งบอกถึงระดับอย่างชัดเจน มีการหนุนลูกที่จะทำหน้าที่รองระหว่างเหล็กเสริมกับพื้นของแบบหล่อนะครับ

 

3.2 เครื่องมือต่างๆ ที่จะใช้ในการเทคอนกรีต

ทั้งนี้เราจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบความพร้อมของทางผู้รับเหมาด้วยว่ามีทั้งคนงาน เครื่องจักร และเครื่องไม้เครื่องมือที่จะใช้ในการเทคอนกรีตที่ดีและมีอยู่ในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้งานด้วย เช่น รถเครน เครื่องปั๊มคอนกรีต เครื่องจี้ หรือ เครื่องสั่น เป็นต้นนะครับ

 

3.3 เหล็กเสริมสำหรับงาน คสล

สุดท้ายคือต้องทำการตรวจสอบดูว่าจากแบบก่อสร้างว่าเหล็กเสริมที่ตำแหน่งต่างๆ ว่าได้มาตรฐาน มีปริมาณและตำแหน่งในการติดตั้ง มีการต่อเหล็ก การงอปลาย มีการให้ระยะทาบต่างๆ ที่ถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิศวกรรมที่ถูกต้องมากหรือน้อยเพียงใดนะครับ

 

  1. ขั้นตอนตรวจสอบคอนกรีต

เมื่อวันที่ทำการเทคอนกรีตและรถขนส่งคอนกรีตสำเร็จรูปเดินทางมาถึงที่หน้างานเราควรที่จะขอดูใบนำส่งคอนกรีตจากรถขนส่งเลยว่าในเบื้องต้นคุณสมบัติของคอนกรีตนั้นเป็นไปตามที่ได้สั่งมาจริงๆ หรือไม่ เช่น งานโครงสร้างอาคารทั่วๆ ไปก็อาจจะใช้คอนกรีตสำหรับงานก่อสร้างทั่วๆ ไป งานก่อสร้างสระว่ายน้ำ ก็อาจจะใช้คอนกรีตที่ผสมสารกันซึม เป็นต้น จากนั้นเราก็อาจจะกำหนดให้ทีมตรวจสอบคุณภาพ หรือ QC นั้นเข้าทำการทดสอบค่าการยุบตัว หรือ เก็บ ตย คอนกรีตเพื่อนำไปทดสอบหาค่ากำลังอัดเพื่อเทียบเคียงกับที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบเอาไว้ด้วยครับ

 

  1. ขั้นตอนการตรวจสอบระหว่างเทคอนกรีต

ต้องตรวจสอบดูให้แน่ใจว่าในขั้นตอนของการเทคอนกรีตนั้นมีความสอดคล้องกันกับที่ได้กล่าวถึงมาก่อนหน้านี้มากหรือน้อยเพียงใด มีความเรียบร้อยในการเทมากหรือน้อยเพียงใด เช่น มีการจี้หรือการสั่นคอนกรีตด้วยเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมหรือไม่ มีการแบ่ง หรือ หยุดเทคอนกรีต เป็นไปตามหลักการทางด้านวิศวกรรมหรือไม่ เป็นต้นนะครับ

 

  1. ขั้นตอนการตรวจสอบภายหลังการเทคอนกรีต

เมื่อทำการเทคอนกรีตแล้วเสร็จ จะต้องมีการทำให้แน่ใจว่าคอกนกรีตนั้นเกิดการเซ็ตตัวภายใต้ระยะเวลาที่เหมาะสม หากไม่ได้มีการกำหนดเอาไว้เป็นอย่างอื่นก็จำเป็นต้องทำการบ่มคอนกรีตเอาไว้อย่างน้อย 7 วัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของคอนกรีตที่ใช้และโครงสร้าง คสล ของเรา จากนั้นก็ต้องทำการตรวจสอบดูด้วยว่าโครงสร้างค้ำยันแบบหล่อคอนกรีตของเราด้วยว่ามีความแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ เพราะ ถ้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดที่ดูผิวเผินแล้วอาจจะรับน้ำหนักได้ แต่ กลับทำให้โครงสร้างนั้นเกิดการเสียรูปที่มากจนเกินไป เราก็จำเป็นที่จะต้องรีบแจ้งให้ทางผู้รับเหมารับทราบและรีบดำเนินการแก้ไขในทันที หลังจากที่ทำการถอดหรือแกะแบบข้างออก เราควรต้องตรวจสอบดูว่าภายในชิ้นส่วน คสล ใดๆ มีโพรงเกิดขึ้นหรือไม่ ส่วนแบบท้องของโครงสร้างเราอาจจำเป็นต้องรอให้คอนกรีตนั้นได้อายุตามที่กำหนดก่อนแล้วค่อยทำการถอดแบบออก หลังจากนั้นก็ดูโดยรวมว่าคอนกรีตนั้นมีสภาพภายนอกเป็นอย่างไร เช่น มีผิวที่เรียบหรือไม่ ไม่มีเหล็กเส้นโผล่ออกมาที่ผิวของโครงสร้าง หรือ เสา และ คาน มีส่วนหนึ่งส่วนใดที่โก่งและงอมากจนสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือไม่ ถ้าทุกอย่างที่ได้ยก ตย ไปออกมามีสภาพเรียบร้อย ก็ให้ทางผู้รับเหมานั้นดำเนินการก่อสร้างในส่วนของชั้นอื่นๆ ต่อไปได้นะครับ

 

เอาเป็นว่าในสัปดาห์หน้า ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายต่อถึงเรื่องที่ถือได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อในวันนี้เพิ่มเติมอีกสักหน่อยนั่นก็คือเรื่อง แบบหล่อของคอนกรีต หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความในเรื่องๆ นี้ของผมได้ในโอกาสหน้านะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com