รอยต่อที่ทำหน้าที่ตัดแยกโครงสร้างพื้น กับโครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งมีการวางตัวอยู่บนโครงสร้างฐานรากแบบมีเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

 

ผมเคยมีโอกาสได้ทำการโพสต์ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการก่อสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบชนิดวางบนไปหลายครั้งแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งในการโพสต์ครั้งก่อนๆ นี้ผมได้ทำการพูดถึงจุดต่อหรือ JOINT แบบต่างๆ เช่น รอยต่อที่ทำหน้าที่ป้องกันการหดตัวของโครงสร้างพื้นวางบนดิน หรือ CONTRACTION JOINT รอยต่อที่ทำหน้าที่ป้องกันการขยายตัวของโครงสร้างพื้นวางบนดิน หรือ EXPANSION JOINT รอยต่อที่ทำหน้าที่ตัดแยกโครงสร้างพื้นวางบนดิน หรือ ISOLATION JOINT เป็นต้นนะครับ แต่ผมยังไม่เคยได้นำเอารอยต่อๆ หนึ่งมาพูดถึง พอนึกขึ้นได้ก็เลยคิดว่า วันนี้จะมาพูดถึงสักหน่อยก็แล้วกัน ซึ่งจริงๆ แล้วเจ้ารอยต่อนี้ถือได้ว่าเป็น รอยต่อที่ทำหน้าที่ตัดแยกโครงสร้างพื้นประเภทหนึ่งเพียงแต่ว่าไม่ได้ทำหน้าที่ตัดแยกโครงสร้างพื้นกับโครงสร้างพื้นแต่จะทำหน้าที่ในการตัดแยกโครงสร้างพื้นวางบนดินกับโครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งมีการวางตัวอยู่บนโครงสร้างฐานรากแบบมีเสาเข็มแทนนั่นเองครับ

โดยที่เราจะสามารถพบรอยต่อประเภทนี้ได้อยู่บ่อยๆ ในกรณีที่มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นวางบนดินที่ตั้งอยู่รอบๆ โครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งมีการวางตัวอยู่บนโครงสร้างฐานรากแบบมีเสาเข็ม เช่น โครงสร้างพื้นวางบนดินที่ถูกก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นโรงจอดรถที่อยู่บริเวณใต้ถุนบ้านหรืออาคาร เป็นต้นนะครับ

 

วิธีการทำโดยสังเขปก็คือ เราจะเริ่มต้นทำการแยกโครงสร้างพื้นวางบนดินให้ออกจากโครงสร้างเสาโดยการทำช่องเปิดให้เป็น รูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด หรือ รูปทรงวงกลม ล้อมรอบโครงสร้างเสาต้นนั้นๆ โดยที่เราจะต้องทำการวัดระยะของโครงสร้างเสาต้นนั้นเสียก่อนว่า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวโครงสร้างเสาทั้งในทิศทางตามแกน x หรือ Dx และ y หรือ Dy นั้นจะมีค่าเท่ากับเท่าใด หลังจากนั้นเราก็จะทำการคำนวณและใช้ค่าสูงสุดของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของโครงสร้างเสา หรือ D ออกมาและก็ทำการเปิดระยะจากศูนย์กลางของโครงสร้างเสาออกไปในแต่ด้านให้มีค่าเท่ากับ 3 เท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของโครงสร้างเสาในแต่ละแกนนะครับ

 

หลังจากนั้นเราก็จะทำการเทคอนกรีตบริเวณโครงสร้างพื้นวางบนดินที่อยู่บริเวณรอบนอกเสียก่อน พอคอนกรีตส่วนนี้แข็งตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วเราก็ค่อยทำการเทคอนกรีตบริเวณภายในช่องเปิดรูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดหรือวงกลมนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดการยึดรั้งระหว่างกันและกันของโครงสร้างพื้นที่อยู่ภายในและพื้นที่อยู่ภายนอกรอยต่อๆ นี้ ในที่สุดเราก็จะทำการ GROUT รอยต่อๆ นี้ด้วยวัสดุประเภท JOINT SEALANT เช่น วัสดุยางมะตอย วัสดุอีพ็อกซี่ วัสดุอะครีลิคเรซิ่น เป็นต้นนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอังคาร
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ความรู้เกี่ยวกับรอยต่อที่ทำหน้าที่ตัดแยกโครงสร้างพื้นกับโครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งมีการวางตัวอยู่บนโครงสร้างฐานรากแบบมีเสาเข็ม

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com