สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
โดยที่ในวันนี้ผมจะขออนุญาตโพสต์ประสบการณ์ตรง ซึ่งผมได้พบจากการทำงานจริงๆ เหตุการณ์หนึ่ง นั่นก็คือ การที่ผมได้มีโอกาสไปพบเจอเหตุโครงสร้างเสา คสล นั้นเกิดการวิบัติเนื่องจากเหล็กเสริมหลักในเสานั้นเป็นสนิม นะครับ
จริงๆ แล้วหากจะถามว่าผมมีโอกาสได้พบเจอกับเหตุการณ์ในทำนองนี้มาแล้วหลายครั้งแล้วหรือไม่ ก็ต้องตอบเลยนะครับว่า บ่อยมากๆ นะครับ แต่ ภาพที่ผมจะนำมาฝากต่อไปนี้ถือได้ว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์ล่าสุดที่เพิ่งไปพบเจอมานะครับ
ในรูปเหล่านี้เป็นภาพของการที่เสา คสล นั้นเกิดการระเบิดออก เพราะ เหล็กเสริมหลักในเสานั้นเป็นสนิม ซึ่งหากจะตั้งคำถามกับผมว่า เพราะ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ก็คงจะต้องนั่งจับเข่าคุยและอธิบายกันยาวๆ เลยละครับ แต่ เอาเป็นว่า เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ของการโพสต์ ผมจะขอรวบรัดเหตุและผลเลยก็แล้วกันนะว่า สาเหตุที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นก็เพราะปัญหาที่สุดแสนจะมีความคลาสสิค นั่นก็คือปัญหาเรื่อง “ความชื้น” นั่นเองนะครับ
โดยกลไกของการที่เหล็กเสริมข้างในเสานั้นจะเกิดเป็นสนิมได้ก็ต่อเมื่อ เหล็กเส้น นั้นพบเจอกับสิ่ง 2 สิ่ง สลับกันไปมาภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง นั่นก็คือ อากาศ และ น้ำ นะครับ
อีกสาเหตุหนึ่งที่เราพบเจอได้บ่อยๆ ก็คือ การที่โครงสร้างคอนกรีตนั้นตกอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ถือได้ว่ามีความรุนแรง เช่น โครงสร้างของเราสามารถที่จะสัมผัสได้โดยตรงกับน้ำทะเล หรือ โครงสร้างนั้นถูกสารเคมีจำพวกคลอไรด์ ซัลเฟตนั้นทำปฏิกิริยาอยู่ในที่เปียกชื้นเกือบจะตลอดเวลาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องและยาวนาน เป็นต้น เหตุผลที่ผมได้ยกมาข้างต้นก็อาจทำให้คอนกรีตนั้นถูกทำลายได้ และ ในที่สุดก็จะทำให้เหล็กเสริมที่อยู่ภายในนั้นเกิดเป็นสนิมได้ ซึ่งในที่สุดก็จะเป็นอันตรายต่อโครงสร้าง คสล ของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นะครับ
หากว่าจะถามถึงวิธีในการแก้ไขปัญหานี้ ก็คงต้องนั่งคุยกันยาวอีกเช่นกัน แต่ เอาเป็นว่าผมจะขออนุญาตสรุปโดยรวมให้เพื่อนๆ ทราบกันดังนี้ก็แล้วกันนะครับ
- ทำการประเมินสภาพความรุนแรงของปัญหาเสียก่อนว่าเกิดขึ้นในลักษณะใด โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น
1.1 ปัญหาเพิ่งจะเริ่มเกิด
1.2 ปัญหาเกิดขึ้นไประยะหนึ่งแล้วแต่ยังไม่ถึงขั้นรุนแรง
1.3 ปัญหาเกิดขึ้นขั้นรุนแรง
- ทำการค้ำยันทั้งในแนวดิ่งและทางด้านข้างให้แก่โครง คสล ของเราให้มีความแข็งแรงและเสถียรภาพที่ดีเพียงพอในขณะที่จะเริ่มต้นทำการซ่อมแซมโครงสร้าง
- สกัดคอนกรีตที่เกิดการแตกร้าวออกให้หมด แล้ว ทำการสกัดเปิดคอนกรีตที่ไม่ได้เกิดการแตกร้าวให้ขยายวงกว้างขึ้นไปอีกจนแน่ใจว่าเราจะไม่พบว่าเหล็กเสริมนั้นเป็นสนิมอีกอย่างแน่นอน
- ถ้าเหล็กเสริมในเสา คสล ของเรานั้นเป็นสนิมไม่มาก ก็ให้ทำการขัดออกด้วยวิธีทางกล เช่น ใช้เครื่องมือเจียรทำหน้าที่ขัดเจียรสนิมออกให้หมด ถ้าหากพบว่าเหล็กเสริมนั้นเป็นสนิมขุม หรือ เป็นสนิมมาก ก็อาจจะทำการตัดเหล็กเส้นที่ขึ้นสนิมนั้นๆ ออกไปเลย และ ให้ใช้เหล็กเส้นขนาดมาตรฐานทำการต่อทาบด้วยวิธีทางกลใดๆ ก็ได้ที่เป็นไปได้ เป็นต้น สำหรับเหล็กเส้นที่อยู่ในสภาพที่ถือว่าดีอยู่ ก็ให้ทำการทาด้วยสารยับยั้งการเกิดสนิม (CORROSION INHIBITOR) ก็เป็นการเพียงพอแล้วนะครับ
- ทำการเข้าแบบเทด้วยคอนกรีตกำลังสูง (HIGH STRENGTH CONCRETE) หรือ วัสดุซีเมนต์ผสมพิเศษซึ่งจะให้ค่าการรับกำลังอัดที่สูง และ มีการไหลตัวที่ดี และ ไม่มีการหดตัว (NON-SHRINK MORTAR) ลงในเสาที่ได้ทำการเข้าแบบเอาไว้นะครับ
- ทำการบ่มคอนกรีตจนแน่ใจได้ว่าโครงสร้างของเรานั้นมีค่าการรับกำลังถึงเป้าหมายที่ได้ทำการออกแบบเอาไว้ จากนั้นจึงทำการถอดและแกะแบบออก
- สำหรับกรณีที่เราต้องการที่จะทำการป้องกันสารเคมีจำพวกคลอไรด์ ก็ให้เราทำการตกแต่งผิวโดยการฉาบผิวลงไปบนโครงสร้าง คสล โดยตรงก็สามารถที่จะทำได้เช่นกันนะครับ
สุดท้ายนี้ผมอยากจะขอทิ้งท้ายเล็กๆ ไว้สักเล็กน้อยว่า บางครั้งปัญหารอยร้าวในโครงสร้าง คสล ที่เราพบเห็นมักจะเป็นรอยร้าวขนาดใหญ่ หรือ รอยร้าวที่เกิดการพัฒนาตัวเองไปแล้ว (PROGRESSIVE CRACK) ซึ่งสำหรับโครงสร้าง คสล ที่มีรอยแยกเพียงเล็กๆ (HAIR CRACK) เล็กจนแทบที่จะไม่สามารถสังเกตหรือมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ เราก็จำเป็นที่จะต้องทำการเก็บร่องรอยของรอยร้าวประเภทนี้ให้หมดเช่นกันนะครับ โดยอาจจะใช้การยิงอัดด้วยระบบอีพ็อกซี่ (EPOXY INJECTION) นั่นเองนะครับ
เอาเป็นว่าผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึงและขยายความเรื่อง ประเภทของความเสียหายอันเนื่องมาจากการที่เหล็กเสริมภายในโครงสร้าง คสล ของเรานั้นเกิดสนิมขึ้นให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันอีกสักครั้งหนึ่งก็แล้วกันนะครับ หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความเรื่องนี้ของผมได้ในโอกาสต่อๆ ไปนะครับ
#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
#ปัญหาการที่โครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นเกิดการวิบัติเนื่องจากเหล็กเสริมหลักในเสานั้นเป็นสนิม
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com