สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
อย่างที่ผมได้แจ้งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าหลังจากที่ผมได้แชร์ความรู้ในเรื่องหลักการหลักๆ ของเรื่อง แผ่นพื้นวางบนคานแบบทางเดียวหรือ ONE WAY SLAB ON BEAM และ แผ่นพื้นวางบนคานแบบสองทางหรือ TWO WAY SLAB ON BEAM ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งต่อไปผมก็จะนำเอาเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องของแผ่นพื้นนี้มาเล่าสู่กันให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบกัน ดังนั้นในวันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกันถึงสิ่งของ 2 สิ่ง ที่มีขนาดเล็กๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นสิ่งของที่มีความสำคัญมากๆ ในการทำงานก่อสร้างแผ่นพื้นทางแบบทางเดียวและแบบสองทางนั่นก็คือ เหล็กตีนกา และ ลูกปูน นั่นเองแต่ก่อนอื่นๆ ผมขอให้เพื่อนๆ ได้ดูรูปในโพสต์ๆ นี้ประกอบคำอธิบายได้นะครับ
จากรูปที่ 1 จะเป็นรูปภายในของแผ่นพื้นที่จะประกอบไปด้วยเหล็กตะแกรงจำนวน 2 ชั้น ที่ถูกวางตัวอยู่ในแผ่นพื้น จากที่ผมเคยได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ เช่น เรื่องระยะความลึกประสิทธิผล หรือ เรื่องระยะการหุ้มคอนกรีต เป็นต้น เพื่อนๆ เคยสงสัยกันหรือไม่ครับว่า ในการทำงานจริงๆ เค้าจะมีวิธีการอย่างไรในการที่จะควบคุมให้ค่าต่างๆ เหล่านี้เป็นไปตามที่วิศวกรผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ตั้งแต่ตอนที่ทำการออกแบบแผ่นพื้น ?
ถูกต้องแล้วครับ ที่หน้างานเวลาที่ทำการก่อสร้างแผ่นพื้น เค้าก็จะอาศัยความช่วยเหลือของเจ้าอุปกรณ์ทั้ง 2 อย่างนี้ คือ เหล็กตีนกา และ ลูกปูน นี่แหละครับ
จากรูป ตย รูปที่ 2 ก็คือเจ้า เหล็กตีนกา หรือ อาจจะเรียกในภาษาอังกฤษได้หลายคำ เช่น LEVEL ADJUSTER หรือ STEEL LEVELLER ก็ได้ เป็นต้น ก็จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่จะคอยปรับระยะห่างระหว่างเหล็กตะแกรงชั้นบนและชั้นล่าง โดยที่เจ้าเหล็กตะแกรงนี้ก็อาจที่จะทำขึ้นได้ทั้งจากเหล็กเส้นกลมหรือเหล็กข้ออ้อยที่ถูกนำมาดัดเพื่อใช้งานก็ได้ โดยหลังจากที่วางให้ได้อยู่ในตำแหน่งและระยะที่เหมาะสมแล้วก็จะมีการผูกด้วยลวดมัดเหล็กเข้ากันกับตัวเหล็กเสริมทั้งชั้นล่างและชั้นบนเพื่อให้เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่เกิดการเคลื่อนที่หรือผิดตำแหน่งไปในขณะที่ทำงานการเทคอนกรีตครับ
จากรูป ตย รูปที่ 3 ก็คือเจ้า ก้อนลูกปูน หรือ อาจจะเรียกในภาษาอังกฤษได้หลายคำ เช่น MORTAR SPACER หรือ BASE SPACER ก็ได้ เป็นต้น ก็จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่จะคอยปรับระยะห่างระหว่างเหล็กตะแกรงชั้นล่างและท้องของแผ่นพื้นให้มีระยะของการหุ้มของคอนกรีตนั้นเป็นไปตามมาตรฐานตรงตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ โดยที่เจ้าลูกปูนนี้ก็จะทำขึ้นจากวัสดุปูนมอร์ตาร์โดยบางครั้งก็อาจจะเห็นว่ามีการหล่อเจ้าก้อนลูกปูนนี้ให้เป็นรูปทรงลูกบาศก์หรือรูปทรงกระบอกก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของหน้างาน โดยหลังจากที่วางให้ได้อยู่ในตำแหน่งและระยะที่เหมาะสมแล้วก็จะมีการผูกด้วยลวดมัดเหล็กเข้ากันกับตัวเหล็กเสริมชั้นล่างที่จะอยู่ทางด้านบนของเจ้าลูกปูนนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่เกิดการเคลื่อนที่หรือผิดตำแหน่งไปในขณะที่ทำงานการเทคอนกรีตครับ
ในครั้งต่อไปผมจะนำเอาเรื่องราวใดที่มีความเกี่ยวข้องกันกับการออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างแผ่นพื้นที่ถือได้ว่ามีความสำคัญในการออกแบบและการก่อสร้างแผ่นพื้นไม่น้อยไปกว่าเรื่องที่ผมได้เคยกล่าวถึงไปก่อนหน้านี้มาทำการอธิบายและยกตัวอย่างให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันอีก เพื่อนๆ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมได้ในสัปดาห์ต่อๆ ไปนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน
#ความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องเหล็กตีนกาและลูกปูนที่ถูกนำมาใช้ในงานก่อสร้างแผ่นพื้น
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com