การทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยในวันนี้เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีแฟนเพจของเราท่านหนึ่งได้ REQUEST มาเป็นพิเศษนั่นก็คือเรื่องการออกแบบวิศวกรรมโครงสร้าง เสายาว หรือ SLENDER COLUMN นั่นเองนะครับ

 

โดยที่หากจะให้ผมพูดถึงเรื่องๆ นี้คงจะต้องอาศัยระยะเวลาในการพูดและอธิบายกันนานโขอยู่ เพราะ จริงๆ แล้วในการที่จะทำการออกแบบเสายาวให้เกิดความเข้าใจได้ลึกซึ้งนั้นจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นพูดถึงเรื่อง เสาสั้น หรือ SHORT COLUMN หรือบางครั้งเราอาจเรียกว่า STOCKY COLUMN ให้เข้าใจพฤติกรรมการรับกำลังของเสาชนิดนี้กันเสียก่อน หลังจากนั้นก็ค่อยแบ่งประเภทของโครงสร้างระหว่าง โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก กับ โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ดังนั้นผมจะค่อยๆ ทำการแบ่งส่วนของการโพสต์ออกเป็นส่วนย่อยๆ ก็แล้วกัน

 

ดังนั้นผมจึงต้องขอร้องให้เพื่อนๆ ทุกคนได้โปรดทำความเข้าใจความจำเป็นในข้อนี้เอาไว้ก่อนนะครับ และ ในวันนี้ผมจะทำการให้ชื่อของหัวข้อในการโพสต์ก็คือ การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างเสายาวส่วนที่ 1 นะครับ

 

เรามาเริ่มต้นที่คำถามสุดที่จะคลาสสิคนั่นก็คือ โครงสร้างเสาสั้น และ โครงสร้างเสายาว คืออะไร หรือ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?

 

หากว่ากันตามหลักการของความแข็งแรงของวัสดุ หรือ STRENGTH OF MATERIALS หรืออาจเป็น กลศาสตร์ของวัสดุ หรือ MECHANICS OF MATERIALS ก็แล้วแต่เราอาจจะพบว่า เสาสั้น และ เสายาว จะถูกจำแนกแตกต่างกันโดยการพิจารณาจากค่า สัดส่วนความชะลูด หรือ SLENDERNESS RATIO เป็นหลัก แต่ เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเกิดความสงสัยว่า เพราะเหตุใดเมื่อจะทำการออกแบบทั้งโครงสร้างคอนกรีตโดย WSM หรือ วิธีหน่วยแรงใช้งาน และ SDM หรือ วิธีกำลัง หรือแม้กระทั่ง โครงสร้างเหล็กรูปพรรณโดยวิธี ASD หรือ หน่วยแรงใช้งาน หรือ LRFD หรือ ตัวคูณเพิ่มค่าน้ำหนักบรรทุก ก็ดี เหตุใดทุกๆ วิธีการออกแบบจึงมีการจำแนกลักษณะของโครงสร้าง เสาสั้น และ เสายาว ที่แตกต่างกัน ?

 

ผมขอตอบเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในเบื้องต้นแบบนี้นะครับว่า นั่นเป็นเพราะว่าวิธีในการออกแบบต่างๆ นั้นมีการพิจารณาโครงสร้างบนพื้นฐานที่ว่า

 

1.วัสดุ ที่เรานำมาใช้ในการทำการก่อสร้างตัวโครงสร้างนั้นมีคุณสมบัติที่มีความแตกต่างกัน เช่น วัสดุระหว่าง คอนกรีตเสริมเหล็ก และ เหล็ก เป็นต้น

 

2.สภาวะของโครงสร้างที่เราทำการพิจารณาทำการออกแบบนั้นมีความแตกต่างกัน เช่น สภาวะการใช้งาน และ สภาวะการใกล้จะเกิดการวิบัติ เป็นต้น

 

ดังนั้นในเมื่อทั้ง คุณสมบัติของวัสดุ และ สภาวะของโครงสร้างที่ทำการพิจารณาออกแบบ นั้นมีความแตกต่างกันก็ย่อมที่จะส่งผลทำให้ วิธีในการออกแบบโครงสร้างนั้นมีรายละเอียดและวิธีในการพิจารณาที่แตกต่างกันออกไปนั่นเองครับ

 

เอาเป็นว่าในส่วนการโพสต์ในเรื่องของ การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างเสายาวส่วนที่ 2 และส่วนอื่นต่อๆ ไป ผมจะค่อยๆ ทำการปูความรู้เริ่มจากพื้นฐาน โดยอาจเริ่มต้นจากหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ STRENGTH OF MATERIALS ไล่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเข้าสู่การออกแบบโครงสร้าง คสล และ เหล็กรูปพรรณ เลยก็แล้วกันนะครับ หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องๆ นี้ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมได้ในโอกาสต่อไปครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน

#การออกแบบเสายาว

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com