งานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป

วิธีการออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตนำเทคนิคก่อสร้างในกรณีที่เรานั้นทำงานการต่อเติมบ้านเรือนหรืออาคารใหม่หลังหนึ่ง ชิด กันกับอีกอาคารหลังหนึ่งซึ่งเป็นอาคารที่มีอยู่เดิม นั่นก็คือ การกั้นระหว่างส่วนที่โครงสร้างนั้นอยู่ชิดกันของทั้ง 2 อาคารด้วยแผ่นโฟม นั่นเองนะครับ

เทคนิคๆ นี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะ ในกรณีที่เรามีความกังวลว่าในอนาคตนั้นทั้งโครงสร้าง ใหม่ และ เก่า นั้นจะมีโอกาสที่จะเกิดค่าการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันได้ และ เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้น และ ไม่มีการกั้นด้วยโฟมแล้ว รอยต่อระหว่างโครงสร้างทั้ง 2 ก็จะปรากฏรอยแตกร้าวให้เห็นได้อย่างชัดเจนเลยนะครับ

ทีนี้ปัญหาของการนำเทคนิคการก่อสร้างวิธีการนี้ไม่ใช่การที่เรานั้นนำแผ่นโฟมมาใช้นะครับ แต่ อยู่ที่ระยะความหนาของแผ่นโฟมที่นำมาใช้นั้นมีความหนามากจนเกินไป เมื่อแผ่นโฟมที่ถูกเลือกนำมาใช้งานนั้นมีความหนาที่มากจนเกินไป พอเรานำมากั้นระหว่างโครงสร้างทั้งสองก็จะทำให้ ระยะหุ้มของคอนกรีต หรือ CONCRETE COVERING ของเจ้าโครงสร้างใหม่นั้นแทบที่จะไม่มีเลย หรือ ดีไม่ดี สำหรับบางกรณีก็อาจที่จะไม่มีเลยก็เป็นไปได้ และ ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ น่าที่จะทราบกันดีว่า การที่โครงสร้างของเรานั้นมีระยะหุ้มของคอนกรีตที่น้อย ก็จะถือว่าไม่เป็นผลดีต่อพฤติกรรมหลายๆ อย่างของโครงสร้าง เช่น เรื่องสนิมในเหล็กเสริมก็มีโอกาสที่จะเกิดได้ง่ายยิ่งขึ้น เรื่องความคงทนต่อการใช้งานของโครงสร้างก็มีแนวโน้มที่จะด้อยลงไป หรือ พูดง่ายๆ คืออายุการใช้งานของโครงสร้างนั้นจะมีค่าที่ลดลงไป จากเดิมที่ควรจะมีอายุการใช้งานที่ยืนยาว ก็มีโอกาสที่จะลดน้อยลงไปมากๆ เป็นต้นนะครับ

จริงๆ แล้วแนวทางในการแก้ปัญหาข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยนะครับ นั่นก็คือ การเลือกใช้งานแผ่นโฟมให้มีขนาดความหนาที่ลดน้อยลงมา โดยที่ความหนาของแผ่นโฟมที่เราควรที่จะนำมาใช้งานนั้นสามารถที่จะทำการประมาณการออกมาได้ง่ายๆ เลยโดยการที่ทำการคำนวณดูว่า เราควรที่จะให้ระยะหุ้มคอนกรีตนั้นมีมากเพียงพอ และ มีความเหมาะสม ตรงตามลักษณะของโครงสร้างที่เรามีการใช้งานอยู่ หรือ บางทีเราอาจที่จะเปลี่ยนวัสดุไปใช้วัสดุอื่นๆ เลย ก็สามารถที่จะทำได้เช่นกันนะครับ เช่น ใช้แผ่นไม้อัด ใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ด เป็นต้น เพราะ เจ้าวัสดุที่เราจะนำมาใช้งานนี้จะทำหน้าที่เป็นแค่ส่วนกั้นระหว่างส่วนโครงสร้างใหม่และเก่าก็เพียงเท่านั้น

ในบางครั้งช่างหลายๆ คนก็มักจะอ้างว่าไม่อยากจะเปลี่ยนวัสดุจากโฟมเป็นอย่างอื่นเพราะกลัวและกังวลปัญหาเรื่องน้ำรั่วซึม ผมก็ต้องเรียนตามตรงเลยนะครับว่า มันไม่เกี่ยวกันเลย เพราะ ไม่ว่าเราจะใช้วัสดุอะไรก็แล้วแต่ในการกั้น เราก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้วัสดุกั้นน้ำอื่นๆ ในการทำหน้าที่กันน้ำอยู่แล้วนะครับ เช่น ใช้แผ่นปิดกันน้ำ หรือ ที่นิยมเรียกกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า WATER FLASHING เป็นต้นนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน
#การเลือกใช้วัสดุในการกั้นระหว่างโครงสร้างใหม่และเก่าที่เหมาะสม

ADMIN JAMES DEAN

Bhumisiam ภูมิสยาม

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ 
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
8) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
 082-790-1447
 082-790-1448
 082-790-1449
 081-634-6586