สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
เนื่องจากในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการพูดถึงเรื่อง วิธีในการพัฒนากำลังของดิน ให้แก่เพื่อนๆ ไป ปรากฏว่าก็ได้มีความเห็นเข้ามาอย่างต่อเนื่องในอินบ็อกซ์ของผม โดยที่ส่วนใหญ่แล้วอยากที่จะให้ผมอธิบายและยกตัวอย่างถึงวิธีในการปรับปรุงคุณภาพของชั้นดินให้ได้รับทราบกัน ผมจึงคิดว่าน่าจะเป็นการดีหากว่าผมจะใช้เวลาในช่วงวันพุธเพื่อที่จะทำการอธิบายและยกตัวอย่างถึงเรื่องๆ นี้ให้แก่เพื่อนๆ โดยที่วันนี้ผมจึงอยากจะขอพูดถึงเรื่อง การใช้เสาดินซีเมนต์ หรือ SOIL-CEMENT COLUMN ในการทำการพัฒนากำลังของชั้นดินนะครับ
อย่างที่ผมได้เรียนไปในสัปดาห์ที่แล้วว่าโดยทั่วไปนั้นโครงสร้างของชั้นดินในบริเวณที่เป็นดินอ่อนจะมีเสถียรภาพในการรับน้ำหนักได้ค่อนข้างที่จะน้อยมากๆ และเมื่อมีน้ำหนักที่มากเกินความสามารถในการรับกำลังของดินก็จะทำให้เกิดการทรุดตัวที่มีค่าสูงมาก ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุว่าเพราะเหตุใดเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของชั้นดินอ่อนนี้ก่อนที่จะเริ่มต้นทำการก่อสร้าง สำหรับวิธีการในการปรับปรุงคุณภาพของดินอ่อนโดยการเลือกใช้งานเสาดินซีเมนต์จะมีความเหมาะสมก็ต่อเมื่อเราเจอกรณีที่ดินของเรานั้นจะเกิดค่าการทรุดตัวที่มาก อีกทั้งเรายังต้องการเรื่องเสถียรภาพของดินที่ค่อนข้างจะสูงอีกด้วย
ทั้งนี้การทำงานก่อสร้างเสาดินซีเมนต์นั้นสามารถที่จะทำได้ด้วย 2 วิธีการหลักๆ นั่นก็คือ การผสมแบบระบบแห้ง หรือ DRY PROCESS และ การผสมระบบแบบเปียก หรือ WET PROCESS โดยที่ทั้ง 2 วิธีการข้างต้นนี้จะมีข้อแตกต่างกันในส่วนของรายละเอียดของขั้นตอนในการลำเลียงนำเอาปูนซีเมนต์ที่อยู่ทางด้านบนลงไปใช้ในการผสมกันให้เข้ากันกับดินที่อยู่ทางด้านล่างนั่นเองนะครับ
สำหรับการผสมแบบระบบแห้งจะใช้ปูนซีเมนต์ผสมเข้ากันกับดินโดยตรงเลย ซึ่งข้อดีของวิธีการนี้ก็อย่างเช่น ทำให้พื้นที่ก่อสร้างมีความเป็นระเบียบและสะอาดกว่าเนื่องจากว่าไม่มีเศษน้ำปูนหลงเหลือบริเวณปากของหลุมเจาะหรือสำหรับกรณีที่มีการใช้ปริมาณปูนซีเมนต์ในปริมาณที่เท่าๆ กันค่ากำลังของระบบแบบแห้งจะให้ค่าที่สูงกว่าระบบแบบเปียกเพราะไม่มีการเติมน้ำลงไปในระหว่างการผสม นั่นจึงส่งผลทำให้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ออกมามีค่าต่ำ เป็นต้น ส่วนข้อด้อยก็มีเช่นเดียวกันตัวอย่างเช่น วิธีการนี้จะมีความเหมาะสมกับการนำไปใช้ในการก่อสร้างในพื้นที่ชั้นดินนั้นมีปริมาณความชื้นค่อนข้างสูงเท่านั้นหรืออีกประการหนึ่งก็คือ เนื่องจากการผสมแบบนี้ไม่มีการผสมน้ำ นั่นจึงทำให้วิธีการที่เราจะใช้ในการกวนผสมซีเมนต์ให้เข้ากันกับเนื้อดินจะสามารถทำได้ยากกว่า ซึ่งนั่นอาจจะส่งผลต่อความสม่ำเสมอของหน้าตัดของเสาดินซีเมนต์ได้ เป็นต้นครับ
สำหรับการผสมระบบแบบเปียกนั้นจะอาศัยปูนซีเมนต์ผสมเข้ากับน้ำก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ ทำการฉีดลงไปในดินเพื่อให้ปูนซีเมนต์เหลวงที่ได้ผสมเอาไว้นี้ลงไปผสมให้เข้ากันกับดิน ซึ่งข้อดีของระบบแบบเปียกนี้ก็เกือบที่จะตรงกันข้ามกับระบบแบบแห้งทุกประการเลย เช่น วิธีการนี้สามารถที่จะใช้กับดินได้ทุกชนิดเลย โดยการปรับแค่เรื่องสัดส่วนๆ ผสมและวิธีในการกวนผสมให้เข้ากับดินแต่ละชนิดเพียงเท่านั้น อีกประการหนึ่งก็คือ เนื่องจากการผสมแบบนี้จะอาศัยน้ำในการผสม นั่นจึงทำให้วิธีการที่เราจะใช้ในการกวนผสมซีเมนต์ให้เข้ากันกับเนื้อดินจะสามารถทำได้ง่ายกว่า ซึ่งนั่นก็จะส่งผลทำให้เนื้อดินที่ผสมเข้ากันกับตัวซีเมนต์นั้นจะได้ความสม่ำเสมอที่สูงกว่า เป็นต้น ส่วนข้อด้อยเช่นเดียวกันตัวอย่างเช่น พื้นที่ๆ ทำการก่อสร้างของเราจะค่อนข้างมีความไม่เป็นระเบียบเท่าใดนักเพราะว่าจะมีเศษน้ำปูนที่หลงเหลือบริเวณปากของหลุมเจาะเต็มไปหมดหรือการใช้ปริมาณปูนซีเมนต์ในปริมาณที่เท่าๆ กันค่ากำลังของระบบแบบเปียกจะให้ค่าที่ต่ำกว่าระบบแบบแห้งเพราะจะอาศัยการเติมน้ำลงไปในระหว่างการผสม นั่นจึงส่งผลทำให้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์นั้นมีค่าค่อนข้างสูง เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 วิธีการนี้จะมีทั้งข้อดีและข้อด้อยที่มีความแตกต่างออกไป ดังนั้นก่อนที่จะเลือกใช้ประเภทของเสาดินซีเมนต์ประเภทใดประเภทหนึ่งก็เหมือนที่ผมได้บอกไปในครั้งก่อนว่า ควรที่จะต้องทำการขอคำปรึกษากับทางวิศวกรธรณีเทคนิคโดยตรงจะเป็นการดีที่สุดเพราะวิศวกรธรณีเทคนิคถือเป็นวิศวกรเฉพาะทางสาขาหนึ่งทางด้านวิศวกรรมโยธา ซึ่งก็จะมีความละม้ายคล้ายคลึงกันกับวิศวกรโครงสร้าง ดังนั้นเพื่อนๆ จะได้มีข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับใช้ในการตัดสินใจต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้เกิดทั้งความปลอดภัยและความประหยัดทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในขั้นตอนต่างๆ ของการทำงานปฐพีให้มากที่สุดนั่นเองนะครับ
ปล ผมต้องขออนุญาตอ้างอิงและขอขอบคุณรูปภาพที่ผมได้นำมาใช้ประกอบในโพสต์ๆ นี้ซึ่งผมนำมาจากเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการที่ออกโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือที่พวกเราคุ้นเคยกับนามว่า GERD ซึ่งรูปๆ นี้เป็นรูปของเครื่องเจาะที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างเสาดินซีเมนต์โดยวิธี LOW PRESSURE MECHANICAL PRESSURE มา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#อธิบายถึงเรื่องการใช้งานและข้อดีข้อด้อยของเสาดินซีเมนต์โดยสังเขป
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com