ตอบปัญหาโครงสร้างหลังคายื่น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ


โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

จากรูปโครงสร้างหลังคายื่น หรือ CANOPY ROOF STRUCTURE A B และ C ที่แสดงอยู่ในโพสต์ๆ นี้ โครงสร้างหลังคายื่น แบบใดที่จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนรับแรงดึงเพียงอย่างเดียว หรือ TENSION ONLY STRUCTURAL ELEMENTS บ้างครับ ?
ยังไงเพื่อนๆ ก็อย่าลืมนะครับ กติกาของการร่วมสนุกในเกมๆ นี้คือก่อนที่จะตอบ เพื่อนๆ จะต้องแจ้งอีเมลล์ของเพื่อนๆ ก่อนเสมอนะครับ มิเช่นนั้นผมจะถือว่าผิดกติกานะครับ ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาโครงสร้างหลังคายื่น
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

ตามที่ผมเคยได้แชร์ความรู้ไปก่อนหน้านี้ว่าหากจะทำการจำแนกประเภทหลักๆ ของ โครงสร้างหลังคาแบบยื่นเราก็จะสามารถแบ่งออกได้ตามรูป A ซึ่งจะเป็นโครงสร้างหลังคายื่นที่ไม่อาศัยชิ้นส่วนอื่นๆ ในการรับแรง รูป B ซึ่งจะเป็นโครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงดึงและสุดท้ายรูป C ซึ่งจะเป็นโครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงอัด


ซึ่งผมก็ได้ทำการอธิบายต่อไปว่าโครงสร้างหลังคาแบบยื่นทั้ง 3 รูปแบบข้างต้นนั้นจะถูกทำการจัดเรียงและแยกออกตามประเภทของคุณลักษณะของจุดต่อหรือ BOUNDARY CONDITIONS ของหลังคายื่นและชิ้นส่วนที่จะเข้ามาช่วยในการรับแรงซึ่งก็ได้แก่
1. โครงสร้างหลังคายื่นที่ไม่อาศัยชิ้นส่วนอื่นๆ ในการรับแรง ซึ่งก็จะเป็นไปตามรูปที่ 1 โดยที่เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า หลังคายื่นที่ไม่อาศัยชิ้นส่วนอื่นๆ ในการรับแรงนั้นจะอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพด้วยตัวของโครงสร้างหลังคาเอง โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีชิ้นส่วนใดๆ ในการช่วยเพิ่มเสถียรภาพหรือช่วยรับแรงเพิ่มเติมเลย ดังนั้นจุดต่อของหลังคายื่นชนิดนี้จะมีความต้องการทางด้านคุณลักษณะของจุดต่อขั้นต่ำที่สุดก็คือ เป็นจุดต่อแบบยึดแน่นหรือ RIGID SUPPORT นะครับ
2. โครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงดึง ซึ่งก็จะเป็นไปตามรูปที่ 2 โดยที่เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า หลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงดึงนั้นจะอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพด้วยตัวชิ้นส่วนโครงสร้างที่จะทำหน้าที่ในการช่วยรับแรงดึงและโดยมากแล้วเจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างชิ้นนี้จะถูกติดตั้งให้อยู่ที่ด้านบนของหลังคายื่น ดังนั้นจุดต่อของหลังคายื่นชนิดนี้จะมีความต้องการทางด้านคุณลักษณะของจุดต่อขั้นต่ำที่สุดก็คือ เป็นจุดต่อแบบกึ่งยึดแน่นหรือ SEMI-RIGID SUPPORT นะครับ
3. โครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงอัด ซึ่งก็จะเป็นไปตามรูปที่ 3 โดยที่เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า หลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงอัดนั้นจะอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพด้วยตัวชิ้นส่วนโครงสร้างที่จะทำหน้าที่ในการช่วยรับแรงอัดและโดยมากแล้วเจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างชิ้นนี้จะถูกติดตั้งให้อยู่ที่ด้านล่างของหลังคายื่น ดังนั้นจุดต่อของหลังคายื่นชนิดนี้จะมีความต้องการทางด้านคุณลักษณะของจุดต่อขั้นต่ำที่สุดก็คือ เป็นจุดต่อแบบอย่างง่ายหรือ SIMPLE SUPPORT นะครับ

จากทั้ง 3 ข้อข้างต้น เมื่อพิจารณาถึงคำถามแล้ว ข้อที่ถือได้ว่ามีความใกล้เคียงมากที่สุดก็คือข้อที่ 2 ซึ่งก็คือโครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงดึงแต่เพราะเหตุใดผมจึงถามลงลึกไปในคำถามว่า โครงสร้างหลังคายื่น แบบใดกันที่จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนรับแรงดึงเพียงอย่างเดียว ?

นั่นเป็นเพราะลักษณะของชิ้นส่วนที่เป็นชิ้นส่วนโครงสร้างที่จะทำหน้าที่รับแรงดึงเพียงอย่างเดียวจะมีลักษณะเด่นตรงที่ชิ้นส่วนนั้นๆ จะต้องมีขนาดหน้าตัดที่ค่อนข้างจะเล็กมากๆ กล่าวคือ หน้าตัดนั้นๆ แทบที่จะมีค่าความแข็งเกร็งตามแนวแกน หรือ AXIAL STIFFNESS เท่ากับศูนย์ ทำให้การใช้งานชิ้นส่วนในลักษณะแบบนี้จำเป็นที่จะต้องมีแรงตึงภายในชิ้นส่วนของโครงสร้างในระดับหนึ่ง จึงจะทำให้ชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นๆ มีเสถียรภาพและสามารถที่จะนำไปใช้งานได้นะครับ

ดังนั้นพอมาดูทีละรูปๆ เราก็จะสามารถจำแนกได้เลยว่ารูป B ก็คือ โครงสร้างหลังคายื่นที่จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนรับแรงดึงเพียงอย่างเดียวเพราะเพื่อนๆ จะสามารถเห็นได้ว่า ด้านบนของโครงสร้างหลังคายื่นในรูปนั้นจะมีชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กเส้นซึ่งจะคอยทำหน้าที่ในยึดรั้งโครงสร้างหลังคายื่นเอาไว้และเนื่องด้วยเจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างนี้เองมีขนาดหน้าตัดที่ค่อนข้างที่จะเล็กมากๆ ดังนั้นเพียงการมองด้วยตาเปล่าเราก็อาจจะสามารถสรุปได้เลยว่า หน้าตัดของชิ้นส่วนโครงสร้างนี้มีค่าความแข็งเกร็งตามแนวแกนเท่ากับศูนย์ ทำให้การใช้งานชิ้นส่วนเหล็กเส้นนี้จำเป็นที่จะต้องทำให้มีแรงตึงเกิดขึ้นภายในชิ้นส่วนของโครงสร้างด้วย จึงจะทำให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กเส้นนี้มีเสถียรภาพอยู่ได้นั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาโครงสร้างหลังคายื่น
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com