ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพของชั้นดินในสถานที่ ที่จะทำการก่อสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยที่หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องๆ หนึ่งที่ถือได้ว่า มีผล และ มีความสำคัญ อย่างมากต่อการออกแบบให้อาคารหนึ่งๆ นั้นสามารถที่จะต้านทานต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหวได้ นั่นก็คือ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพของชั้นดินในสถานที่ๆ จะทำการก่อสร้าง นั่นเองนะครับ

 

จากเหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ในอดีตแสดงให้เราเห็นได้ว่า สภาพของชั้นดินซึ่งที่เป็นที่ตั้งของอาคารจะมีผลต่อความเสียหายของโครงสร้างอาคารอันเนื่องมาจากแรงกระทำจากแผ่นดินไหวเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ระดับของการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวจะขึ้นตรงกับชนิดของชั้นดินที่อยู่ใต้ฐานของอาคาร โดยที่อาคารที่ต้องอยู่บน ชั้นดินแข็ง จะค่อนข้างมีระดับความเสียหายที่ ต่ำกว่า อาคารที่ตั้งอยู่บน ชั้นดินอ่อน นะครับ

 

กรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดก็คือ เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองเม็กซิโกในปี คศ1985 ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่ห่างออกไปจากตัวเมืองประมาณ 400 กม ซึ่งถือว่าไกลพอสมควร แต่ กลับสร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนเป็นอย่างมากเนื่องมาจากการที่อาคารเหล่านี้ตั้งอยู่บนชั้นดินที่มีความอ่อนตัว ซึ่งหากเราเปรียบเทียบอาคารที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ศูนย์กลางมากกว่า แต่ ที่ฐานนั้นเป็นชั้นดินแข็งกลับพบได้ว่ามีความเสียหายที่ต่ำกว่า สาเหตุนั้นเป็นเพราะว่า ดินอ่อน มีความสามารถในการที่จะขยายค่าความรุนแรงของการสั่นสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้มากกว่า 5 เท่า ถึง 50 เท่า เมื่อเทียบกันกับกรณีของดินแข็ง

 

อีกกรณีศึกษาหนึ่งก็คือ เหตุแผ่นดินไหวในปี คศ 1976 ที่เมืองฉางซาน ประเทศจีน โดยที่อาคารร้อยละ 50 ที่ตั้งอยู่บน ชั้นดินอ่อน ที่ค่อนข้างมีความหนาได้เกิดความเสียหายอย่างราบคาบ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับอาคารอื่นๆ จะพบว่ามีอาคารเพียงร้อยละ 12 ที่มีการตั้งอยู่บริเวณชั้นดินที่มีความแข็งกว่าซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้ๆ กันกับสถานที่ๆ นั้นเกิดความเสียหายในระดับที่น้อยถึงน้อยมากๆ เลยนะครับ

 

อย่างไรก็ตามเรากลับพบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยผนังอิฐก่อ หรือ MASONRY BUILDING และ อาคารที่มีค่าความแข็งแกร่งสูงๆ หรือ HIGH STIFFNESS BUILDING จะได้รับความเสียหายในระดับที่ถือว่าสูงมาก เมื่อตั้งอยู่ในบริเวณชั้นดินที่มีความแข็ง หากทำการเปรียบเทียบกับอาคารที่มีลักษณะเหมือนๆ กันซึ่งตั้งอยู่บนชั้นดินที่มีความอ่อนแอกว่า ดังเช่นเหตุการณ์แผ่นดินไหวระยะใกล้ที่เกิดขึ้นในเมือง KOYNA ประเทศอินเดียในปี คศ1967 และ NORTH YEMEN ในปี คศ1980 นะครับ

 

หากดูในกฎหมายในบ้านเราก็จะพบว่า กฎกระทรวงได้ทำการกำหนดให้การรับ นน ความต้านทาน ความคงทน ของอาคาร และ พื้นดิน ที่ทำหน้าที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว พศ 2550 ได้กำหนดให้ผู้ออกแบบใช้ค่าตัวคูณ S ที่เป็นค่าสัมประสิทธิ์ซึ่งจะขึ้นกับลักษณะของชั้นดินที่ตั้งของอาคาร โดยที่ค่านี้มีค่าตั้งแต่ 1.00 สำหรับหิน 1.20 สำหรับดินแข็ง 1.50 สำหรับดินอ่อน และ 2.50 สำหรับดินอ่อนมากครับ

 

ด้วยเหตุนี้เองหากพวกเราสังเกตดูดีๆ จากการที่กฎกระทรวงได้มีการบังคับใช้ให้ผู้ออกแบบอาคารนั้นทำการคำนวณแรงกระทำจากแผ่นดินไหวโดยอาศัยค่าสัมประสิทธิ์นี้ เพราะ เมื่อชั้นดินนั้นมีความอ่อนแอที่มาก ก็จะยิ่งทำให้แรงกระทำที่เกิดจากแผ่นดินไหวนั้นเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้นตามไปด้วยนั่นเองนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว

#ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพของชั้นดินในการออกแบบแรงกระทำจากแผ่นดินไหว

ADMIN JAMES DEAN



บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com