วิธีในการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว หรือ SEISMIC ANALYSIS

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยที่หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่อง วิธีในการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว หรือ SEISMIC ANALYSIS นะครับ

 

หากจะให้อธิบายให้เข้าใจให้ง่ายๆ ในขันตอนนี้เราทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์เพื่อหาระดับของผลตอบสนองต่างๆ ที่โครงสร้างของเรานั้นจะมีต่อแรงแผ่นดินไหวที่เข้ามากระทำต่ออาคารของเรานั่นเองนะครับ

 

หากทำการตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดเราถึงต้องสนใจค่าผลตอบสนองของโครงสร้าง ?

หากจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ อีกเช่นเคย ก็คงจะตอบได้ว่า เพื่อให้เราสามารถที่จะทราบได้ว่าในสภาวะที่โครงสร้างของเรานั้นถูกกระทำด้วยแรงแผ่นดินไหว จะมีค่าแรงภายในโครงสร้างเป็นเท่าใด เราจะได้นำค่าแรงนั้นๆ มาใช้ทำการออกแบบให้โครงสร้างสามารถที่จะต้านทานต่อแรงกระทำดังกล่าวได้และในบางครั้ง เราก็อาจจะไม่ได้สนใจค่าแรงภายในโครงสร้างเท่าใด แต่เรากลับสนใจค่าการเสียรูปสูงสุดทางด้านข้างของโครงสร้างว่ามีค่าเป็นเท่าใด ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตามข้อกำหนดในการออกแบบหรือไม่ เป็นต้นครับ

 

หากเราทำการตั้งคำถามต่อไปอีกว่าการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหวนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างออกไปจากแรงกระทำประเภทอื่นๆหรือไม่ ?

 

ผมต้องขออนุญาตอธิบายแบบนี้นะครับว่า เนื่องจากแรงแผ่นดินไหวจัดอยู่ในประเภทแรง DISPLACEMENT-TYPELOADING ซึ่งลักษณะของแรงกระทำชนิดนีจะมีความพิเศษแตกต่างออกไปจากแรงกระทำประเภทอื่นๆ ตรงที่วิธีในการคำนวณหาขนาดของแรงแผ่นดินไหวนั้นไม่สามารถที่จะทำการคำนวณได้แบบตรงไปตรงมาเหมือนกันกับแรงกระทำประเภทอื่นๆ จึงทำให้ในขั้นตอนๆ นี้จะมีความสลับซับซ้อนมากกว่าแรงกระทำประเภทอื่นๆ ตามไปด้วยนะครับ

 

โดยการวิเคราะห์แรงกระทำจากแผ่นดินไหวนั้นจะสามารถทำได้โดยอาศัย 2 วิธีการหลักๆ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะของแรงกระทำที่เราสนใจ นั่นก็คือ

  1. แรงสถิต หรือ STATIC FORCE
  2. แรงพลศาสตร์ หรือ DYNAMIC FORCE

 

อีกประการหนึ่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญมากๆ เช่นกันนั่นก็คือ สมมติฐานในเรื่องพฤติกรรมของโครงสร้างของเราว่าเราจะทำการกำหนดให้ขอบเขตของการวิเคราะห์โครงสร้างของเรานั้นอยู่ในสภาวะเช่นได เช่น โครงสร้างของเรานั้นอยู่ในสภาวะเชิงเส้น หรือ ไม่เชิงเส้น เป็นต้นนะครับ

 

ดังนั้นหากจะให้นิยามชื่อและวิธีในการวิเคราะห์แรงกระทำจากแผ่นดินไหว เราจะสามารถทำการแบ่งออกได้เป็น 4 วิธีการหลักๆ ด้วยกันนั่นก็คือ

  1. LINEAR-STATIC ANALYSIS หรือ ชื่อที่ พวกเราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือ EQUIVALENT FORCE ANALYSIS นะครับ
  2. LINEAR-DYNAMIC ANALYSIS หรือ ชื่อที่ พวกเราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือ ELASTIC RESPONSE SPECTRUM ANALYSIS นะครับ
  3. NONLINEAR-STATIC ANALYSIS หรือ ชื่อที่ พวกเราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือ PUSHOVER ANALYSIS นะครับ
  4. NONLINEAR-DYNAMIC ANALYSIS หรือ ชื่อที่ พวกเราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือ NONLINEAR TIME HISTORY ANALYSIS นะครับ

 

ในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาพูดถึงเรื่อง วิธีการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหวแบบใดที่จะมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างของเราเพื่อที่จะให้สามารถต้านทานต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหวได้ หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมในเรื่องๆ นี้ได้ต่อไปครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว

#วิธีในการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหวตอนที่หนึ่ง

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com