ระดับของน้ำใต้ดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

หากว่าเพื่อนๆ ยังจำกันได้เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนผมเคยนำเอาเรื่องหลักในการคำนวณหาค่ากำลังความสามารถในการรับแรงแบกทานของดินตามวิธีการของ TERZAGHI มาอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกัน ซึ่งในหัวข้อนั้นเองผมยังได้ทำการพูดถึงประเด็นๆ หนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องและถือได้ว่ามีความสำคัญไม่น้อยในการออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากของอาคารนั่นก็คือเรื่อง ระดับของน้ำใต้ดิน ใช่แล้วครับ ในวันนี้ผมจะนำเอาหัวข้อๆ นี้มาทำการอธิบายและขยายความในประเด็นๆ นี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนเพื่อเป็นความรู้ทางด้านการออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากนะครับ

 

ถ้าเมื่อใดที่ระดับลึกลงไปใต้ดินนั้นมี น้ำ อยู่สิ่งแรกๆ ที่อาจจะผุดขึ้นมาในความคิดและจินตนาการของเพื่อนๆ นั่นคืออะไรครับ ?

 

ผมคิดว่าน่าจะมีเพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนช่วยกันตอบกันเข้ามาหลายคำตอบเลยนะครับและใช่ครับ หนึ่งในนั้นเลยก็คือ ที่ใดที่มีน้ำใต้ดิน ที่นั่นก็ย่อมที่จะมีแรงดันที่เกิดจากน้ำใต้ดินนั่นเองนะครับ

 

แรงดันของน้ำใต้ดินถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ผลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมต่างๆ ของชั้นดิน ดังนั้นผู้ออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทราบว่า ระดับของน้ำใต้ดินนั้นจะอยู่ที่ระยะความลึกลงไปเท่ากับเท่าใดจากผิวดินเดิมด้วยเสมอเลยนะครับ

 

โดยที่ผมจะขออนุญาตทำการขยายความหมายของคำๆ นี้เสียก่อนนะครับว่า ระดับของน้ำใต้ดิน ก็คือ ระดับซึ่งความดันของน้ำนั้นจะมีค่าเท่ากับค่าความดันของชั้นบรรยากาศนั่นเอง โดยที่ดินที่จะอยู่เหนือระดับของน้ำใต้ดินนี้อาจจะมีสภาพเป็นแบบอิ่มตัวด้วยน้ำ หรือ FULLY SATURATED หรืออาจจะมีสภาพเป็นแบบกึ่งอิ่มตัวด้วยน้ำ หรือ PARTIALLY SATUARTED แบบใดแบบหนึ่งก็ได้ ตามที่ผมได้กล่าวถึงข้างต้นจะพบว่าคุณสมบัติดังกล่าวนี้จะส่งผลทำให้ค่าของระดับน้ำใต้ดินนั้นมีความสลักสำคัญต่อขั้นตอนในการออกแบบและก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากของอาคารเป็นอย่างมากเลยน่ะครับ

 

ดังนั้นในขณะที่ทำการเจาะสำรวจดินทางผู้สำรวจจึงค่อนข้างมีความจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจวัดระดับและทำการจดบันทึกค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของน้ำใต้ดินนี้อยู่เกือบจะตลอดเวลาเลยก็ว่าได้ สำหรับบางกรณีของการเจาะสำรวจที่ถือได้ว่าค่อนข้างมีความแปลกไม่ค่อยปกติ เช่น กรณีที่มีการใช้ท่อกรุกันผนังหลุมเจาะที่อาจจะมีเสถียรภาพค่อนข้างที่จะต่ำ ทางผู้ทำการเจาะควรทำการสังเกตการไหลเข้าและออกของน้ำภายในหลุมเจาะภายในทุกๆ ครั้งที่มีการเจาะดินผ่านปลายท่อกรุนี้ลงไปด้วยเสมอ โดยหากเป็นไปได้ก็ยิ่งควรที่จะต้องทำการตรวจวัดระดับของน้ำในสภาวะแบบสมดุลอีกด้วยนะครับ

 

สุดท้ายผมอยากที่จะขอฝากเพื่อนๆ เอาไว้ตรงนี้สักเล็กน้อยนะครับว่า ระดับของน้ำที่เราได้จากการทำการเก็บข้อมูลในการเจาะสำรวจชั้นดินนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นค่าของระดับของน้ำใต้ดินเสมอไปนะครับ ทราบกันหรือไม่ครับว่านั่นเป็นเพราะอะไร ?

 

ตามปกตินั้นการตรวจสอบเพื่อที่จะทำการวัดระดับของน้ำใต้ดินนั้นภายหลังจากที่เสร็จสิ้นขั้นตอนของการเจาะสำรวจดินไปแล้วไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ดังนั้นการที่เรามีการใช้น้ำโคลนเพื่อที่จะคอยทำหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพของหลุมเจาะจึงอาจไม่ใช่ความคิดที่ดีเสมอไปเพราะการทำเช่นนั้นอาจจะทำให้ขั้นตอนของการตรวจวัดระดับของน้ำใต้ดินนั้นเกิดความคลาดเคลื่อนและผิดพลาดไม่ถูกต้องได้นะครับ

 

ยังไงในครั้งต่อไปผมจะขออนุญาตมาพูดถึงวิธีการที่พวกเรานิยมนำมาใช้ในการตรวจสอบหาค่าของระดับน้ำใต้ดินที่ค่อนข้างให้ผลที่น่าเชื่อถือมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ คนโดยหากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจเป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามบทความๆ นี้ได้ในครั้งต่อไปที่เราจะได้กลับมาพบกันนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#อธิบายถึงความสำคัญของขั้นตอนในการตรวจสอบระดับของน้ำใต้ดิน

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com