สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
เพื่อนๆ เคยสังเกตมั้ยครับ ไม่ว่าเราจะทำการผสมคอนกรีตเองหรือจะสั่งคอนกรีตผสมเสร็จมาใช้ที่หน้างานก็แล้วแต่ ในบางครั้งก็มักจะเกิดรอยร้าวขึ้นในเนื้อคอนกรีตขึ้น ไม่มากก็น้อย วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงประเด็นๆ นี้กันนะครับ
โดยเราสามารถจำแนกถึงสาเหตุของการแตกร้าวออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ
(1) การแตกร้าวที่มีสาเหตุมาจากงานโครงสร้าง (STRUCTURAL CRACK)
(2) การแตกร้าวที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากงานโครงสร้าง (NON-STRUCTURAL CRACK)
เราจะมาดูทีละหัวข้อกันนะครับ
(1) การแตกร้าวที่มีสาเหตุมาจากงานโครงสร้าง (STRUCTURAL CRACK) อาจมาจากสาเหตุหลักๆ 3 ประการ คือ
(1.1.1) การแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการออกแบบที่ไม่ถูกต้อง ขาดความเหมาะสม เช่น การคำนวณออกแบบ หรือ การให้รายละเอียดของการเสริมเหล็กที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น
(1.1.2) การแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการใช้วัสดุก่อสร้างไม่มีคุณภาพ เช่น ใช้หินที่ผุ ใช้หินที่มีดินปนมากจนเกินไป ทรายมีความสกปรก น้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตสกปรก หรือ ทำการผสมคอนกรีตไม่ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง รวมถึงการใช้เหล็กเสริมที่เป็นสนิม เป็นต้น
(1.1.3) การแตกร้าวของคอนกรีตผสมเสร็จเนื่องจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การผสม การขนส่ง การเทลงแบบ การหล่อคอนกรีตที่ไม่ดีพอ การถอดค้ำยันก่อนกำหนด ขาดการบ่มคอนกรีตที่ดีพอ หรือ แบบหล่อ คอนกรีตเกิดการโก่งงอขึ้น เป็นต้น
(2) การแตกร้าวที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากงานโครงสร้าง (NON-STRUCTURAL CRACK) อาจมาจากสาเหตุหลักๆ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
(2.1.1) การหดตัวของคอนกรีต
(2.1.2) การทรุดตัวของคอนกรีต
(2.1.3) ความร้อนในเนื้อคอนกรีต
ซึ่งการแตกร้าวพวกนี้สามารถจำแนกตามระยะเวลาที่เกิดได้โดยแบ่งออกเป็น
(2.2.1) การแตกร้าวก่อนคอนกรีตแข็งตัว
(2.2.2) การแตกร้าวหลักจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
ในวันพรู่งนี้เราจะมายกตัวอย่างกันให้เห็นถึงลักษณะของการเกิดการแตกร้าวในเนื้อคอนกรีตกันต่อนะครับ
ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในหลายๆ วันที่ผ่านมานั้นจะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JD @ ภูมิสยามไมโครไพล์