สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
โดยที่หัวข้อในวันนี้คือ พวกเราจะมีวิธีการอย่างไร หากมีความจำเป็นที่จะต้องทำการตอกเสาเข็มในบริเวณสถานที่ก่อสร้างโดยที่บริเวณนั้นๆ มีอาคารเดิมตั้งอยู่ก่อนหน้าแล้วนั่นเองนะครับ
โดยที่หากพูดถึงปัญหาๆ นี้เนื้อเรื่องจะค่อนข้างยืดยาวมากๆ ผมจึงจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตทำการแบ่งการโพสต์ออกเป็นสัก 2 ครั้งก็แล้วกันนะครับ
โดยในวันนี้ผมจะขอมาทำการอธิบายถึงในส่วนที่สองกันต่อจากสัปดาห์ที่แล้วนั่นก็คือ ขั้นตอนในเลือกระบบของโครงสร้างเสาเข็ม และ การเลือกวิธีในการนำเสาเข็มลงไปในดิน ที่จะถือได้ว่ามีความเหมาะสมที่สุดในการก่อสร้างนะครับ
สำหรับขั้นตอนในการเลือกระบบของโครงสร้างเสาเข็ม และ การเลือกวิธีในการนำเสาเข็มลงไปในดิน เราจะสามารถทำการแบ่งออกตามวิธีในการก่อสร้างเป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็น 2 ระบบด้วยกัน นั่นก็คือ
- ระบบการก่อสร้างโครงสร้างเสาเข็มโดยการหล่อในที่
- ระบบการก่อสร้างโครงสร้างเสาเข็มโดยการหล่อสำเร็จ
สำหรับระบบการก่อสร้างโครงสร้างเสาเข็มโดยการหล่อในที่ก็ได้แก่ เสาเข็มเจาะ ทั้งระบบแห้งและเปียก โดยที่เราทราบกันดีนะครับว่าระบบการก่อสร้างด้วยเสาเข็มเจาะนั้นจะส่งผลต่อเรื่องของการสั่นสะเทือนและแรงดันทางด้านข้างของดินที่เกิดจากการแทนที่ของตัวเสาเข็มที่ค่อนข้างน้อยถึงน้อยมากๆ แต่ ปัญหาของการก่อสร้างด้วยระบบๆ นี้คือ เรื่องคุณภาพของการก่อสร้างที่ค่อนข้างจะมีความแตกต่างกันมากๆ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรู้ ประสบการณ์ และ ฝีมือในการทำงานของทางผู้รับจ้างเป็นหลักเลย นอกนั้นเป็นปัญหาแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ เช่น พื้นที่หน้างานจะค่อนข้างเละและสกปรกเต็มไปด้วยดินที่เกิดจากการขุดดินขึ้นมาก่อนการเทคอนกรีตในเสาเข็ม ดังนั้นปัญหาในการทำงานก่อสร้างตัวเสาเข็มเจาะส่วนใหญ่นั้นจะเกิดขึ้นก็ตอนที่เราจะทำการหล่อตัวเสาเข็มในดินนั่นเองนะครับ
มาพูดถึงระบบการก่อสร้างโครงสร้างเสาเข็มโดยการหล่อสำเร็จกันบ้างนะครับ ระบบๆ นี้จะตรงข้ามกับระบบแรกทุกอย่างเลย เพราะ ข้อดีของระบบๆ นี้คือเรื่องของการควบคุมในเรื่องของคุณภาพของผลิตตัวเสาเข็ม ดังนั้นเรามักจะไม่พบเจอปัญหาเรื่องเสาเข็มชนิดนี้มีคุณภาพที่ไม่ดีเท่าใดนัก ปัญหาอย่างเดียวที่จะพบในเรื่องของคุณภาพก็คือเรื่องของการขนส่งตัวเสาเข็ม โดยมากแล้วเราจะพบว่าเสาเข็มปกติทั่วๆ ไปจะมีความยาวของเสาเข็มที่ค่อนข้างมาก ไม่สามารถที่จะลำเลียงเข้ามรที่หน้างานที่มีการก่อสร้างอยู่ภายในบริเวณที่มีอาคารล้อมรอบได้สะดวกมากนัก สำหรับปัญหาจริงๆ ของระบบๆ นี้คือวิธีการนำเสาเข็มลงไปในดินนะครับ เพราะ ต่อให้ทำ PRE-BORE ลงไปก่อนซึ่งจะเป็นการช่วยบรรเทาเรื่องแรงดันดินทางด้านข้างให้ทุเลาเบาบาลลงไป แต่ หากทำการใช้ PRE-BORE โดยขาดความรู้และประสบการณ์ นั่นอาจไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาแต่กลับเป็นการเพิ่มปัญหาด้วยซ้ำไป เพราะ หากความลึกของการทำ PRE-BORE ที่ไม่มากพอ หรือ ความลึกที่ใช้ไม่เหมาะสมกับชนิดของชั้นดิน ก็ยังจะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนอยู่ดี ดังนั้นในเมื่อปัญหาอยู่ที่วิธีการนำเสาเข็มลงไปในดินทางออกที่ดีที่สุดก็คือการเลือกใช้เสาเข็มไมโครไพล์นั่นเองนะครับ
โดยในที่นี้ผมจะขอพูดถึงเฉพาะเสาเข็มของภูมิสยามก็แล้วกันนะครับ เนื่องด้วยการที่ขนาดความยาวของเสาเข็มต่อท่อนนั้นจะมีขนาดที่สั้น เราจึงสามารถที่จะลำเลียงเสาเข็มเข้าไปทำการตอกได้ในบริเวณที่คับแคบได้โดยไม่เกิดปัญหาหรืออุปสรรคเรื่องการขนส่งลำเลียงเลย และ เราก็จะพบด้วยว่ามีการใช้ระบบ “สปัน” ซึ่งจะช่วยทำให้เสาเข็มนั้นมีความแข็งแกร่งที่มากกว่าคอนกรีตปกติ มีการ QC สินค้าก่อนทำการตอกทุกครั้งๆ ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาในเรื่องของคุณภาพของตัวเสาเข็ม มิหนำซ้ำยังมีการควบคุมคุณภาพของการเชื่อมต่อระหว่างท่อนของเสาเข็มโดยการใช้ช่างเชื่อมที่ผ่านการคัดกรองฝีมือและผ่านเกณฑ์การทดสอบฝีมือแรงงานมาแล้วอีกต่างหาก ยิ่งในขณะนี้คุณโอ CEO หนุ่มรูปหล่อยังมีมาตรการใหม่ๆ เพิ่มเติมเข้ามาอีกมากมายเพื่อคอยอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่คุณลูกค้าอีกด้วย เช่น มีการรับประกันสินค้าและบริการหลังการขาย มีการให้ข้อมูลและความรู้จากวิศวกรผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการออกแบบและก่อสร้าง เป็นต้น
เพราะฉะนั้นเพื่อนๆ จึงสามารถที่จะสบายใจได้นะครับหากว่าจะเลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ของภูมิสยามสำหรับการทำงานการตอกเสาเข็มในโครงการที่มีอาคารตั้งอยู่ล้อมรอบบริเวณที่ทำการก่อสร้างเพราะเทคโนโลยี้คิดค้นขึ้นมาเพื่อขจัดปัญหาต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com