กรณีที่ฐานรากแบบเสาเข็มเดี่ยวนั้น ต้องรับน้ำหนักแบบเยื้องศูนย์

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

 

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

จากรูปที่แสดงจะเห็นได้ว่าเป็นแปลนของโครงสร้างฐานราก F1a และ F1b นั้นวางห่างกันเท่ากับระยะ L ซึ่งโครงสร้างฐานรากทั้งสองต้นนี้จะถูกรองรับด้วยโครงสร้างเสาเข็มเพียงแค่ 1 ต้น แต่เนื่องจากการขาดการควบคุมงานที่ดีเพียงพอจึงทำให้เกิดความผิดพลาดในขั้นตอนของการตอกโครงสร้างเสาเข็มนั่นก็คือ ตำแหน่งของโครงสร้างเสาเข็มนั้นผิดไปจากที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบไว้ตั้งแต่ในครั้งแรก สำหรับเสา C1a นั้นจะเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปเป็นระยะเท่ากับ e1 จากฐานราก F1a และสำหรับเสา C1b นั้นก็จะเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปเป็นระยะเท่ากับ e2 จากฐานราก F1b โดยเมื่อเราได้ทำการตรวจสอบโครงสร้างเสาเข็มก็จะพบว่า โครงสร้างเสาเข็มนั้นมีขนาดที่เล็กจนเกินไปหรือกล่าวคือ โครงสร้างเสาเข็มนั้นไม่สามารถที่จะรับโมเมนต์ดัดที่เกิดจากการเยื้องศูนย์ออกไปของโครงสร้างเสาได้นั่นเอง ครั้นการที่จะทำการย้ายตำแหน่งของโครงสร้างเสา C1a และ C1b ให้มาอยู่ตรงกันกับตำแหน่งของโครงสร้างฐานรากทั้ง 2 ก็ไม่สามารถที่จะทำได้เช่นกัน นั่นเป็นเพราะจะทำให้เกิดผลกระทบต่อรูปแบบๆ แปลนของอาคาร หากว่าเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นวิศวกรโครงสร้างในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ เพื่อนๆ จะตัดสินใจที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาๆ นี้ด้วยวิธีการใดดีครับ ?

 

#ถามตอบชวนสนุก

#ปัญหากรณีที่ฐานรากแบบเสาเข็มเดี่ยวนั้นต้องรับน้ำหนักแบบเยื้องศูนย์

 

เฉลย

จากเงื่อนไขที่ปัญหาข้อนี้ได้กำหนดมาว่า โครงสร้างเสาเข็มนั้นมีขนาดที่เล็กจนเกินไปหรือพูดง่ายๆ ก็คือ โครงสร้างเสาเข็มนั้นไม่สามารถที่จะรับโมเมนต์ดัดที่เกิดจากการเยื้องศูนย์ออกไปของโครงสร้างเสาได้ ดังนั้นหากเราดึงดันและยังทำการขยายโครงสร้างฐานรากทั้ง F1a และ F1b ให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นจนในที่สุดโครงสร้างฐานรากทั้งสองนี้กลายเป็นโครงสร้างฐานรากแบบยื่น การทำเช่นนี้ก็เท่ากับว่าเป็นการบังคับให้ระบบของโครงสร้างฐานรากทั้งสองนี้ขาดไปซึ่งความมีเสถียรภาพที่ดีเพียงพอไปในทันทีเลยนะครับ

ซึ่งจริงๆ แล้ววิธีในการแก้ไขปัญหาในลักษณะเช่นนี้จะสามารถทำได้มากกว่าหนึ่งวิธีการแต่ในวันนี้ผมจะขออนุญาตนำเอาสักหนึ่งวิธีการมาเล่าสู่กันฟังให้แก่เพื่อนๆ ก็แล้วกันนั่นก็คือ การกำหนดให้มีโครงสร้างคานถ่ายน้ำหนักแบบยื่นหรือ CANTILEVER TRANSFER BEAM ออกไปจากโครงสร้างฐานราก F1a นั่นก็คือโครงสร้าง CTB1 ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้โครงสร้างคานนี้ได้ทำหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักจากโครงสร้างเสา C1a ไปถ่ายลงยังฐานราก F1a และ F1b จากนั้นก็ทำการกำหนดให้มีโครงสร้างคานถ่ายน้ำหนักแบบช่วงเดียวหรือ SIMPLY TRANSFER BEAM ให้วางตัวอยู่ระหว่างโครงสร้างฐานราก F1a และ F1b นั่นก็คือโครงสร้าง TB1 ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้โครงสร้างคานนี้ได้ทำหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักจากโครงสร้างเสา C1b ไปถ่ายลงยังฐานราก F1a และ F1b อีกทั้งโครงสร้างคาน TB1 นี้ยังจะช่วยทำให้โครงสร้างฐานรากทั้งระบบนั้นเกิดความมีเสถียรภาพขึ้นมาได้เพราะว่านอกจากการทำหน้าที่ในการถ่ายน้ำหนักแล้ว โครงสร้างคานๆ นี้ก็ยังจะทำหน้าที่ในการยึดรั้งระหว่างโครงสร้างฐานรากทั้งสองต้นอีกด้วย ซึ่งการทำเช่นนี้ก็จะเป็นการส่งผลโดยตรงทำให้โครงสร้างเสาเข็มที่อยู่ภายในฐานรากทั้งสองนี้ไม่ต้องรับโมเมนต์ดัดที่เกิดจากการเยื้องศูนย์ออกไปของโครงสร้างเสาที่เกิดขึ้นนั่นเองนะครับ

 

ซึ่งผมจะขอกล่าวทวนให้เพื่อนๆ ทราบอีกสักครั้งนั่นก็คือ หลักการสำคัญข้ออื่นๆ ของการทำการออกแบบโครงสร้างฐานรากโดยที่อาศัยหลักและวิธีการๆ นี้ก็ยังคงต้องมีอยู่อย่างครบถ้วน เช่น จะต้องทำการคำนึงถึงเรื่องความแข็งเกร็งของคานให้มีความเหมาะสม กล่าวคือ ต้องทำการวิเคราะห์และออกแบบให้แน่ใจว่าลักษณะของการเสียรูปของคานยื่นนั้นจะต้องมีการโก่งตัวหรือเสียรูปในทิศทางลงที่ไม่มากจนเกินไปและต้องแน่ใจด้วยว่าลักษณะของการเสียรูปของคานช่วงเดียวนั้นจะต้องมีการโก่งตัวหรือเสียรูปในทิศทางขึ้นที่ไม่มากจนเกินไปเพราะหากค่าการเสียรูปทั้งสองนั้นมีค่าที่มากจนเกินไป โครงสร้างนั้นอาจจะไม่เกิดการวิบัติแต่ก็อาจจะไปทำให้งานสถาปัตยกรรมของพื้นที่ถูกปูลงไปบนพื้นผิวของโครงสร้างนั้นเกิดการแตกร้าวหรือเสียหายได้ เป็นต้นนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอาทิตย์

#ถามตอบชวนสนุก

#ตอบปัญหากรณีที่ฐานรากแบบเสาเข็มเดี่ยวนั้นต้องรับน้ำหนักแบบเยื้องศูนย์

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com