การคำนวณ การรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครข้อที่ 67 สำหรับกรณีเสาเข็มสั้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาตอบคำถามของแฟนเพจที่ได้ฝากเอาไว้ที่ว่า “เหตุใดผมจึงมักที่จะพูดอยู่บ่อยๆ ว่าในการที่เราจะทราบความสามารถในการรับ นน ของเสาเข็มที่แน่นอนนั้นเราจำเป็นที่จะต้องทำการเจาะสำรวจดินเสียก่อน แต่ เวลาจะใช้งานพวกเสาเข็มทั่วๆ ไป หรือ เสาเข็มสั้น เค้ามักจะมีคำพูดพ่วงท้ายมาเลยว่าเสาเข้มต้นนั้นๆ จะสามารถรับ นน ปลอดภัยได้เท่ากับค่านั้นค่านี้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ?”


ก่อนอื่นเลยผมต้องขอชมเชยคนถามก่อนนะครับ แสดงว่าคนถามคำถามข้อนี้เป็นคนช่างสังเกตคนหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ใช่วิศวกรก็ตาม แต่ ต้องถือว่าตั้งคำถามที่วิศวกรหลายๆ ท่านยังไม่สามารถตอบได้เลยนะครับ

ผมขออนุญาตตอบเพื่อนท่านนี้แบบนี้นะครับว่า ใช่ แล้วครับ ผมขอยืนยันตามที่แจ้งไปก่อนหน้านี้ครับว่า เราจะทราบความสามารถในการรับ นน ของเสาเข็มที่แน่นอนนั้นเราจำเป็นที่จะต้องทำการเจาะสำรวจดินเสียก่อน ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากข้อเท็จจริงประการนี้อย่างแน่นอนครับ ส่วนเหตุผลว่าเหตุใดทำไมเสาเข็มทั่วๆ ไป หรือ เสาเข็มสั้น เค้ามักจะมีคำพูดพ่วงท้ายมาเลยว่าเสาเข้มต้นนั้นๆ จะสามารถรับ นน ปลอดภัยได้เท่ากับค่านั้นค่านี้ นั่นเป็นเพราะว่า ตัวเลขดังกล่าวนั้นเค้าทำการประมาณการออกมาตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครข้อ 67 ที่ได้ระบุเอาไว้ว่า หากไม่มีผลการสำรวจดินที่สามารถที่จะเชื่อถือได้ให้ทำการออกแบบเสาเข็มโดยให้เสาเข็มนั้นเป็นเสาเข็มแรงฝืด (SKIN FRICTION PILE) เพียงเท่านั้น ดังนั้น นน บรรทุกปลอดภัยจะทำการคำนวณจาก

Pa = f Po L

โดยที่
Pa คือ ค่า นน บรรทุกปลอดภัยที่ยอมให้
f คือ หน่วยแรงฝืดในชั้นดิน
Po คือ เส้นรอบรูปของเสาเข็ม
L คือ ความยาวของเสาเข็ม

ต้องมีการคำนวณตามเกณฑ์ที่ว่า สำหรับดินที่อยู่ในระดับที่ลึกไม่เกิน 7 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ใช้หน่วยแรงฝืดของดินไม่เกิน 600 KSM และ สำหรับดินที่อยู่ในระดับที่ลึกเกินกว่า 7 เมตร ใต้ระดับน้ำทะเลปานกลาง หากค่า L คือ ความยาวของเสาเข็มส่วนที่มีความลึกมากกว่า 7 เมตร ให้ใช้หน่วยแรงฝืดของดิน เฉพาะ ส่วนที่ลึกเกินกว่า 7 เมตร ลงไปเท่ากับ 800 + 200L

เรามาดู ตย สั้นๆ ในรูปที่แนบมาในโพสต์ๆ นี้ประกอบได้นะครับ ในตารางนี้ระบุให้ทราบถึงค่าความสามารถในการรับ นน ของเสาเข็มสั้นตัว ไอ ขนาด สผก เท่ากับ 120 มม และ ไอ ขนาด สผก เท่ากับ 150 มม โดยที่ในตารางๆ นี้จะระบุข้อมูลให้ทราบด้วยว่าเสาเข็มแต่ละหน้าตัดนั้นมีขนาด พท หน้าตัด และ เส้นรอบรูป และ ค่าความสามารถในการรับ นน ของเสาเข็มที่ค่าความลึกของเสาเข็มที่แตกต่างกัน เป็นเท่าใด

ในตารางๆ นี้ได้ระบุเอาไว้ว่าเสาเข็ม ไอ ขนาด สผก เท่ากับ 150 มม ความลึกเท่ากับ 6 เมตร จะสามารถรับ นน ได้เท่ากับ 2,160 kGF วันนี้เราจะมาทำการคำนวณหาค่า นน บรรทุกนี้ด้วยหลักการตามที่ได้ระบุเอาไว้ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครข้อ 67 กันนะครับ

ข้อมูลจากตารางๆ นี้ระบุเอาไว้ว่าเสาเข็ม ไอ ขนาด สผก เท่ากับ 150 มม นั้นมีเส้นรอบรูป Po เท่ากับ 60 CM นะครับ ดังนั้นสำหรับความลึก L เท่ากับ 6 เมตร ซึ่งจะมีค่าน้อยกว่า 7 เมตร ตามที่ได้ระบุเอาไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครข้อ 67 ดังนั้นค่าหน่วยแรงฝืดของชั้นดินที่ยอมให้ f จะมีค่าเท่ากับ 600 KSM สำหรับค่าความสามารถในการรับ นน บรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม Pa นั้นจะสามารถคำนวณได้จาก

Pa = f Po L = 600 x 0.60 x 6 = 2,160 KGF

จะเห็นได้ว่า นน บรรทุกที่คำนวณได้นั้นจะมีค่าเท่ากับค่าที่ได้ระบุเอาไว้ในตารางเลยนะครับ และ หากเพื่อนๆ ดูในหมายเหตุข้างล่างตารางนี้จะพบข้อความที่ระบุเตือนด้วยนะครับว่า ก่อนการใช้งานเสาเข็ม ให้ทำการปรึกษาวิศวกรเสียก่อน และ ให้ทำการตรวจสอบความสามารถในการรับ นน ของเสาเข็มให้มีความสอดคล้องกันกับพื้นที่ หรือ ประเภทของการใช้งานเสาเข็มด้วย ซึ่งข้อเท็จจริงอันนี้เองก็คือสิ่งที่ผมได้พยายามที่จะพูดและอธิบายกับเพื่อนๆ มาโดยตลอดว่า เหตุใดการทำการทดสอบคุณสมบัติขิงดินจึงมีความสำคัญมากๆ ในโครงการงานก่อสร้างของเรานะครับ

ดังนั้นก็ขอให้เพื่อนๆ ทุกๆ คนช่วยกันตระหนักดีถึงข้อเท็จจริงประการนี้ และ ขอให้ทำการออกแบบและกำหนดค่าความสามารถในการรับ นน ของเสาเข็มให้มีความ สอดคล้อง และ เหมาะสม ด้วยก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดต่อเสาเข็มที่จะใช้โครงการงานก่อสร้างของเพื่อนๆ นั่นเองนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com