การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)
การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)
วันนี้ผมจะมาทำการเฉลยปัญหาข้อที่ผมได้ถามเพื่อนๆ เอาไว้เมื่อวานกัน ไม่ทราบว่าเป็นยังไงบ้างเอ่ย ผมหวังว่าปัญหาข้อนี้จะไม่ได้ยากเย็นจนเกินไปนักนะครับ เพราะ สาเหตุที่ผมนำปัญหาข้อนี้มาถามเพื่อนๆ ก็เพื่อเป็นการฝึกกระบวนการๆ คิดน้ำหนักเพื่อที่จะทำการออกแบบตัวโครงสร้างเสาเข็มในองค์อาคารหนึ่งๆ ซึ่งในที่นี้เป็นองค์อาคารถังบำบัดน้ำเสียชนิดฝังดินซึ่งไม่น่าที่จะมีความยากมากจนเกินไป
เอาละ ก่อนอื่นเรามาลองทวนคำถามข้อนี้กันสักเล็กน้อยก่อนก็แล้วกันนะครับ
จากรูปจะเห็นได้ว่า ผมต้องการที่จะทำการฝังถังบำบัดไว้ในบริเวณสวนด้านหลังบ้านที่มีขนาดความจุเท่ากับ 1800 ลิตรไว้ใต้ดิน โดยที่จะใช้ฐาน คสล ขนาดความหนา 0.20 M มีขนาดความกว้างและความยาวเท่ากับ 2.00×2.00 M รองอยู่ที่ด้านล่าง หากว่าดินที่จะนำใช้ในการถมนั้นเป็นดินอ่อนซึ่งมีหน่วย นน ของดินเท่ากับ 1.60 T/CU.M และ ผมได้ให้เพื่อนๆ ลองมาช่วยผมทำการคำนวณดูหน่อยดีมั้ยครับว่า นน ที่เราจะต้องทำการออกแบบเพื่อให้โครงสร้างเสาเข็มนั้นมารับที่ด้านล่างของฐาน คสล นี้ควรที่จะมีค่าเป็นเท่าใหร่ดี โดยที่เพื่อนๆ สามารถที่จะให้สมมติฐานต่างๆ ที่ใช้ในการตอบเพิ่มเติมได้ตามที่เพื่อนๆ ต้องการ
สำหรับขั้นตอนในการทำควรเราอาจทำการคำนวณให้เป็นลำดับขั้นตอนดังนี้นะครับ
1. กำหนดวิธีในการคำนวณ
เราอาจจะกำหนดขึ้นมาจากการประเมินเสียก่อนว่าวิธีการคำนวณแบบใดถึงจะมีความเหมาะสม เช่น เราจะใช้วิธีใดระหว่าง วิธีอย่างง่าย หรือ การประมาณการ กับ วิธีคิดโดยละเอียด หรือ วิธีอย่างยาก เป็นต้น ซึ่งในที่นี้ผมจะใช้ วิธีอย่างง่าย ในการคำนวณ เพราะ โครงสร้างๆ นี้ไม่ได้มีระดับความสำคัญอะไรมากมายนัก เราจึงอาจที่จะประหยัดเวลาและวิธีในการคิดคำนวณต่างๆ ลงไปได้ตามความเหมาะสม
2. ทำการกำหนดชนิดของน้ำหนักที่จะกระทำกับโครงสร้าง
แน่นอนว่าน้ำหนักที่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างประเภทนี้จะมีเฉพาะแรงในแนวดิ่ง (VERTICAL LOAD) เท่านั้น เพราะ ต่อให้เกิดน้ำหนักทางด้านข้าง (HORIZONTAL LOAD) ใดๆ ขึ้นในโครงสร้างมันก็จะเกิดความสมดุลในตัวดินเอง ดังนั้นน้ำหนักในแนวดิ่งทั้งหมดอาจจะประกอบด้วย 3S นั่นก็คือ
2.1 น้ำหนักของดินถม (SOIL)
2.2 น้ำหนักของถังบำบัด (SANITARY)
2.3 น้ำหนักอื่นๆ ที่กระทำที่บนพื้นดิน (SURCHARGE)
3. ทำการคำนวณขนาดของน้ำหนักต่างๆ
ดังนั้นเราจะมาทำการคำนวณหาค่าน้ำหนักต่างๆ ทีไ่ด้กล่าวถึงไว้ในข้อที่ 2 กันนะครับ
3.1 คำนวณหาขนาดของน้ำหนักของดินถม
ปริมาณดินถมทั้งหมด ซึ่งสำหรับกรณีๆ นี้ผมจะคิดปริมาตรดินเต็ม ไม่ต้องทำการหักขนาดของถังบำบัดจริงๆ ออกไป
W SOIL = 2x2x1.8×1.6 = 11.52 T
3.2 คำนวณหาขนาดของน้ำหนักของถังบำบัด
เราก็คิดง่ายๆ เฉพาะตัวขนาดของน้ำเสีย ไม่ต้องหาน้ำหนักจริงๆ ของถังบำบัดก็ได้ เพราะ วัสดุที่ใช้ทำถังบำบัดนั้นค่อนข้างจะน้อยมาก ซึ่งเราได้เผื่อเอาไว้ในหัวข้อที่ 3.1 เรียบร้อยแล้ว
W SANITARY = 1800/1000 = 1.8 T
3.3 คำนวณหาขนาดของน้ำหนักของ SURCHARGE หรือ น้ำหนักอื่นๆ ที่จะกระทำที่ด้านบนผิวพื้น
สำหรับกรณีนี้ผมได้กำหนดแล้วว่าพื้นดินบริเวณนี้เป็น สวน ดังนั้นน้ำหนักบรรทุกทางด้านจะเป็นแค่น้ำหนักพื้นฐานเท่านั้น ไม่ได้มีน้ำหนักอะไรที่มากมายมากระทำ เช่น น้ำหนักจรสูงๆ น้ำหนักเครื่องจักร หรือ น้ำหนักของยานพาหนะต่างๆ เป็นต้น เพราะ หากเพื่อนๆ ประมาณแล้วว่ามีน้ำหนักอื่นๆ ก็สามารถที่จะนำมาคิดคำนวณได้ ดังนั้นผมจะใช้ SURCHARGE เท่ากับน้ำหนักบรรทุกจรทั่วๆ ไปนะครับ
W SURCHARG = 0.3x2x2 = 1.2 T
4. ทำการรวมน้ำหนักทั้งหมดข้างต้น
โดยที่น้ำหนักทั้งหมดก็จะได้จากการนำผลการคำนวณในข้อที่ 3 มารวมกัน (SUMMATION) ซึ่งน้ำหนักนี้จะถือว่าเป็นน้ำหนักน้อยที่สุดที่ทำการออกแบบ (MINIMUM DESIGN LOAD) นะครับ
W TOTAL = 11.52 + 1.8 + 1.2 = 14.52 T
5. นำค่าขนาดของน้ำหนักในข้อที่ 4 ไปทำการเลือกขนาดและความยาวของเสาเข็มที่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการทำงานก่อสร้างจริง เพราะ เหมือนที่หลายๆ ครั้งที่ผมมักจะพูดให้ฟังอยู่เสมอว่า การเลือกชนิด ขนาด และ ความยาวของเสาเข็มในแต่ละสถานที่แต่ละโครงการนั้นอาจมาจากหลักการที่แตกต่างกันก็ได้ สำคัญว่า เรามีความต้องการที่จะควบคุมให้สิ่งใดนั้น เกิดขึ้น และ มิให้เกิดขึ้น กับตัวโครงสร้างของเรานั่นเองนะครับ
REF: www.facebook.com/bhumisiam
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun Micro Pile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ?
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.MicroPile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449