การวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีและซอฟต์แวร์ทางไฟไนต์อีลีเมนต์ (STRUCTURAL ANALYSIS BY FINITE ELEMENTS ANALYSIS METHOD & SOFTWARE หรือ FEM)
การวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีและซอฟต์แวร์ทางไฟไนต์อีลีเมนต์ (STRUCTURAL ANALYSIS BY FINITE ELEMENTS ANALYSIS METHOD & SOFTWARE หรือ FEM)
เนื่องจากมีรุ่นพี่วิศวกรที่ผมรักและเคารพของผมท่านหนึ่งได้ทำการสอบถามผมเข้ามาที่หลังไมค์เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ทางไฟไนต์อีลีเมนต์ว่า
“ที่ตำแหน่งของ จุดต่อ แบบยึดหมุนที่สามารถเคลื่อนทีได้ในแนวดิ่ง (VERTICAL ROLLER SUPPORT) ดังที่แสดงในรูปๆ นี้ อยากจะถามว่า หากเราทำการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ขึ้นโดยใช้ซอฟต์แวร์ทางไฟไนต์อีลีเมนต์ที่มีชื่อว่า STAAD.PRO จะมีวิธีการกำหนดลงไปในโปรแกรมได้อย่างบ้าง ?”
ไม่เสียเวลาพูดมากนะครับ เจ็บคอ เรามาดูวิธีในการที่จะทำการป้อนคำสั่งสร้าง VERTICAL ROLLER SUPPORT ในซอฟต์แวร์ทางไฟไนต์อีลีเมนต์ที่มีชื่อว่า STAAD.PRO ผ่าน ตย ที่ผมจะทำให้ดูกันเลยก็แล้วกันนะครับ
ก่อนอื่นเราก็ทำการป้อนค่าทุกๆ อย่างให้ครบถ้วนเสียก่อนนะครับ โดยเริ่มจาก TAB หลักๆ ก่อน คือ GEOMETRY และ GENERAL
พอเราทำการป้อนค่าทุกๆ อย่างลงไปแล้วก็จะมาถึง TAB ย่อยที่มีชื่อว่า SUPPORT เราก็เลือกที่จะ CREATE ตัวจุดรองรับ จากนั้นก็เลือก TAB ที่มีชื่อว่า FIXED BUT
จากนั้นเพื่อที่จะให้จุดต่อๆ นี้มี BOUNDARY CONDITIONS เป็นแบบ VERTICAL ROLLER SUPPORT ผมก็จะใส่ค่า KFX และ KFZ ด้วยค่าที่มากที่สุดที่จะใส่ได้ เช่น ในกรณีรูป ตย นี้ผมใส่ค่า KFX และ KFZ เท่ากับ 1,000,000 T/M เป็นต้น และ สุดท้าย คือ ทำการใส่ค่า KMX KMY และ KMZ และ KFY ให้มีค่าเท่ากับ 0 นะครับ
จากนั้นก็ทำการวิเคราะห์โครงสร้างตามปกติ ซึ่งจากผลการวิเคราะห์โครงสร้างก็จะพบว่า จุดต่อที่เราตั้งใจสร้างให้เป็น VERTICAL ROLLER SUPPORT นั้นจะมีค่าการเสียรูปเฉพาะในแนวดิ่ง (VERTICAL DISPLACEMENT) เท่ากับ 3.345 MM เท่านั้น โดยที่ค่าการเสียรูปในแนวราบ (HORIZONTAL DISPLACEMENT) ทั้งตามแกน X และ Z นั้นจะมีค่าเท่ากับ 0 หรือ มีค่าน้อยมากๆ เช่น ค่าการเสียรูปในแนวราบตามแกน X จะมีค่าเท่ากับ 0.001 MM ส่วน ค่าการเสียรูปในแนวราบตามแกน Z จะมีค่าเท่ากับ 0 เป็นต้น ซึ่งในที่สุดเราก็จะสามารถอนุมานได้ว่าในจุดต่อๆ นี้จะไม่มีการเสียรูปเกิดขึ้นในทิศทางดังกล่าวเลยนะครับ
เราจะเห็นได้ว่า เราสามารถที่จะนำหลักการความแข็งแกร่งของสปริง (SPRING STIFFNESS) มาใช้ในการกำหนดชนิดของจุดรองรับได้ เพราะ จากลักษณะของการเสียรูปใน ตย ข้างต้นเราก็จะเห็นได้ว่า ลักษณะของการเสียรูปของจุดต่อนั้นจะมีความสอดคล้องกันกับ BOUNDARY CONDITIONS ของจุดต่อที่เป็น VERTICAL ROLLER SUPPORT นั่นเองนะครับ
REF: www.facebook.com/bhumisiam
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun Micro Pile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ?
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.MicroPile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449