การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างอาคารสูง (TALL BUILDING DESIGN หรือ TBD)

การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างอาคารสูง (TALL BUILDING DESIGN หรือ TBD)

การเปรียบเทียบงานก่อสร้างโครงสร้างด้วย ระบบโครงสร้างหล่อในที่ (CAST IN PLACE STRUCTURAL SYSTEM) กับ ระบบโครงสร้างสำเร็จรูป (PRE-CAST STRUCTURAL SYSTEM) ว่าวิธีการใดจะดีกว่ากัน ?

micropile-spun-micro-spunmicropile-tbd
หากเราจะสรุปว่า ระบบใด ระบบหนึ่ง จะมีข้อดีมากกว่ากันโดยที่จะพูดถึงเพียงในแง่ใดแง่หนึ่งนั้นคงจะทำไม่ได้นะครับ เพราะ เมื่อใดหากจะทำการเปรียบโครงสร้างระหว่างระบบใดระบบหนึ่ง เราจำเป็นต้องมีทั้ง ตัวแปรต้น และ ตัวแปรตาม
ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เราจะต้องทำการควบคุมให้มีความเหมือนๆ กันในการเปรียบเทียบ ซึ่งหากพูดถึงการเปรียบเทียบระบบโครงสร้างที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ก็อาจจะได้แก่ ขนาดของเหล็กเสริม และ วิธีการในการหล่อ โครงสร้างเสา ต้องมีความเหมือนกัน นน บรรทุกที่กระทำบนโครงสร้างทั้งแรงกระทำใน แนวดิ่ง และแรงกระทำ ทางด้านข้าง ในโครงสร้าง คาน และ เสา ใต้องมีขนาดที่เท่าๆ กัน องค์ประกอบภายนอกอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ โครงสร้างต้องมีความเหมือนกัน เป็นต้น
ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่อาจจะเปลี่ยนไปเนื่องจากเงื่อนไขต่างๆ ที่เราต้องการที่จะเปรียบเทียบ ซึ่งหากพูดถึงการเปรียบเทียบระบบโครงสร้างที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ก็อาจจะได้แก่ รายละเอียดต่างๆ ของเหล็กเสริม และ วิธีการในการหล่อ วิธีการติดตั้ง โครงสร้าง คาน และ เสา อาจต้องมีความแตกต่างกันออกไป องค์ประกอบภายในอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวโครงสร้างอาจต้องมีความแตกต่างกันออกไป เป็นต้น

จากนั้นก็ต้องนำทุกๆ ประเด็นมาเปรียบเทียบกันทั้งหมด เช่น ประเด็นเรื่องความแข็งแรงต่อการรับ นน ทั้งใน แนวดิ่ง และ แนวราบ ประเด็นเรื่องความสามารถในการต้านทานต่อการโก่งตัวทั้งใน แนวดิ่ง และ แนวราบ ประเด็นเรื่องความมั่นคงและความยากง่ายในการดูแลรักษาของตัวโครงสร้าง ประเด็นเรื่องความยากง่ายในขั้นตอนของการก่อสร้าง ประเด็นในเรื่องของความประหยัดทั้ง ค่าแรง และ ค่าวัสดุ เป็นต้นนะครับ โดยที่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้วจะทำการตัดสินใจว่าระบบใดที่จะมีความเหมาะสมที่จะมาใช้งานมากกว่ากัน ก็ขึ้นอยู่กับว่า ณ สถานที่ก่อสร้างของเรานั้นมีข้อจำกัดทางด้านใดบ้าง หากพบว่าข้อจำกัดของเรานั้นไม่ตรงกันกับระบบโครงสร้างใดโครงสร้างหนึ่ง เมื่อนั้นเราถึงจะสามารถพูดได้ว่าระบบโครงสร้างใดที่ควรนำมาใช้ในงานก่อสร้างครับ

วันนี้ผมจึงนำ ตย เล็กๆ ตย หนึ่งมาให้เพื่อนๆ ดูนะครับ โดยที่ผมทำการสร้างแบบจำลองขึ้นในโปรแกรมทาง FINITE ELEMENT โดยที่โครงสร้างทางซ้ายมือ เป็นตัวแทนของระบบโครงสร้างที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างหล่อในที่ และ โครงสร้างทางขวามือ เป็นตัวแทนของระบบโครงสร้างที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป

โดยจะสามารถสังเกตเห็นได้ว่าในโครงสร้าง เสา ในทั้งสองโครงสร้างจะมีจุดรองรับเป็นแบบยึดแน่น (FIXED SUPPORT) ทั้งคู่ โดยที่ผมให้ ขนาดขององค์อาคาร และ นน บรรทุกที่กระบนโครงสร้าง เสา และ คาน ในทั้งสองโครงสร้างนั้นมีขนาดที่เท่าๆ กัน ซึ่งโครงสร้างทั้งสองจะมีเพียงอย่างเดียวที่มีความแตกต่างกันนั่นก็คือ ในโครงสร้างทางขวามือผมทำการปลดแรงโมเมนต์ดัดออกไป (END MOMENT RELEASE) เพื่อเป็นการจำลองพฤติกรรมที่ของโครงสร้าง คาน สำเร็จรูปจะเป็น นั่นก็คือที่ คาน จะถูกทำการหล่อสำเร็จมาจากโรงงาน และ ถูกยกมาติดตั้งที่หน้างาน

ผลการวิเคราะห์โครงสร้างปรากฏว่า ทั้งสองโครงสร้างจะให้ผลตอบสนองที่แตกต่างกันนะครับ ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ พฤติกรรมทางด้านการโก่งตัวเมื่อต้องรับแรงกระทำทางด้านข้าง โดยที่จุดต่อหมายเลข 26 จะแสดงให้เห็นว่ามีระยะการเสียรูปในแนวราบทั้งหมดประมาณ 7 มม ในขณะที่จุดต่อหมายเลข 28 จะแสดงให้เห็นว่ามีระยะการเสียรูปในแนวราบทั้งหมดสูงถึง 144 มม พูดง่ายๆ คือ หากเราใช้ ระบบในการก่อสร้าง และ รายละเอียดต่างๆ ในการเสริมเหล็ก ของโครงสร้างเสาที่เหมือนๆ กันก็จะเห็นได้ว่า ระบบโครงสร้างสำเร็จรูป นั้นจะมีสมรรถนะทางด้านการโก่งตัวทางด้านของโครงสร้างที่ ด้อยกว่า ระบบโครงสร้างหล่อในที่ ซึ่งจากเหตุผลข้างต้นที่ผมนำมายก ตย ก็จะอธิบายได้ว่า เพราะเหตุใดผมถึงมักที่จะพูดและให้คำแนะนำอยู่บ่อยๆ ว่า ขนาด และ รายละเอียด ต่างๆ ของหน้าตัดและเหล็กเสริมของ โครงสร้างเสา ภายใน ระบบโครงสร้างสำเร็จรูป จึงมักที่จะมีความสิ้นเปลืองมากกว่า ระบบโครงสร้างหล่อในที่ นะครับ

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun Micro Pile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ?
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.MicroPile

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449