สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ หัวข้องานวิศวกรรมอื่นๆ (MISCELLANEOUS ENGINEERING TOPICS หรือ MET) นะครับ
วันอาทิตย์วันสบายๆ แบบนี้ผมมีเทคนิคในการทำแบบวิศวกรรมโครงสร้างที่ดีอย่างหนึ่งมาฝากให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ โดยหากเพื่อนๆ นำหลักการๆ นี้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อนๆ จะสามารถทำการอ่านแบบและดูรายละเอียดต่างๆ ที่ค่อนข้างที่จะง่าย แถมการทำแบบในลักษณะนี้ยังสามารถที่จะลดความผิดพลาดในการทำงานโครงสร้างลงได้มากวิธีการหนึ่งด้วยนะครับ
(รูปที่ 1)
ก่อนอื่นผมขอให้เพื่อนๆ เริ่มดูแปลนวิศวกรรมโครงสร้างของบ้านเล่นระดับหลังนี้ในรูปที่ 1 ก่อนก็แล้วกันนะครับ หากดูแล้วเพื่อนๆ จะพบว่าในแบบวิศวกรรมชุดนี้ไม่ได้แสดงรายละเอียดต่างๆ ของค่าระดับที่ควรจะต้องสอดคล้องกันกับในแบบสถาปัตยกรรม เอาไว้เลย ทำให้เราไม่อาจที่จะทราบได้โดยตรงจากแบบโครงสร้างชุดนี้ว่าระดับหลังโครงสร้างที่ควรที่จะได้รับการลดระดับงานปูผิวที่เป็นงานสถาปัตยกรรมนั้นควรจะอยู่ที่ระดับเท่าใดนะครับ
(รูปที่ 2)
หากมาดูรูปที่ 2 ต่อซึ่งก็คือรูปเดียวกันกับรูปที่ 1 แต่ ครั้งนี้เพิ่มรายละเอียดเรื่องระดับต่างๆ ของแต่ละพื้นที่ซึ่งจะมีความสอดคล้องกันกับงานสถาปัตยกรรมลงไปด้วย จะพบว่าแบบชุดนี้จะช่วยให้การดูแบบนั้นทำได้ง่ายยิ่งขึ้นมากๆ เลยโดยที่เราไม่จำเป็นที่จะต้องทำการเปิดทั้งแบบสถาปัตยกรรมและแบบวิศวกรรมโครงสร้างกลับไปกลับมาพร้อมๆ กันอีกต่อไปแล้ว ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยากได้เยอะเลย แถมยังมีการอธิบายเอาไว้ด้วยว่าค่าระดับในแบบวิศวกรรมโครงสร้างชุดนี้เป็นระดับที่อ้างอิงมาจากแบบสถาปัตยกรรมอย่างไร คราวนี้ผมอยากที่จะให้เพื่อนๆ ทำการสังเกตคานหมายเลข P1 P2 P3 และ P4 ที่แสดงอยู่ในแปลนรูปนี้ให้ดีๆ นะครับ
(รูปที่ 3)
(รูปที่ 4)
หากมาดูรูปที่ 3 และ 4 จะพบว่ารายละเอียดของ PROFILE ของการเดินเหล็กเสริมในคานจริงๆ นั้นจะออกมามีหน้าตาเป็นเช่นในรูปเหล่านี้นะครับ ดังนั้นหากทางผู้ทำการออกแบบตั้งแต่ต้นนั้นไม่ทำการ CLEAR ค่าระดับเหล่านี้เอาไว้ตั้งแต่ทีแรก ก็คงจะไม่มีใครมานั่งทำรายละเอียดเหล็กเสริมนี้เช่นกันนะครับ ซึ่งในตอนเริ่มแรกเริ่มนั้นทางผู้ออกแบบหรือทางเจ้าของงานเองก็คงจะไม่มีใครทราบว่าได้ว่าใครจะมาเป็นผู้ทำการก่อสร้างให้แก่เราเพราะโดยมากแล้วในขั้นตอนของการออกแบบนั้นถือว่าเป็นขั้นตอนในตอนต้น ยังไม่ถึงขั้นตอนในการเปิดประมูลจัดหาผู้มาทำงานก่อสร้างนะครับ ทำให้เราไม่อาจที่จะทราบได้ว่าใครที่จะมาเป็นผู้ทำการก่อสร้างให้แก่โครงการของเรา ไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่จะมาทำการก่อสร้างนั้นจะมีมาตรฐานการทำงานดีหรือด้อยเพียงใด ? ไม่อาจทราบได้ว่าคนคุมงานและช่างที่ทำงานก่อสร้างของผู้ทำการก่อสร้างนั้นจะมีความรู้ดีเพียงพอหรือไม่ ?
ดังนั้นหากไม่ทำการจัดการรายละเอียดเหล่านี้ตั้งแต่ตอนต้นแล้วหน้าที่ตรงนี้ก็จะต้องตกเป็นของผู้ทำงานก่อสร้างที่หน้างานซึ่งเราก็ไม่อาจที่จะทราบได้อีกว่าที่หน้างานนั้นจะมีใครเป็นผู้ปฏิบัติงานบ้าง หากโชคดีหน่อยก็อาจมีวิศวกรที่มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์มากพอที่จะคอยจัดทำรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้เพื่อประสานขอการอนุมัติมายังผู้ออกแบบก่อนการดำเนินจริงๆ แต่ หากโชคร้ายหน่อยก็อาจที่จะเจอแค่โฟร์แมน หรือ หากโชคร้ายสุดๆ ก็อาจที่จะเจอช่างก่อสร้างทั่วๆ ไปที่ไม่มีความรู้ด้านการอ่านและจัดการายละเอียดต่างๆ ของแบบ หากเจอแบบนี้ผู้ออกแบบก็จะเหนื่อยหนักหน่อยนะครับ เพราะ จะทำให้ขั้นตอนการก่อสร้างนั้นช้าแถมการทำงานยังไม่ทำให้เกิดความประหยัด และ ในกรณีที่มีความรุนแรงมากที่สุดก็คือ การทำการจัดการรายละเอียดเหล่านี้โดยขาดวิชาความรู้ทางด้านงานวิศวกรรมโครงสร้างที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจที่จะทำให้โครงสร้างนั้นสูญเสียความมั่นคงแข็งแรงรวมไปถึงเสถียรภาพของตัวโครงสร้างไปได้อีกด้วยนะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านมีวิธีการในการแสดงรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญๆ ในแบบวิศวกรรมโครงสร้าง เช่น รายละเอียดเรื่องค่าระดับ รายละเอียดเรื่องการเสริมเหล็กในตัวโครงสร้าง เป็นต้น อาจจะด้วยวิธีการเดียวกัน คล้ายๆ กัน หรือ ด้วยวิธีการอื่นๆ ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพเฉกเช่นเดียวกัน ผมก็อยากที่จะขอให้คำแนะนำแก่เพื่อนๆ นำมาปรับใช้ด้วยก็จะเป็นการดีที่สุดนะครับ โดยที่เพื่อนๆ อาจที่จะไม่จำเป็นที่จะต้องทำตามหรือยึดติดกับรูปแบบเหมือนกันกับในแบบที่ผมได้นำมาให้เพื่อนๆ ได้ดูเป็นตัวอย่างก็ได้นะครับ เพราะ แบบที่ผมนำมาให้ดูเป็นตัวอย่างในวันนี้เป็นแบบที่ออฟฟิศออกแบบของผมนั้นเป็นคนทำขึ้นเพราะสุดท้ายแล้วในฐานะที่ตัวของผมเองเป็นวิศวกรโครงสร้าง ผมมองว่าการทำงานการ สื่อสาร งานออกแบบด้วยการเขียนออกมาเป็นแบบนั้นอาจทำด้วยวิธีการที่อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้างถือเป็นเรื่องปกติและธรรมดามาก เพราะ หากว่าวิธีการนั้นๆ ทำออกมาแล้วได้ประสิทธิภาพในการสื่อสารที่เหมือนกัน หรือ ใกล้เคียงกัน ผมก็ถือว่าวิธีการนั้นๆ สามารถที่จะใช้ได้เหมือนกันนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com