สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ
สืบเนื่องจากเมื่อประมาณสองถึงสามสัปดาห์ก่อนหน้านี้ได้มีแฟนเพจท่านหนึ่งได้ทำการสอบถามเข้ามาในอินบ็อกซ์ส่วนตัวของผมโดยมีใจความของข้อความว่า “ทราบมาว่าตัวผมนั้นทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบและผู้ควบคุมการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเป็นหลัก เลยอยากจะถามว่าจากประสบการณ์ส่วนตัวของผมนั้นเคยเจอกรณีใดที่มีการทำงานการก่อสร้างเสาเข็มที่มีคุณภาพแบบแย่ๆ เป็นอย่างไรบ้าง ถ้าหากว่าเป็นไปได้ก็อยากให้ผมนั้นยกตัวอย่างเป็นรูปหรือกรณีประกอบคำอธิบายด้วยก็น่าจะดีครับ”
จริงๆ ผมก็คิดอยู่นานนะว่าจะเอาอย่างไรดีเพราะมีหลายๆ โครงการเลยที่เป็นกรณีแบบนี้ ซึ่งผมคิดไปคิดมาแล้วผมจึงตัดสินใจขอยกเอากรณีศึกษาจากโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่งก็แล้วกัน ซึ่งผมก็จะขอออกตัวเอาไว้ก่อนล่วงหน้าเลยว่า เนื่องด้วยจรรยาบรรณทางวิชาชีพผมจะขออนุญาตที่จะไม่เปิดเผยชื่อหรือรายละเอียดๆ ต่างๆ ของเจ้าของงานและทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างในโครงการๆ นี้เพราะสาเหตุที่ผมได้นำเอากรณีๆ นี้มาพูดให้เพื่อนๆ ฟังก็เพียงเพื่อใช้เป็นกรณีศึกษา เพื่อนๆ จะได้รับทราบเอาไว้เป็นอุทาหรณ์ในการทำงานนั่นเองครับ
เหตุการณ์ๆ นี้เกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ผมได้ลงพื้นที่ทำงานก่อสร้างเพื่อที่จะตรวจการทำงานในโครงการงานก่อสร้างอาคารสาธารณะอาคารหนึ่ง โดยที่ผมไม่ได้มีการแจ้งล่วงหน้าไปทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างก่อนที่จะเดินทางเข้าไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ปกติที่ผมมักจะทำอยู่แล้ว ที่ผมทำแบบนี้ก็เนื่องมาจากผมต้องการที่จะเห็นสถานการณ์จริงๆ ในการทำงาน ไม่ใช่งานผักชีโรยหน้าที่ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างมักจะทำเพราะผมมองว่านอกจากการที่อาคารหลังนี้เป็นอาคารสาธารณะแล้ว ก็ต้องถือว่าอาคารหลังนี้เป็นอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งจะต้องมีการใช้งานของผู้คนจำนวนมากเกือบจะในทุกๆ วันเลยก็ว่าได้ โดยเมื่อไปถึงหน้างานผมก็ได้พบกับหนึ่งในหลายๆ ปัญหานั่นก็คือที่หน้างานนั้นมีการวางตำแหน่งของโครงสร้างตอม่อ โครงสร้างเสาเข็มและโครงสร้างฐานรากโดยเกิดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนออกไปจากตำแหน่งและรายละเอียดทีผมได้ทำการออกแบบเอาไว้แต่ไม่มีการแจ้งหรือรายงานกลับมายังผู้ออกแบบเลย เช่น ในโครงสร้างฐานรากที่เห็นในรูปที่ 1 นั้นจะเป็นโครงสร้างฐานรากแบบมีเสาเข็มจำนวน 6 ต้นหรือ F6 ที่ผมได้ทำการกำหนดให้ใช้เป็นเสาเข็มต้นใหญ่ทั้งหมดแต่ที่ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างกลับใช้เสาเข็มต้นเล็กมาตอกแซมอยู่ในฐานรากนี้โดยที่ไม่มีการรายงานผลดังกล่าวให้แก่ผู้ออกแบบหรือผู้ควบคุมงานทราบเลย ในรูปที่ 2 บ้างซึ่งก็จะเป็นโครงสร้างฐานรากแบบมีเสาเข็มจำนวน 2 ต้นหรือ F2 ที่ตามปกติแล้วเป็นที่ทราบดีว่าโครงสร้างฐานรากแบบนี้เราแทบจะไม่ยอมให้เกิดระยะเยื้องศูนย์ของโครงสร้างเสาเข็มเลยแต่จากในรูปจะเห็นได้ว่าจะเกิดระยะเยื้องศูนย์ตามทิศทางทางแกน Y ในโครงสร้างเสาเข็มทั้ง 2 ต้นเลย ซึ่งก็เหมือนกันกับในรูปๆ แรกนั่นก็คือไม่มีการรายงานผลดังกล่าวให้แก่ผู้ออกแบบหรือผู้ควบคุมงานทราบเลย เป็นต้นครับ
ซึ่งสาเหตุของปัญหานั้นก็เกิดจากการที่ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างนั้นขาดคุณสมบัติหลักสองข้อที่มีความสำคัญซึ่งผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างทุกๆ คนควรจะมีนั่นก็คือ ข้อที่หนึ่งคือ ความรู้และประสบการณ์ในการทำงานที่มีความถูกต้องตามหลักการทางด้านวิศวกรรมเพราะหากเค้ามีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานจริงๆ แล้วเค้าจะไม่ยอมให้เกิดความผิดพลาดเช่นนี้ขึ้นอย่างแน่นอน ข้อที่สองก็คือ ขาดซึ่งจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในการทำงานเพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ๆ นี้ขึ้นแล้วแต่ไม่มีการรายงานผลดังกล่าวให้แก่ผู้ออกแบบหรือผู้ควบคุมงานทราบ ซึ่งอย่างน้อยหากทางผู้ออกแบบรับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จะได้ช่วยกันคิดและวิเคราะห์ถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่มีความเหมาะสมและถูกต้องตามหลักการทางด้านวิศวกรรม
ผมมีความคาดหวังว่าจากกรณีศึกษากรณีนี้ที่ผมได้นำเอามาอธิบายและแชร์ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานกับเพื่อนๆ ในวันนี้น่าที่จะช่วยทำให้เพื่อนๆ หลายๆ คนนั้นเล็งเห็นและรับทราบถึงความสำคัญของสองๆ สิ่ง ข้อแรก เพราะเหตุใดจึงมีความจำเป็นที่เราควรเลือกใช้งานผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างที่มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานที่มีความถูกต้องตามหลักการทางด้านวิศวกรรมและข้อที่สอง เพราะเหตุใดเราจึงมีความจำเป็นที่ควรจะต้องให้มีวิศวกรผู้ควบคุมการทำงานประจำอยู่ที่หน้างานตลอดระยะเวลาของการทำงานวิศวกรรมโครงสร้างเพราะอย่างหากเพื่อนๆ ได้ปฏิบัติตามหลักการทั้งสองข้อข้างต้นแล้ว อย่างน้อยนั่นก็จะเป็นการช่วยทำให้ลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในการทำงานก่อสร้างได้อย่างแน่นอนเลยทีเดียวครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#ประสบการณ์เกี่ยวกับการก่อสร้างเสาเข็มที่มีคุณภาพไม่ดี
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com