สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการตอบคำถามของเพื่อนๆ ที่มักจะทำการสอบถามเข้ามาในทำนองว่า เพราะเหตุใดทางภูมิสยามฯ จึงทำการให้ข้อมูลของค่าความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มขนาดหน้าตัดเสาเข็มชนิดต่างๆ ออกมาได้ดังรูปแรกที่ผมได้แนบมาในโพสต์ๆ นี้ ผมเลยมีความคิดว่า น่าที่จะเป็นการดีหากผมทำการชี้แจงแถลงไขคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนนะครับ
ก่อนอื่นผมต้องขอชี้แจงว่า ข้อมูลดังตารางในรูปแรกในโพสต์ๆ นี้เป็นเพียงข้อมูลโดยประมาณเพียงเท่านั้นเพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่า การที่เสาเข็มนั้นจะมีค่าความสามารถในการรับกำลังเป็นเท่าใดจริงๆ นั้นนอกจากตัวโครงสร้างของเสาเข็มเองแล้วยังมีอีกหลายๆ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจัยสองสิ่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญมากๆ เลยก็คือ ดิน เพราะยิ่งดินมีความแข็งแรงมากก็จะยิ่งทำให้มีค่ากำลงจากแรงฝืดและแรงแบกทานที่ปลายของเสาเข็มที่มากและอีกประการหนึ่งก็คือ ความยาวของเสาเข็ม เพราะยิ่งเสาเข็มนั้นมีความลึกที่มากก็จะยิ่งมีความยาวของช่วงที่จะทำให้เกิดค่ากำลงจากแรงฝืดที่มากและก็มีความเป็นไปได้สูงมากๆ เลยที่เสาเข็มนั้นจะมีค่ากำลังรับแรงแบกทานที่มากตามไปด้วย เอาเป็นว่าในวันนี้ผมจะนำเอาตัวอย่างการคำนวณสักหนึ่งกรณีมาฝากเพื่อนๆ เพื่อให้ได้รับชมกันเป็นวิทยาทานนะครับ
รายการคำนวณในรูปที่สองและสามที่ผมได้นำเอามาแสดงอยู่ในโพสต์ๆ นี้จะเป็นการใช้ขนาดและความยาวของเสาเข็มสปันไมโครไพล์ซึ่งมีค่าคุณสมบัติต่างๆ ที่เท่าๆ กันนั่นก็คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่า 300 มม เสเข็มมีขนาดความยาวเท่ากับ 21 เมตร และใช้การคำนวณค่ากำลังของเสาเข็มตามข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร ซึ่งสิ่งที่จะเป็นตัวแปรในการคำนวณมีเพียงอย่างเดียวก็คือ ค่ากำลังรับแรงแบกทานที่ปลายของเสาเข็มนะครับ
ถ้าหากเราเริ่มต้นดูรูปที่สองกันก่อน เราจะทำการแทนค่า qult ในกรณีนี้ว่ามีค่าเท่ากับ ศูนย์ ซึ่งนั่นก็จะเข้าข่ายว่า เสาเข็มของเรานั้นเป็นเสาเข็มรับแรงฝืดเพียงอย่างเดียว พูดง่ายๆ คือกรณีนี้จะเป็นกรณีที่เราไม่ทราบค่า SPT-N ซึ่งผลการคำนวณพบว่าค่าความสามารถในการรับกำลังของเสาเข็มนั้นจะมีค่าเท่ากับ 32.99 T ซึ่งนั่นคือสาเหตุว่าเพราะเหตุใดเสาเข็มสปันไมโครไพล์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 300 มม นั้นจึงได้ทำการระบุเอาไว้ในตารางของรูปแรกว่า ค่าความสามารถรับกำลังของเสาเข็มนั้นมีค่าเท่ากับ 30 T ซึ่งก็จะน้อยกว่า 32.99 T ที่คำนวณออกมาได้ข้างต้นนะครับ
ต่อมาเรามาดูรูปที่สามกันต่อ เราจะทำการแทนค่า qult ในกรณีนี้ว่ามีค่าเท่ากับ 225 T/M^(2) ซึ่งนั่นก็จะเข้าข่ายว่า เสาเข็มของเรานั้นเป็นเสาเข็มรับแรงฝืดร่วมกันกับแรงแบกทานด้วย พูดง่ายๆ คือกรณีนี้จะเป็นกรณีที่เราพอที่จะมั่นใจได้ว่าค่า SPT-N นั้นจะต้องมีค่ามากกว่า 30 B/FT อย่างแน่นอนเพราะหากเพื่อนๆ ยังคงจำกันได้ ผมเคยได้อธิบายไปในโพสต์ก่อนหน้านี้ไปแล้วว่า หากค่า SPT-N นั้นมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 30 B/FT ดินนั้นจะมีค่า qult อยู่ที่ประมาณ 200 T/M^(2) ถึง 250 T/M^(2) ซึ่งผมก็ได้เลือกแทนค่าลงไปในการคำนวณครั้งนี้โดยอาศัยค่าเฉลี่ยนั่นก็คือ 225 T/M^(2) ซึ่งผลการคำนวณพบว่าค่าความสามารถในการรับกำลังของเสาเข็มนั้นจะมีค่าเท่ากับ 52.07 T ซึ่งนั่นคือสาเหตุว่าเพราะเหตุใดเสาเข็มสปันไมโครไพล์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 300 มม นั้นจึงได้ทำการระบุเอาไว้ในตารางของรูปแรกว่า ค่าความสามารถรับกำลังของเสาเข็มนั้นมีค่าเท่ากับ 50 T ซึ่งก็จะน้อยกว่า 52.07 T ที่คำนวณออกมาได้ข้างต้นนะครับ
ผมอยากจะขอกล่าวเน้นในตอนท้ายนี้อีกครั้งหนึ่งว่า ข้อมูลดังตารางในรูปแรกในโพสต์ๆ นี้เป็นเพียงข้อมูลโดยประมาณเพียงเท่านั้นเพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่า การที่เสาเข็มนั้นจะมีค่าความสามารถในการรับกำลังเป็นเท่าใดจริงๆ นั้นนอกจากตัวโครงสร้างของเสาเข็มเองแล้วยังมีอีกหลายๆ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นทางที่ดีที่สุดในการที่เราจะทราบว่า เสาเข็มนั้นจะมีค่าความสามารถในการรับกำลังเป็นเท่าใดจึงอยู่ที่การทำการทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ดินออกมานั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#ยกตัวอย่างการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับกำลังของเสาเข็ม
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com