สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมพลศาสตร์ (STRUCTURAL DYNAMICS ENGINEERING หรือ SDE) นะครับ
สืบเนื่องจากการที่มีน้องๆ ได้แจ้งความจำนงมาที่หลังไมค์ว่า อยากให้ผมได้นำเสนอและเล่าถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบทางด้านพลศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับการออกแบบฐานรากรองรับเครื่องจักร (DESIGN OF MACHINE FOUNDATION) ให้ได้รับทราบกันบ้าง ตัวของผมเองก็เล็งเห็นว่าน่าที่จะมีประโยชน์ จึงคิดว่ามีความคุ้มค่าที่จะสละเวลามาเล่าและแชร์ความรู้ในเรื่องๆ นี้ให้แก่น้องๆ และเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
โดยในวันนี้ผมจะเริ่มต้นจากเนื้อหาในส่วนที่เป็นพื้นฐานเสียก่อนนั่นก็คือ ระดับของการสั่นสะเทือนที่ยอมให้ที่เรานำมาใช้ในการออกแบบฐานรากรองรับเครื่องจักร นั่นเองนะครับ
ก่อนอื่นเลยผมต้องขอมาทำความเข้าใจกับเพื่อนๆ เสียก่อนนะครับว่า การสั่นสะเทือนที่เกิดจากการ เคลื่อนที่ หรือ การเสียรูป ในรูปแบบต่างๆ อาจเกิดได้เนื่องจากเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีความแตกต่างกันออกไป และ แน่นอนว่าแต่ละเหตุการณ์ก็ย่อมมีระดับของการสั่นที่เรายอมรับได้แตกต่างกันออกไป โดยระดับของความรู้สึกที่เราสามารถที่จะรับรู้ได้จากการสั่น ก็อาจที่จะเริ่มต้นได้จากระดับเบาๆ ไปจนถึงระดับขั้นที่มีความรุนแรงมาก เช่น ไม่รู้สึกอะไรเลย รู้สึกได้ง่าย รู้สึกได้ว่ามีความรุนแรง เป็นต้น
ที่ผมต้องพูดถึงประเด็นนี้ก็เพราะว่า ระดับของการสั่นที่ยอมรับได้ที่เราจะนำมาใช้ในการออกแบบนั้นจะอยู่ที่ระดับเกือบที่จะมีค่าสูงสุดเลยนะครับ กล่าวคือ เป็นรองเพียงแค่ ระดับของการสั่นที่จะทำให้โครงสร้างนั้นเกิดความเสียหายเลย สาเหตุนั้นเป็นเพราะว่า เครื่องจักรนั้นอาจมีค่าการสั่นตัวที่ น้อย หรือ มาก ก็ได้ซึ่งแน่นอนว่าถ้าค่าการสั่นนั้นมีค่าน้อยก็คงไม่เป็นอะไร แต่ ถ้าการสั่นนั้นมีค่ามากๆ ก็อาจที่จะทำความเสียหายต่อโครงสร้างฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับเครื่องจักรนั้นๆ ได้นะครับ ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่เราจะทำการออกแบบฐานรากรองรับเครื่องจักรโดยใช้ระดับของความรู้สึกได้ถึงการสั่นเหมือนกันกับกรณีทั่วๆ ไป สิ่งที่ควรพึงระวังมีแค่ ค่าการสั่น และ ค่าความถี่ของการสั่น ที่เหมาะสมซึ่งจะไม่ทำให้ตัวโครงสร้างของฐานรากที่รองรับเครื่องจักรนั้นๆ เสียหาย
ดังนั้นหลักการสำคัญของการออกแบบฐานรากรองรับเครื่องจักรก็คือ เราจะยินยอมให้ การสั่น นั้นเกิดขึ้นในตัวฐานรากได้นะครับ แต่ ก็ต้องมีความสอดคล้องกันกับ ค่าความถี่ของการสั่น ที่มีความเหมาะสมด้วยนั่นเอง
งง มั้ยครับ ? ไม่ต้องงงนะครับ ผมขออนุญาตทำการอธิบายต่ออีกสักนิดดีกว่า
หากดูจากแผนภูมิในรูปจะพบว่า หากว่าค่าความถี่ที่เราใช้ออกแบบมีค่าน้อย เช่น เท่ากับ 500 CPM ค่าการสั่นที่ยอมให้ในการออกแบบก็จะมีค่าที่มาก คือ เท่ากับ 0.50 INCH เป็นต้น แต่ หากว่าค่าความถี่ที่เราใช้ออกแบบมีค่าที่มาก เช่น เท่ากับ 6000 CPM ค่าการสั่นที่ยอมให้ในการออกแบบก็จะมีค่าที่น้อย คือ เท่ากับ 0.025 INCH เป็นต้น
เอาเป็นว่าวันนี้เราเริ่มกันเบาๆ แต่เพียงเท่านี้ก่อนก็แล้วกันนะครับ ในโอกาสต่อๆ ไปผมจะขออนุญาตมาค่อยๆ อธิบายและให้ความรู้แก่น้องๆ และ เพื่อนๆ ถึงเรื่อง การออกแบบฐานรากรองรับเครื่องจักร ให้ทุกๆ คนได้ค่อยๆ เรียนรู้ไปพร้อมๆ กันทีละเล็กทีละน้อย เพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในหัวข้อนี้ก็สามารถที่จะติดตามอ่านกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com